การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยจัดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสา ของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • พรรณี เลาวะเกียรติ วิทยาจารย์ชำนาญการ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม, พฤติกรรมจิตอาสา, สาธารณสุขชุมชน

บทคัดย่อ

          การวิจัยและพัฒนา ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนโดยจัดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสา และ 2) ศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน โดยการสังเคราะห์รูปแบบการเรียนการสอนกับหลักการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคม กลุ่มตัวอย่างในการประเมินผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น เป็นนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาสาธารณสุขชุมชน วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น จำนวน 45 คน  เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ และใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึกผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ     วิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ในการอธิบายข้อมูลทั่วไป   สถิติ Paired t-test ในการเปรียบเทียบผลพฤติกรรมจิตอาสาก่อนและหลังเรียน  สำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพใช้การวิเคราะห์เนื้อหา  ผลการวิจัยพบว่า

          รูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้วิธีการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา มีองค์ประกอบหลัก 7 ประการได้แก่ 1) เป้าหมาย หลักการและเหตุผล 2) เนื้อหาวิชา 3) วิธีการจัดการเรียนการสอน 4) บทบาทของผู้เรียน 5) บทบาทของผู้สอน 6) สื่อ วัสดุ อุปกรณ์การเรียนการสอน และ 7) การวัดผลและประเมินผล รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีลักษณะเฉพาะคือ มุ่งพัฒนานักศึกษา ทั้งด้านองค์ความรู้ และการส่งเสริมพฤติกรรมจิตอาสา โดยเน้นให้เรียนเนื้อหาตามรายวิชาในหลักสูตรที่กำหนด และบูรณาการเนื้อหาลงสู่การทำกิจกรรมรับใช้สังคม  สำหรับผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น พบว่านักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจิตอาสา ก่อนและหลังการเรียน เท่ากับ 3.34  คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.04)  และ 4.36   คะแนน (ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.03)   ตามลำดับ  โดยหลังการเรียนด้วยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น นักศึกษามีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมจิตอาสา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05  โดยมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้น 1.02  คะแนน  (95% CI = 0.92 to 1.11;p-value < 0.001)   จากข้อมูลเชิงคุณภาพและการวิเคราะห์เนื้อหา สรุปได้ว่า รูปแบบการเรียนการสอนโดยจัดการเรียนรู้ด้วยการรับใช้สังคมสามารถเสริมสร้างพฤติกรรมจิตอาสาของนักศึกษาได้

References

1. โกวิทย์ พวงงาม. การปกครองท้องถิ่นว่าด้วยทฤษฎี แนวคิด และหลักการ. (เอกสารประกอบคำสอน). กรุงเทพฯ: รัฐประศาสนศาสตรบัณฑิต สาขาการ ปกครองท้องถิ่น;2550.

2. กระทรวงศึกษาธิการ. พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.);2546.

3. Ernest, Bond. Using literature with English language learners : A service learning project. In learning to serve, serving to learn. A view from higher educations 2003. Salisbury University;2003.

4. Joyce, B. , Weil, M.,& Calhoun, E. Models of Teaching. 7th ed. London : Pearson;2004.

5. ทิศนา แขมมณี. รูปแบบการสอน : ทางเลือกที่หลากหลาย. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2545.

6. จันทร์เพ็ญ เชื้อพานิช. นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ตามแนวปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย;2549.
7. Erickson J.A., & Anderson J.B. Learning with community: Concept and models service learning in teacher education . Washington, DC: American Association for Higher Education;1997.

8. Freire, Paulo. Education for Critical Consciousness. New York : Continuum;1998.

9. Kolb, D.A. Experiential Learning: Experience as the Source of Learning and Development. New Jersey: Prentice Hall; 1984.

10. Krathworhl, D.R. et al. Taxonomy of Education Objective Hand Book II : Affective Domain. New York : David Mc Kay;1994.

11. อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา. คุณธรรมนำความรู้ รูปแบบการเรียนการสอนแบบบูรณาการคุณค่าความเป็นมนุษย์. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : วี.ที.ซี. คอมมิวนิเคชั่น;2550.

12. Mauricio, Collen L. Voices of Personal Growth: High School Girls Response to Community Service and Learning. UMI ProQuest Digital Dissertation: AAT 9805063;1998.

13. Ikeda, E.K. How dose Service Learning Enhance Learning? Toward Understanding of the Process;1999.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-25

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)