กระบวนการการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ โดยทีมทันตสุขภาพประจำครอบครัว อำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี
คำสำคัญ:
หญิงตั้งครรภ์, การส่งเสริมทันตสุขภาพ, ทีมทันตสุขภาพประจำครอบครัว, หมอครอบครัวบทคัดย่อ
การวิจัยเชิงปฏิบัติการนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษากระบวนการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพหญิงตั้งครรภ์รายใหม่ โดยประยุกต์แนวคิดหมอครอบครัว กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงคุณภาพ ได้แก่ ผู้รับผิดชอบงานอนามัยแม่และเด็ก งานทันตสาธารณสุข งานหมอครอบครัว และตัวแทนหญิงตั้งครรภ์ในเครือข่ายบริการสุขภาพอำเภอเขื่องใน จังหวัดอุบลราชธานี กลุ่มตัวอย่างในการเก็บข้อมูลเชิงปริมาณ คือ หมอครอบครัวในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตอำเภอเขื่องในจำนวน 104 คน ทำการศึกษาระหว่างเดือน เมษายน – กันยายน 2558 เก็บรวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปโดยใช้สถิติ Paired Sample t-test และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
กระบวนการในการส่งเสริมทันตสุขภาพครั้งนี้ประกอบด้วย 8 ขั้นตอน 1) การประชุมกลุ่มผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง 2) การอบรมพัฒนาศักยภาพหมอครอบครัว 3) การจัดทำสื่อทันตสุขศึกษา 4) การเยี่ยมบ้านหลังคลอด 5) การออกหน่วยให้บริการทันตกรรม 6) การนิเทศติดตาม 7) การประเมินผล และ 8) การประชุมสรุปผลการดำเนินงาน ผลการศึกษาพบว่า ทีมหมอครอบครัวในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมีความรู้ การปฏิบัติตัว และการมีส่วนร่วมในการส่งเสริมทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(p-value < 0.001) การตรวจสุขภาพช่องปากและให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์ ผ่านเกณฑ์ตัวชี้วัดระดับจังหวัด ร้อยละ 90 คือ ร้อยละ 92.76
ปัจจัยแห่งความสำเร็จที่สำคัญ คือ การเกิดทีมทันตสุขภาพประจำครอบครัวที่ให้การดูแลทันตสุขภาพแก่หญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่ดุจญาติมิตร สร้างการดำเนินกิจกรรมเชิงรุกร่วมกับทีมและภาคีเครือข่ายในพื้นที่อย่างใกล้ชิด โดยมีกลไกการติดตามเยี่ยมบ้านอย่างต่อเนื่อง
References
2. Shanthi V, Vanka A, Bhambal A, Saxena S and Kumar SS. Association of Pregnant Woman Periodontal Status to Perterm and Low-birth Weight Babies: A Systematic and Evidense-based Review. Den Res J2012;9:368-380.
3. Steinberg JB, Hilton VI, Linda H and Samelson R. Oral Health and Dental Care During Pregnancy. Dent Clin N Am2013; 57:195- 210.
4. Cengiz SB.The Pregnant Patient: Considerations for Dental Management and Druguse, Quintessence Int2007; 38: 133-142.
5. Dannan A. The Periodontal Disease as A Risk Factor for Preterm Birth and Low Birth Weight: A Review of Case Control Studies. The Internet Journal ofGynecology and Obstetrics 2008;10(1):1-9.
6. Varshney S and Gautam A. “Poor Periodontal Health as a Risk Factor for Development of Pre-eclampsia in Pregnant Woman”. J Indian SocPeriodontol2014;18(3): 321-325.
7. De Oliveira BH and Nadanousky P. The Impact of Oral Pain on Quality of Life During Pregnancy in Low-income Brazillian Women. J Orofac Pain2006; 20:297-305.
8. Kumar J and Samelson R. Oral Health Care During Pregnancy Recommendation for Oral Health Professionals.Y State Dent J2009; 75: 29-33.
9.Yost J and Li Y. “Promoting Oral Health from Birth Through Childhood: Prevention of Early Childhood Caries”. The American Journal of Maternal Child Nursing2008;33(1): 7-23.
10. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข.คู่มือแนวทางการดำเนินงานส่งเสริมสุขภาพช่องปากเด็กปฐมวัย ANC คุณภาพ WCC คุณภาพศพด. คุณภาพ.กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2556.
11. Giglio AJ, Lanni MS, Laskin MD and Giglio WN. Oral Health Care for Pregnant Patient.J Can Dent Assoc2009; 75(1): 43-8.
12. รัชตะ รัชตะนาวิน. นโยบายด้านสุขภาพ.[ออนไลน์]2557.2551 [อ้างเมื่อ 23 พฤศจิกายน 2557] จากhttp://bps.moph.go.th
13. สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.ทีมหมอครอบครัว (Family Care Team). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด; 2557.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล