ความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติกับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ ศรีดาเกษ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • ยลฤดี ตัณฑสิทธิ์ วิทยาจารย์ชำนาญการพิเศษ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วัชรพล วิวรรธ เถาว์พันธ์ อาจารย์วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธรจังหวัดขอนแก่น

บทคัดย่อ

          การวิจัยเชิงพรรณนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้  ทัศนคติ กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา ของบุคลากรวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคลาก จำนวน 55 คนได้จากการสุ่มแบบชั้นภูมิและสุ่มแบบอย่างง่าย  เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นของคูเดอร์ ริชาร์ดสัน (Kuder-Richardson 20) =0.82 แบบสอบถามทัศนคติและการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา มีค่าความเชื่อมั่นของครอนบาค (Alpha Coefficients) เท่ากับ0 .93 และ0.90 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาความสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s Chi-square) ผลการศึกษา พบว่า บุคลากรของวิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น ร้อยละ60.4 มีความรู้เกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับปานกลาง มีทัศนคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาก มีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาระดับมาก ความรู้ด้านประกันคุณภาพการศึกษา มีความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.271)กับการมีส่วนร่วมในการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษาอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.248) ทัศนคติในการประกันคุณภาพการศึกษามีความสัมพันธ์ทางบวก (r=0.150) กับการมีส่วนร่วมการดำเนินงานประกันคุณภาพการศึกษา อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P-value = 0.036) จากผลการศึกษาสามารถใช้เป็นแนวทางพัฒนาการดำเนินงานด้านการประกันคุณภาพการศึกษาของวิทยาลัยโดยกำหนดเป็นนโยบายเสริมสร้างความรู้  ทัศนคติ การมีส่วนร่วม ใช้วิธีการประชุม ประชุมเชิงปฏิบัติการ สัมมนา ฝึกอบรม ให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างสม่ำเสมอ สร้างแรงจูงใจให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมแรงร่วมใจร่วมมือปรับปรุงพัฒนาวิธีการปฏิบัติงาน โดยใช้กระบวนการคุณภาพ PDCA  เพื่อพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

References

1. สุวนีย์ วงศ์สุฤทธิ์. การพัฒนารูปแบบและเกณฑ์การประเมินระบบประกันคุณภาพการศึกษามหาวิทยาลัยเชียงใหม่. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2548.

2. วิมลวรรณ รชตะไพโรจน์. “ ความรู้ความเข้าใจในการดำเนินงานการประกันคุณภาพการศึกษาของผู้บริหารและครูโรงเรียนเอกชนระดับประถมศึกษา ในจังหวัดลำพูน”. การค้นคว้าแบบอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเชียงใหม่; 2544.

3. พงศ์ธวัช วิวังสู. ปัจจัยสภาพแวดล้อมในการทำงานและลักษณะทางจิตที่เกี่ยวข้องกับการมีส่วนร่วมของบุคลากรในการประกันคุณภาพการศึกษา.ปริญญานิพนธ์ว.ทบ.(วิจัยพฤติกรรมศาสตร์ประยุกต์).กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ [ออนไลน์] 2546. [อ้างเมื่อ 7กรกฎาคม2558]. จาก: http://bsris.swu.ac.th/ detail_thesis.asp?id_ curriculum_manage=4

4. สรัลรัตน์ พลอินทร์. การศึกษาความรู้ เจตคติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาพยาบาลวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้าจังหวัดเพชรบุรี. รายงานวิจัย;2550.
5. สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา.คู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2557 (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพมหานคร:ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์;2558.

6. สำนักประเมินและประกันคุณภาพการศึกษา.การสร้างแรงจูงใจให้บุคลากรมีส่วนร่วมในการดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษา มหาวิทยาลัยนครพนม. มหาวิทยาลัยนครพนม สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ[ออนไลน์] 2557. [อ้างเมื่อ 11 กรกฎาคม 2558]. จาก: http://qa.npu.ac.th/ qa/pdf/research_01.pdf

7. บุญชม ศรีสะอาด. การวิจัยเบื้องต้น (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น;2547.

8. สุริยงค์ ชวนขยัน.ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อคุณภาพการศึกษาของสถาบันราชภัฏ :กรณีศึกษาสถาบันราชภัฏสวนดุสิต.ปริญญานิพนธ์ กศ.ด.(การอุดมศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.2548 [ออนไลน์] 2558. [อ้างเมื่อ 12 กรกฎาคม 2558]. จาก: http://thesis.swu.ac.th/swudis/Hi_Ed/Suriyong_C.pdf

9. กัญญดา อนุวงศ์ และพิชญ์ญาภัค เจียมจรัสโชค. ความรู้ด้านการประกันคุณภาพ การศึกษาของบุคลากร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ. ฝ่ายประสานภารกิจและฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษา คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2553.

10. อรพร สดใส. ความรู้ ทัศนคติ และการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษาของบุคลากรคณะมนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา. รายงานวิจัย;2549.

11. ปิ่นนเรศ กาศอุดม, อารีรัตน์ วิเชียรประภา และจรัญญา ดีจะโปะ. ความรู้ความเข้าใจและความคิดเห็นเกี่ยวกับการประกันคุณภาพการศึกษาของนักศึกษาและบุคลากรวิทยาลัยพยาบาลพระปกเกล้า จันทบุรี.2553. [ออนไลน์] 2558. [อ้างเมื่อ 2 กรกฎาคม 2558]. จาก: http://www.pnc.ac.th/html/files/qaNews/ResearchQA.pdf

12. ใจชนก ภาคอัต.ปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการประกันคุณภาพการศึกษา : กรณีศึกษา สถาบัน บัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. รายงานวิจัย .กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์;2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)