รูปแบบการดูแลทันตสุขภาพ ในพื้นที่ชุมชนเขตเมือง โดยใช้การมีส่วนร่วมชบา 5 กลีบ เทศบาลเมืองศรีสะเกษ จังหวัดศรีสะเกษ
คำสำคัญ:
การดูแลทันตสุขภาพ, ภาคีเครือข่าย, การมีส่วนร่วม, นักเรียนในชุมชนเขตเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลทันตสุขภาพเด็กนักเรียนประถมศึกษา ในพื้นที่ชุมชนเขตเมือง โดยนำแนวคิดเครือข่ายเด็กไทยฟันดี และเทคนิคการพัฒนาอย่างมีส่วนร่วมมาประยุกต์ใช้ กลุ่มเป้าหมาย คือ เด็กนักเรียนประถมศึกษา ปีที่ 4 –6 และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในการพัฒนา จำนวน 19 คน ทำการศึกษา ระหว่างเดือน มกราคม – มิถุนายน 2558 และเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยวิธีการสังเกต การตรวจ การสัมภาษณ์ และการประชุมกลุ่ม
ผลการศึกษาพบว่า การวิจัยได้กระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้องทุกระดับ มีการจัดทำนโยบายส่งเสริมทันตสุขภาพ ได้แนวทางในการดำเนินกิจกรรม 4 แนวทาง ได้แก่ 1) คัดกรองสภาวะทันตสุขภาพ 2) จัดอบรมให้ความรู้อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้านและผู้ปกครอง 3) ออกเยี่ยมบ้าน 4) อบรมเด็กนักเรียน ผลการศึกษา พบว่า นักเรียนมีความรู้เพิ่มมากขึ้นภายหลังการอบรม คะแนนเฉลี่ยปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันลดน้อยลงกว่าก่อนการฝึกปฏิบัติการแปรงฟัน ผลการสังเกตการมีส่วนร่วมหลังการพัฒนาเพิ่มมากขึ้นอยู่ในระดับมาก และผลการตรวจสุขภาพช่องปากเด็กนักเรียนได้รับบริการทันตกรรมเพิ่มมากขึ้น ร้อยละ 81.25
สรุปปัจจัยความสำเร็จในการดำเนินงานครั้งนี้ คือ การมีส่วนร่วมของทุกคน นโยบายที่ชัดเจน การตรวจสุขภาพช่องปาก การออกเยี่ยมบ้าน การอบรมให้ความรู้ และการประเมินผลติดตาม
References
2. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. แนวทางการดำเนินงานทันตสาธารณสุข 2558 กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก;2557.
3. งานทันตสาธารณสุข สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ. สรุปผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพ ตามกลุ่มอายุ. ศรีสะเกษ : สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดศรีสะเกษ;2557.
4. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. ระบบบริการปฐมภูมิในฝัน. หมออนามัย 2552; 18(5):46.
5. ขนิษฐ์ รัตนรังสิมา และปิยะดา ประเสริฐสม. สรุปความเป็นมาและเกณฑ์ประเมินเครือข่ายโรงเรียนเด็กไทยฟันดี 2554. [Online]. [สืบค้นเมื่อ (2 กันยายน 2557)] จาก: www.yimsodsai.com/upload .../20110216112905-download.doc .
6. รัตนะ ณ ปัตานี. การบริหารสถานศึกษาโดยใช้เทคนิคการมีส่วนร่วมชบา 5 กลีบ (RAVOR MODEL). วารสารวิชาการ 2554; 14(3): 85.
7. สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. คู่มือหรือแนวทางการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วมของหน่วยงานภาครัฐในระดับกระทรวงที่เป็นระดับนโยบาย. กรุงเทพฯ: ปิ่นเกล้าการพิมพ์; 2551.
8. วิโรจน์ สารรัตนะ. Action Research. เอกสารประกอบการสอนหลักสูตรศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย;2556.
9. เอมอร เสนานุฤทธิ์และคณะ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียนประถมศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตำบลตูมใหญ่ อำเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2554 – 2555 วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23(4):609-618.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล