เรซินคอมโพสิตชนิดที่มีคุณสมบัติการหดตัวต่ำในงานทันตกรรมหัตถการ

ผู้แต่ง

  • สุภัค วงษ์วรสันต์ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • เพียงดาว คำนึงสิทธิ วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สรินธา สุภาภรณ์ตำแหน่ง วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • บุษยสิทธิ์ พงษ์พิจิตร วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • สุทธินาถ ชมเชย วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี
  • ทัชชภร เขียวสะอาด วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดชลบุรี

คำสำคัญ:

เรซินคอมโพสิตคุณสมบัติการหดตัวต่ำ, เรซินคอมโพสิตบัลค์ฟิลล์, การหดตัวปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน

บทคัดย่อ

          เรซินคอมโพสิตชนิดที่มีคุณสมบัติการหดตัวต่ำ เป็นวัสดุบูรณะฟันที่มีคุณสมบัติเด่นด้านการหดตัวจากปฎิกิริยาพอลิเมอไรเซชันที่ต่ำ ทำให้เกิดการหดตัวของเรซินคอมโพสิตที่น้อยลงลดแรงเค้นที่สะสมบนฟันลดอาการเสียวฟันซึ่งเป็นปัญหาที่พบบ่อยภายหลังการบูรณะฟันด้วยเรซินคอมโพสิตชนิดดั้งเดิมการพัฒนาเรซินคอมโพสิตชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นการปรับเปลี่ยนส่วนของโมโนเมอร์ เช่น การพัฒนาส่วนเมธาคริเลตเป็นสารไซลอเรน ที่เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันด้วยการเปิดวงแหวนเพิ่มพื้นที่และเชื่อมต่อกันเป็นโพลิเมอร์เพื่อให้มีการหดตัวลดลงการสร้างโมโนเมอร์ให้มีความหนืดลดลง  และปรับเปลี่ยนโครงสร้างฟิลเลอร์ให้มีลักษณะจำเพาะเพื่อลดการหดตัวและลดแรงเค้นที่เกิดจากปฎิกิริยาพอลิเมอไรเซชันของวัสดุ ปัจจุบันมีหลายการศึกษาที่ยืนยันคุณสมบัติของเรซินคอมโพสิตชนิดนี้ว่ามีค่าการหดตัวที่ต่ำกว่าเรซินคอมโพสิตทั่วไป และสนับสนุนการนำวัสดุดังกล่าวมาใช้บูรณะในโพรงฟันที่ลึก อย่างไรก็ตาม  ยังมีบางการศึกษาให้ผลขัดแย้งเกี่ยวกับคุณสมบัติของวัสดุกลุ่มนี้ ดังนั้นการที่ทันตบุคลากรจะตัดสินใจเลือกเรซินคอมโพสิตกลุ่มนี้มาใช้ในการบูรณะฟัน  ควรพิจารณาปัจจัยอื่นๆด้วย นอกเหนือจากการหดตัวของวัสดุเพื่อให้การบูรณะฟันมีประสิทธิภาพสูงสุด   เรซินคอมโพสิตชนิดที่มีคุณสมบัติการหดตัวต่ำเป็นวัสดุทางเลือกใหม่ในงานทันตกรรม ซึ่งยังคงต้องได้รับการศึกษาต่อไป

References

1. เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์. การบูรณะฟันที่ผ่านการรักษาราก.พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: แสงแดด; 2555. หน้า20-2.

2. Tantbirojn D, Versluis A, Pintado MR, DeLong R, Douglas WH. Tooth deformation patterns in molars after composite restoration. Dent Mater 2004;20:535-542.

3. เฉลิมพล ลี้ไวโรจน์, มนตรี จันทรมังกร. การบูรณะฟันหลังด้วยวัสดุบูรณะสีเหมือนฟัน. พิมพ์ครั้งที่ 1.กรุงเทพมหานคร: ซันต้าการพิมพ์; 2549. หน้า167-184.

4. Ferracane JL. Developing a more complete understanding of stresses produced in dental composites during polymerization.Dent Mater 2005;21:36–42.

5. Ferracane JL, Ferracane LL, Braga RR.Effect of Admixed High-Density Polyethylene (HDPE) spheres on contraction stress and properties of experimental composites. J Biomed Mater Res B ApplBiomate2003;66(1):318-323.

6. Todd JC, WannerM.Scientific Documentation TetricEvoCeram® Bulk Fill[online]. 2014:10-1. Available from:http://www.ivoclarvivadent.us/en-us/composites/restorative-materials/tetric-evoceram-bulk-fill

7. Lazarchik DA, Hammond BD, Sikes CL, Looney SW, Rueggeberg FA. Hardness comparison of bulk-filled/transtooth and incremental-filled/occlusally irradiated composite resins.JProsthet Dent2007;98:129-140.

8. Fusejima F, Kaga S, Kumagai T, Sakuma T. Polymerization shrinkage ratio and force of various Resin Composites. GC Corporation, Tokyo, Japan 2009.

9. Arrais CAG, Oliveira MT, Mettenburg D, Rueggeberg FA, Giannini M. Silorane-and high filled-based ”low-shrinkage” resin composites: shrinkage,flexural strength and modulus. Braz Oral Res.,(Sao Paulo)2013;27(2):97-102.

10. Tiba A, Zeller GG, Estrich CG, Hong A. A Laboratory Evaluation of Bulk-Fill Versus Traditional Multi-Incremental-Fill Resin-Based Composites.J Am Dent Assoc2013;144(10):1182-3.

11. Garcia D, Yaman P, Dennison J, Neiva GF. Polymerization shrinkage and depth of cure of bulk fill flowable composite resins. Oper Dent2014;39:441-8.

12. Gordon J. Advantage and challenges of Bulk-Fill Resins.CR Clinical Report 2012;5(1):1-2.

13. Jang JH, Park SH, Hwang IN. Polymerization shrinkage and depth of cure of Bulk- Fill Resin Composites and Highly Filled FlowableResin.Oper Dent2014;39(6):000-000.

14. Monteiro GQ, Montes MA, Rolim TV, Mota CC, Kyotoku BC, Gomes AS, Freitas AZ. Alternative methods for determining shrinkage in restorative resin composites. Dent Mater 2011:XXXE1-XXXE10.

15. Herrero AA, Yaman P, Dennison JB. Polymerization shrinkage and depth of cure of packable composites. Quintessence International 2005;36(1):25-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2017-06-20

ฉบับ

บท

บทความปริทัศน์ (Review article)