การพัฒนารูปแบบการดูแลทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโดยการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีพรหม 2 ต.นาจะหลวย อ.นาจะหลวย จ.อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • อรจิรา แสนทวีสุข คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ภิญญาพัชญ์ ดุงโคกกรวด คณะสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
  • ปริญญา ผกานนท์ คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชธานี

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, การมีส่วนร่วม, การดำเนินงานด้านทันตสุขภาพ, ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

บทคัดย่อ

           การศึกษาครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนารูปแบบการดูแลทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดศรีพรห ม 2 โดย
ใช้การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองและชุมชน เป็ นการวิจัยเชิงปฏิบัติการ (Action research) พัฒนางาน 1 รอบ กลุ่ม
ตัวอย่าง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ทันตสาธารณสุข ตัวแทนเทศบาลต าบลนาจะหลวย คณะกรรมการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ครูผู้ดูแลเด็ก ผู้ปกครอง จ านวน 70 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีสรุปประเด็น และเสนอผลการศึกษาค้นคว้าโดยวิธีพรรณนา

           ผลการวิจัยพบว่า มีการค้นหาปั ญ หา วางแผนและก าหนดกิจกรรมภายใต้นโยบายศูนย์พัฒนาเด็กเล็กปลอดขวด
นม ลูกอม ขนมหวาน และจัดกิจกรรมรองรับนโยบายดังกล่าวหลังด าเนินการพบผลลัพธ์เชิงปริมาณในกระบวนการนี้ ส่งผลให้ความรู้ การปฏิบัติ และการมีส่วนร่วมด้านทันตสุขภาพของผู้เกี่ยวข้องในชุมชนเพิ่มขึ้ นกว่าก่อนด าเนินการ การพัฒนาได้รูปแบบใหม่เหมาะสมคือ CA2NDO2 Model เป็ นขั้นตอนในการดำเนินงาน 7 ขั้นตอนได้แก่ (C:Cortext) ศึกษาบริบท(O:Objective) ก าหนดเป้ าหมาย (A:Activity) กำหนดกิจกรรม(N:Network) เป็นเครือข่าย (O:Observation) สังเกตการณ์ดำเนินงาน (A:After Action Review) สรุปถอดบทเรียน (D:Development) การพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

          โดยสรุป รูปแบบการดำเนินการ CA2NDO2 Modelส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการดูแลด้านทันตสุขภาพ ทำให้เด็กเล็กสามารถลดการบริโภคอาหารหวาน มีกิจกรรมและสิ่งแวดล้อมที่เอื้ อต่อการส่งเสริมทันตสุขภาพ
มีปัจจัยความสำเร็จ คือ มีแกนนำที่เข้มแข็ง การมีส่วนร่วมในการดำเนินงาน ทุกขั้นตอน การสร้างภาคีเครือข่ายช่วยดำเนินการ

References

1. วิกุล วิสาลเสสก์. ความเสี่ยงต่อฟันตกกระจากการกลืนยาสีฟันในเด็กไทย. วารสารการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม2546;26: 84-91.

2. ฝ่ายทันตสาธาณสุข. โรงพยาบาลนาจะหลวย.รายงานทันตสุขภาพของจังหวัดอุบลราชธานี.โรงพยาบาลนาจะหลวย;2556.

3. สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือมาตรฐานศูนย์เด็กเล็ก. พิมพ์ครั้งที่ 1 เมษายน 2556 : สำนักส่งเสริมสุขภาพ กรมอนามัย;2556.

4. วัชราภรณ์เชื่อมกลาง,พรทิพย์คำพอ. การพัฒนาศักยภาพการดูแลทันตสุขภาพเด็กก่อนวัยเรียนของผู้ปกครองศูนย์พัฒนาเด็กเล็กโรงเรียนพิทักษ์ภูเบนทร์อำเภอโนนสูงจังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิจัย มข. (บศ) 2555;13:51-62.

5. หฤทัย สุขเจริญโกศล. ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยระดับปัจเจกของผู้ปกครอง ปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมและพฤติกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็ก 0-5 ปี ในตำบลออนกลาง กิ่งอำเภอออนกลาง จังหวัดเชียงใหม่ [วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิตสาขาทันตกรรมป้องกัน]. เชียงใหม่:มหาวิทยาลัยเชียงใหม่;2545.

6. จีระศักดิ์ เจริญพันธ์. การจัดการสาธารณสุขในชุมชน. พิมพ์ครั้งที่ 10. มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยสารคาม;2553.

7. นฤชิต ทองรุ่งเรืองชัย,พรรณี บัญชรหตัถกิจ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการแปรงฟันให้เด็กอายุ 1-5 ปีของผู้ปกครองในเขตอำเภอโนนสัง จังหวัดหนองบัวลำภู.ศรีนครินทร์เวชสาร 2556;28:16-22.

8. วีระนุช ไชยศรี. ศึกษาผลของการวางแผนแบบมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลทันตสุขภาพเด็ก ก่อนวัยเรียนของผู้ปกครอง ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้างพังซ่อน ตำบลพังงู อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี [วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น; 2553.

9. อมรเพชร ตันติรัตนานนท์. การพัฒนาการดำเนินงานทันตสุขภาพในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านตาเกาว์ใหม่ อำเภอกาบเชิง จังหวัดสุรินทร์[วิทยานิพนธ์ปริญญาสาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต].มหาสารคาม: มหาวิทยาลัยมหาสารคาม; 2554.

10. วันเพ็ญ มีสัตย์. การเฝ้าระวังระวังทันตสุขาภาพโดยครอบครัวเด็กนักเรียนในศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านโคกโดง ตำบลไพล อำเภอปราสาท จังหวัดสุรินทร์[วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต]. ขอนแก่น:มหาวิทยาลัยขอนแก่น;2556.

11. เอมอร เสนานุฤทธิ์และคณะ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมทันตสุขภาพในโรงเรียน ประถมศึกษาโดยการมีส่วนร่วมของภาคีเครือข่าย ตําบลตูมใหญ่ อําเภอคูเมือง จังหวัดบุรีรัมย์ ปี 2554 – 2555. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2557; 23: 609-18.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-05-03

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)