ปัจจัยที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด
คำสำคัญ:
แรงจูงใจ, คุณลักษณะส่วนบุคคล, ความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขบทคัดย่อ
การศึกษานี้เป็นการศึกษาเชิงพรรณนาแบบภาคตัดขวาง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา คุณลักษณะส่วนบุคคลและแรงจูงใจ ที่มีผลต่อการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามในเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ดจำนวน 99 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 8คนตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาของแบบสอบถามโดยผู้เชี่ยวชาญ 3 ท่าน ความเที่ยงของเครื่องมือ (Reliability)มีค่าสัมประสิทธิ์อัลฟ่าของครอนบาช0.96และนำแต่ละข้อคำถามมาหาค่าดัชนีความสอดคล้องเก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1 มิถุนายน 2558 ถึง 31 กรกฎาคม 2559สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ สถิติเชิงพรรณนา เช่น ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่ามัธยฐาน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และใช้สถิติอนุมานหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
จากการศึกษา พบว่า ประชากรส่วนใหญ่เป็น เพศหญิง ร้อยละ 81.4 อายุระหว่าง 21 – 30 ปี ร้อยละ69.1 สถานภาพโสด ร้อยละ 62.9 การศึกษาระดับปริญญาตรี ร้อยละ 56.7 รายได้ 10,000 – 20,000 บาท ร้อยละ 70.1 และระยะเวลาที่ปฏิบัติงาน 1 – 5 ปี ร้อยละ 56.7การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.30(S.D.= 0.42 )ภาพรวมแรงจูงใจอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.76 (S.D.= 0.05)คุณลักษณะส่วนบุคคลไม่มีความสัมพันธ์กับการบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ส่วนแรงจูงใจมีความสัมพันธ์ระดับปานกลางทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ(r=0.550,p-value <0.001)โดย ปัจจัยด้านนโยบายและการบริหารด้านการได้รับความยอมรับนับถือและด้านการปกครองบังคับบัญชาสามารถพยากรณ์การบริหารความเสี่ยงในการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดร้อยเอ็ด ได้ร้อยละ 48.5(R2 =0.485, p-value<0.001 )
References
2. Shermerhorn, R., Hunt, G. & Osborn N.Organizational behavior. New York; 2003.
3. ประจักร บัวผัน.การเขียนรายงานการวิจัยทางการบริหารสาธารณสุข. พิมพ์ครั้งที่ 1. ขอนแก่น: หจก.โรงพิมพ์คลังนานาวิทยา; 2559.
3. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดร้อยเอ็ด.รายชื่อและจำนวนเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ในจังหวัดร้อยเอ็ด.ร้อยเอ็ด.(เอกสารอัดสำเนา); 2558.
4. ศุภชัย หมื่นมาและ ประจักร บัวผัน. การปฏิบัติงานสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรค ของเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดขอนแก่น.ว. วิจัย มข. (ฉบับบัณฑิตศึกษา)2557; 14(2): 71-84.
5. ศันสนีย์ วงค์ม่วยและวิทัศน์ จันทรโพธิ์ศรี. แรงจูงใจที่มีผลต่อสมรรถนะประจำกลุ่มงานของนักวิชาการสาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์. ว. วิจัยสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น2556; 6(3): 46-54.
6. จิรชยา คำพิมพ์ และ ประจักร บัวผัน.แรงจูงใจที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของเจ้าพนักงานทันตสาธารณสุขโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสาธารณสุขที่ 10. วารสารทันตาภิบาล (2556);7(4): 46-57.
7. วิราภรณ์ รวิยะวงศ์ และประจักร บัวผัน. การดำเนินงานทันตสาธารณสุขของบุคลาการสาธารณสุขในสถานีอนามัย จังหวัดชัยภูมิ. ว. วิจัย มข2552; 29(3):42-50.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
ฉบับ
บท
License
บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารทันตาภิบาล