การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอ ของบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายจัดการเรียนรู้อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด

ผู้แต่ง

  • กฤษณ์ ขุนลึก อาจารย์คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยกาฬสินธุ์ จังหวัดกาฬสินธุ์

คำสำคัญ:

ระบบสุขภาพอำเภอ, การมีส่วนร่วม, การสนับสนุนจากองค์กร

บทคัดย่อ

          การศึกษาครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง ( Cross-SectionalDescriptiveResearch) มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการมีส่วนร่วมและปัจจัยที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอของบุคลากรสาธารณสุขเครือข่ายจัดการเรียนรู้อำเภออาจสามารถ  จังหวัดร้อยเอ็ด  ประชากรที่ศึกษาคือ บุคลากรด้านสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชน สำนักงานสาธารณสุขอำเภอ และโรงพยาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในเครือข่ายจัดการเรียนรู้อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวน 681 คน ศึกษาจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 156 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ (SystematicRandomSampling) เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม ผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน วิเคราะห์ด้วยค่าดัชนี  IOC (IndexofItemObjectiveCongruence) และนำไปทดลองใช้ในกลุ่มตัวอย่าง 30 คน ในอำเภอกุฉินารายณ์ วิเคราะห์หาความเที่ยงของแบบสอบถาม ได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค0.977 นำข้อมูลมาวิเคราะห์ด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ สำเร็จรูป แจกแจงข้อมูล ด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันและการวิเคราะห์การถดถอยพหุแบบชั้นตอน

           ผลการศึกษาพบว่า ระดับการสนับสนุนจากองค์การ ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.50(S.D. = 0.52) และระดับการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอของกลุ่มตัวอย่าง ภาพรวมอยู่ใน ระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.53 (S.D. = 0.62) และพบว่าภาพรวมการสนับสนุนจากองค์กรมีความสัมพันธ์ระดับมากทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r = 0.874, P-value<0.001)และที่มีผลต่อการมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอของบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายจัดการเรียนรู้อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้แก่ การสนับสนุนจากองค์การด้านการบริหารจัดการ และด้านการใช้เวลา ตัวแปรทั้ง 2 ตัวสามารถร่วมกันพยากรณ์การมีส่วนร่วมในการพัฒนาการดำเนินงานระบบสุขภาพอำเภอของบุคลากรสาธารณสุข เครือข่ายการเรียนรู้อำเภออาจสามารถ จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ ร้อยละ 68.30(R2= 0.683p-value <0.05)

References

1. สำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.). ปัญหาสุขภาพคนไทยและระบบบริการสุขภาพ.[internet]; 2552[อ้างถึงเมื่อ 17 มิ.ย. 2558]. จาก: http://www.hisro.or.th/.

2. สำนักบริหารการสาธารณสุข. การขับเคลื่อนระบบสุขภาพระดับอำเภอ (รสอ.) District Health System (DHS).นนทบุรี; สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข;2557.

3. ธงชัย สันติวงษ์. องค์การและการบริหาร. 8st. กรุงเทพฯ; ไทยวัฒนาพานิช;2538.
4. Cohen, J.M. and Uphoff, N. "Participation's Place in Rural Development. Seeking Clarity through Specificity World Development; 1980 (8):213-235.

5. รังสรรค์ สิงหเลิศ. ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. มหาสารคาม; ฝ่ายผลิตเอกสารและตำราสำนักวิทยาการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม;2551.

6. อรุณ จิรวัฒน์กุล. ชีวสถิติ. พิมพ์ครั้งที่ 3. ขอนแก่น; มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2542.

7. กัลยา วานิชย์บัญชา.การใช้ SPSSfor windowsในการวิเคราะห์ข้อมูล. กรุงเทพฯ: ธรรมสาร;2546.

8. ญาณิน หนองหารพิทักษ์, ประจักร บัวผัน.ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพยาบาลเวช ปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัย มข.. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2556; 13(1): 99-111.

9. กัญญวัลย์ ศรีสวัสดิ์พงษ์, ประจักร บัวผัน. การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการพัฒนาคุณภาพโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2554 ; 16(5):563-574.

10. พนม เพ็งวิชัย, ประจักร บัวผัน. การดำเนินงานพัฒนาระบบสุขภาพระดับอำเภอ ของคณะกรรมการ สุขภาพระดับอำเภอ ในจังหวัดหนองคาย. [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต บัณฑิตวิทยาลัย]. ขอนแก่น.มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2557.

11. กัลยาพร ภูจิตทอง, ประจักร บัวผัน และพรทิพย์ คำพอ.การบริหารงานกองทุนหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นของคณะกรรมการกองทุนหลักประกันสุขภาพในองค์การบริหารส่วน ตำบล อำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2556; 6(1) : 85-95.

12. วีระวรรณ เหล่าวิทวัส, ประจักร บัวผัน.การปฏิบัติงานของพยาบาลเวชปฏิบัติทั่วไปในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.วารสารวิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา) 2556; 13(2):109-120.

13. ภูธร สารสวัสด์, วิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการให้บริการสร้างเสริม สุขภาพและปองกันโรคของบุคลากรโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ 2555; 6(2): 21-33.

14. พชรพร ครองยุทธ์ และประจักร บัวผัน. แรงจูงใจและการสนับสนุนจากองค์การที่มีผลต่อการ ปฏิบัติงานของคณะกรรมการประสานงานสาธารณสุขระดับอำเภอ จังหวัดขอนแก่น. วารสารวิจัยสาธารณสุขขอนแก่น 2549; 18 (210): 26-29.

15. อัฌชิสา อยู่สบาย, ช่อทิพย์บรมธนรัตน์, วรางคณา จันทร์คง. ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานด้านการบริหารจัดการของคณะกรรมการบริหารโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดอ่างทอง. [วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. นนทบุรี; บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช; 2555.

16. Malai p, &Bouphan p. The importance of organization support for the management of health projects by the chiefs of health centers at Chaiyaphum Province. KKU Research Journal 2010; 15(6): 475-486.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2016-12-27

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)