ผลลัพธ์ทางคลินิกของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง

ผู้แต่ง

  • วันจันทร์ ปุญญวันทนีย์ กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

คำสำคัญ:

การบริบาลทางเภสัชกรรม, โรคความดันโลหิตสูง, เภสัชกร, ปัญหาการใช้ยา, หน่วยบริการปฐมภูมิ

บทคัดย่อ

บทนำ การบริบาลทางเภสัชกรรมจะทำให้ปัญหาการใช้ยาลดลง ส่งผลดีต่อการควบคุมโรค

วัตถุประสงค์ ศึกษาชนิดและสาเหตุของปัญหาการใช้ยาในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เปรียบเทียบผลการบริบาลทางเภสัชกรรมต่อระดับความดันโลหิตและจำนวนปัญหาการใช้ยา

วิธีวิจัย การวิจัยเชิงปฏิบัติการ โดยใช้รูปแบบการวิจัยกึ่งทดลองแบบกลุ่มเดียววัดผลก่อนและหลังในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนเมือง ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม ถึง 18 กรกฎาคม 2567 ประเมินปัญหาการใช้ยาตามแนวทางของ Pharmaceutical Care Network Europe (PCNE) version 9.1 และติดตามผู้ป่วยหลังได้รับการบริบาลทางเภสัชกรรม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และ paired t-test

ผลการวิจัย ผู้ป่วยเข้าร่วมการวิจัย จำนวน 34 คน เป็นเพศหญิง ร้อยละ 76.5 อายุเฉลี่ย 65.6±8.6 ปี หลังจากให้บริบาลทางเภสัชกรรม พบว่า จำนวนผู้ป่วยที่มีปัญหาการใช้ยาลดลงร้อยละ 50 จำนวนครั้งของปัญหาการใช้ยาลดลงร้อยละ 55.8 ผลการบริบาลทางเภสัชกรรม ทำให้จำนวนปัญหาการใช้ยา จำนวนสาเหตุของปัญหาการใช้ยาจากผู้ป่วย ค่าความดันโลหิตตัวบน ค่าความดันโลหิตตัวล่าง และค่ายา ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p-value = 0.001, 0.001, 0.001, 0.012 และ 0.043 ตามลำดับ)

สรุป ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ช่วยทำให้ปัญหาการใช้ยาและค่าความดันโลหิตลดลง จึงควรมีการบริบาลทางเภสัชกรรมที่หน่วยบริการปฐมภูมิอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยให้ผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมโรคได้ดีขึ้น

Author Biography

วันจันทร์ ปุญญวันทนีย์, กลุ่มงานเวชกรรมสังคม โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี

ภบ., ภม.(เภสัชกรรมคลินิก)

References

เฉลิมศรี ภุมมางกูร. ปรัชญาของการบริบาลทางเภสัชกรรมปฏิบัติ. ใน: เฉลิมศรี ภุมมางกูร, กฤตติกา ตัญญะแสนสุข, บรรณาธิการ. โอสถกรรมศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: นิวไทยมิตรการพิมพ์; 2543. หน้า 1-19.

Pharmaceutical Care Network Europe Association. PCNE classification for drug related problems V9.1 [Internet]. 2020. [cited 2024 Feb 24]. Available from: https://www.pcne.org/upload/files/417_PCNE_classification_V9-1_final.pdf

กรมควบคุมโรค. สถานการณ์ในปัจจุบันของโรคความดันโลหิตสูง [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค; 2563 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 2567]. สืบค้นจาก: https://ddc.moph.go.th/disease_detail.php?d=52

สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย. แนวทางการรักษาโรคความดันโลหิตสูงในเวชปฏิบัติทั่วไป พ.ศ. 2562 [อินเทอร์เน็ต]. กรุงเทพมหานคร: สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย; 2562 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2567]. สืบค้นจาก: http://www.thaihypertension.org/files/HT%20guideline%202019.with%20watermark.pdf

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสุราษฎร์ธานี. ร้อยละผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงควบคุมความดันโลหิตได้ดี [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร กระทรวงสาธารณสุข; 2567 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2567]; สืบค้นจาก: https://sni.hdc.moph.go.th/hdc/reports/report.php?cat_id=b2b59e64c4e6c92d4b1ec16a599d882b&id=2e3813337b6b5377c2f68affe247d5f9

Darmirani Y, Dalimunthe A, Khairunnisa, Iksen. The impact of pharmaceutical care implementation on the incidence of drug-related problem and clinical outcome of hypertension patients at Puskesmas Lubuk Pakam in 2021. MPI (Media Pharmaceutica Indonesiana). 2023;5(1):20-7. doi: 10.24123/mpi.v5i1.5609.

