Effectiveness of Dental Health Education Program by Application of Self Efficacy Theory on Gingivitis Prevention of Grade Nine Secondary School Students in Tao Ngoi District in Sakon Nakhon Province

Authors

  • สรวงสุดา บูชา Tao Ngoi Hospital
  • สุขสมัย สมพงษ์ Faculty of Public Health Kasetsart University Chalermphakiat Sakon Nakhon Province Campus

Keywords:

Self-efficacy; dental health care; Plaque, Self-efficacy, dental health care, plaque

Abstract

              โรคเหงือกอักเสบในเด็กมัธยมศึกษาตอนต้น ยังคงเป็นปัญหาด้านทันตสาธารณสุขในประเทศไทย การแก้ไขปัญหาที่ยั่งยืนคือการพัฒนาพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพที่ถูกต้อง ซึ่งการจัดโปรแกรมทันตสุขศึกษาในกลุ่มนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับเด็กกลุ่มนี้ การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร กลุ่มตัวอย่างมีจำนวน 73 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 37 คน และกลุ่มเปรียบเทียบ 36 คน กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมทันตสุขศึกษาที่ผู้วิจัยจัดทำขึ้น ใช้ระยะเวลาในการศึกษาทั้งสิ้น 7 สัปดาห์ รวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม และประเมินทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี  ทักษะการตรวจฟันอย่างง่ายด้วยตนเอง  และปริมาณคราบจุลินทรีย์บนตัวฟัน การวิเคราะห์ข้อมูลทั่วไปด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างของคะแนนเฉลี่ยระหว่างกลุ่มทดลองและกลุ่มเปรียบเทียบด้วยสถิติ Independent t-test   ภายหลังการทดลอง พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนความรู้ความเข้าใจโรคในช่องปากและอนามัย

ช่องปาก การรับรู้ความสามารถตนเองในการดูแลทันตสุขภาพ ความคาดหวังในผลลัพธ์ของการปฏิบัติตนจากการดูแลทันตสุขภาพ เจตคติต่อการดูแลทันตสุขภาพ ทักษะการแปรงฟันที่ถูกวิธี ทักษะการตรวจฟันอย่างง่ายด้วยตนเอง  สูงขึ้นและสูงกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)  นอกจากนี้ พบว่ากลุ่มทดลองมีค่าเฉลี่ยคะแนนปริมาณแผ่นคราบจุลินทรีย์บนตัวฟันลดลงและน้อยกว่ากลุ่มเปรียบเทียบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (P < 0.001)

            จากผลการวิจัยแสดงว่า โปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองเพื่อป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 อำเภอเต่างอย จังหวัดสกลนคร ทำให้มีการพัฒนาพฤติกรรมในการดูแลทันตสุขภาพที่ดีขึ้น

Author Biographies

สรวงสุดา บูชา, Tao Ngoi Hospital

Public Health Technical Officer

สุขสมัย สมพงษ์, Faculty of Public Health Kasetsart University Chalermphakiat Sakon Nakhon Province Campus

Associate Professor

References

1. กองทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะทันตสุขภาพแห่งชาติ ครั้งที่ 6 พ.ศ. 2549-2550. กรมอนามัยกระทรวงสาธารณสุข;2551.

2. กมลทิพย์ สุขสันติสกุลชัย. เอกสารประกอบการสอนวิชาทันตกรรมป้องกัน. พิมพ์ครั้งที่ 5. วิทยาลัยการสาธารณสุขสิรินธร จังหวัดขอนแก่น;2551.

3. สำนักทันตสาธารณสุข กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะสุขภาพช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7. สำนักพิมพ์งานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก: กรุงเทพฯ, 2555.

4. กองทันตสาธารณสุข. รายงานผลการสำรวจสภาวะช่องปากระดับประเทศ ครั้งที่ 7 พ.ศ. 2555. โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก กรุงเทพฯ.ครั้งที่ 5;2556.

5.วิริยา สุขวงศ์. การศึกษาชุมชน. ภาควิชาสุขศึกษา คณะพละศึกษามหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร.กรุงเทพฯ;2540.

6. พิสมัย จันทวิมล. นิยามศัพท์ส่งเสริมสุขภาพ พิมพ์ครั้งที่ 2. โครงการตําราสํานักพิมพ์สถาบันระบบสาธารณสุข นนทบุรี;2541.

7. สิริลักษณ์ รสภิรมย์. ประสิทธิผลของโปรแกรมทันตสุขศึกษาโดยประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถตนเองที่มีต่อพฤติกรรมทันตสุขภาพของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 อำเภอเมือง จังหวัดนครปฐม ปริญญาวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาสุขศึกษา มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ;2556.

8. กุลชาติ วัฒนวงศ์เวฬุวนารักษ์. ผลของการประยุกต์ใช้ทฤษฎีความสามารถของตนเองในการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการป้องกันโรคเหงือกอักเสบในนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตำบล เมืองแคน อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ. วิทยานิพนธ์สาธารณสุขศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการระบบสุขภาพ, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม;2555.

9. Bandura, A. Self-Efficacy : Toward a Unifying of Behavior Change Psychological. New York: Holt, Rincchart and Winson;1977.

10. ปัญนี กิตติพงศ์พิทยา. การประยุกต์ทฤษฎีการรับรู้ความสามารถตนเอง เพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลทันตสุขภาพในนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 1 อำเภออรัญประเทศ จังหวัด สระแก้ว. Journal of Health Education January - April 2008 Vol. 31 No. 108;2552.

Downloads

Published

2018-10-09

Issue

Section

บทความวิจัย (Research article)