ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรมของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

ผู้แต่ง

  • อภิญญา ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น
  • วีระชาติ ยุทธชาวิทย์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น

คำสำคัญ:

พฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อ, คลินิกทันตกรรม, หลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข

บทคัดย่อ

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรมและเพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างความรู้เรื่องขบวนการปลอดเชื้อ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรคการรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อ การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อมีพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อ การรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติขบวนการปลอดเชื้อ และแรงจูงใจ กับพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรมของนักศึกษาหลักสูตรสาธารณสุขศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาทันตสาธารณสุข วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่นโดยการศึกษานี้เป็นการศึกษาแบบพรรณนา  การเก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม ผลการวิจัยสรุปว่านักศึกษามีพฤติกรรมการทำให้ปราศจากเชื้อในภาพรวม อยู่ในระดับดีมาก โดยนักศึกษามีพฤติกรรมด้านการฉีดยาอย่างปลอดภัยมากที่สุด  รองลงมาคือพฤติกรรมการสวมอุปกรณ์ป้องกันตนเอง และพฤติกรรมการดูแลขยะภายในคลินิกทันตกรรม ตามลำดับ

          ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรม ระหว่างตัวแปร 2 ตัว (Bivariate Relationship) คือตัวแปรอิสระและตัวแปรตาม โดยใช้ค่าสถิติ Spearman’s rho (rs) พบว่า ตัวแปรต้นที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับความผิดพลาดไม่เกินร้อยละ 5 ได้แก่ การรับรู้โอกาสเสี่ยงของการเกิดโรค มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r= 0.363 ; p-value =0.013) การรับรู้ความรุนแรงของการติดเชื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r= 0.480 ; p-value =0.001) การรับรู้ประโยชน์ที่ได้รับเมื่อมีพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r= 0.431 ; p-value =0.003) และการรับรู้อุปสรรคในการปฏิบัติขบวนการปลอดเชื้อ มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r= 0.542 ; p-value <0.001) ส่วนตัวแปรอื่นๆได้แก่ ความรู้เรื่องขบวนการปลอดเชื้อ และแรงจูงใจด้านสุขภาพ  พบว่าไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมขบวนการปลอดเชื้อในคลินิกทันตกรรม (p-value >0.05)

References

1. สมหวัง ด่านชัยวิจิตร. การป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อในโรงพยาบาล. กรุงเทพมหานคร; 2548.(เอกสาร โรเนียว).

2. จิรุตม์ ศรีรัตนบัลล์และคณะ. เครื่องชี้วัดคุณภาพโรงพยาบาล (Hospital Quality Indicator).พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: ดีไซร์; 2543.

3. Scheckler, E. W. et al. Requirements of infrastructure and essential activities of infection control and epidemiology in hospital: A consensus panel report. American Journal of Infection Control.1998; 26: 47-60.

4. Ralph H. Leonard, Jr., James J. Crawford, Infection Control, Mosby, an imprint of Elsevier Inc.,2013.

5. นันทนิจ สุทธิรักษ์, กัญญดา ประจุศิลปะ, ความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่ออำนาจในตน คุณลักษณะของงาน การจัดการนิเทศของหัวหน้าหอผู้ป่วยกับพฤติกรรมการป้องกันและควบคุมการติดเชื้อในโรงพยาบาลของพยาบาลโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย ,วารสารสภาการพยาบาล2552; 24 (2):88-99.

6.RachadaCherdrungsi, Sterilization and Disinfection, Center for Nosocomial Infection Control Siriraj Hospital, Mahidol University [Online] 2015 [cited 2015July 1]. Available from: http//www.si.mahidol.ac.th/anesth/form/A&DAnesth(12%20_5_11).pdf

7. สายสมร พลดงนอก , ศ.พญ.เพลินจันทร์ เชษฐ์โชติศักดิ์. การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อในโรงพยาบาล.[ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ1 ก.ค. 2558] จาก.http://beid.ddc.moph.go.th/beid_2014/files/ic6_b_10.pdf

8. Becker, Marshall H. and Maiman, Lois A. “Socialbehavioral Determinants of Compliance with Health and Medical Care Recommendations.” Medical Care.13 (January 1975).

9. ทันตแพทยสภา, การควบคุมการติดเชื้อตามมาตรฐาน (Safe Infection Control), แนวทางปฏิบัติเพื่อความปลอดภัยทางทันตกรรม (Dental Safety Goals & Guidelines 2015) [ออนไลน์] 2558 [อ้างเมื่อ1 ก.ค. 2558] จาก.http://www.dentalcouncil.or.th/public_content/files/001/0000401_2.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความวิจัย (Research article)