ปัญญา อุ่ยประเสริฐ. การศึกษาปัญหาการใช้ยาของผู้ป่วยโรคเรื้อรังระดับปฐมภูมิในเครือข่ายโรงพยาบาลปทุมธานี. เภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2560 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2567];23(1):29-38. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/issue/view/916/154

วิศนีย์ โรจนอุไร. ความชุกและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการใช้ยาไม่เป็นไปตามคำสั่งแพทย์ในผู้ป่วยโรคไม่ติดต่อเรื้อรังที่มารับการรักษาที่คลินิกเฉพาะโรค คณะแพทยศาสตร์วชิรพยาบาล มหาวิทยาลัยนวมินทราธิราช. วชิรเวชสารและวารสารเวชศาสตร์เขตเมือง. 2018;62(3): 193-208. doi: 10.14456/vmj.2018.21.

สุภาพร สนองเดช. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคเบาหวานและโรคความดันโลหิตสูงในสถานบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเครือข่ายโรงพยาบาลเลย. เภสัชกรรมคลินิก [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2567];28(3):85-97. สืบค้นจาก: https://thaidj.org/index.php/TJCP/article/view/12887

พิจักษณา มณีพันธุ์, กรกมล รุกขพันธ์. ปัญหาด้านยาของผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาตัว ณ โรงพยาบาลชุมชนแห่งหนึ่งในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้และการจัดการปัญหาโดยเภสัชกร. วารสารเภสัชกรรมไทย [อินเทอร์เน็ต]. 2561 [สืบค้นเมื่อ 24 ก.พ. 2567];10(2):551-62. สืบค้นจาก: https://he01.tci-thaijo.org/index.php/TJPP/article/view/171230

พัทร์วรินท์ ศรลัมพ์, ณัฐธิดา เวทนาสุข, รณกฤต ทีทา. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลไม่ได้ โรงพยาบาลพล จังหวัดขอนแก่น. วารสารสาธารณสุขและสุขภาพศึกษา [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 2567];4(1):1-15. สืบค้นจาก: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/tjphe/article/view/267211

อรุณวรรณ ต่อกร. ผลของการบริบาลเภสัชกรรมร่วมกับการติดตามการใช้ยาทางไกลในผู้ป่วยเบาหวานที่ใช้ยาฉีดอินซูลิน โรงพยาบาลโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิจัยและวิชาการสาธารณสุขจังหวัดพิจิตร [อินเทอร์เน็ต]. 2565 [สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค.2567];3(2):108-16. สืบค้นจาก : http://www.ppho.go.th/webppho/research/y3p2/b11.pdf

มลฤดี มณีรัตน์. ปัญหาด้านยาในผู้ป่วยรับการดูแลแบบประคับประคองที่ใช้กัญชาทางการแพทย์ที่บ้าน. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2566 [สืบค้นเมื่อ 12 ส.ค. 2567];33(3):286-97. สืบค้นจาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/263321

ปกรณ์ วรสินธุ์, สุธาร จันทะวงศ์, จินตนา ตั้งสิชฌนกุล. บทบาทเภสัชกรกับการจัดการปัญหาทางยาในคลินิกโรคมะเร็งชนิดก้อนของโรงพยาบาลศูนย์แห่งหนึ่ง. วารสารเภสัชกรรมโรงพยาบาล [อินเทอร์เน็ต]. 2567 [สืบค้นเมื่อ 19 ก.ย. 2567];34(2):121-31. สืบค้นจาก : https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/264115

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2024

How to Cite

1.
ปุญญวันทนีย์ ว. ผลลัพธ์ทางคลินิกของการบริบาลทางเภสัชกรรมในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง ณ ศูนย์สุขภาพชุมชนแห่งหนึ่ง. Thai J Hosp Pharm [อินเทอร์เน็ต]. 31 ธันวาคม 2024 [อ้างถึง 2 พฤษภาคม 2025];34(3):346-57. available at: https://he02.tci-thaijo.org/index.php/TJHP/article/view/271980