สิ่งแปลกปลอมในข้าวสารที่จำหน่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • ขันทอง เพ็ชรนอก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ก่อเกียรติ ศาสตรินทร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กนกวรรณ ตุ้นสกุล สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

สิ่งแปลกปลอม, ข้าวสาร

บทคัดย่อ

       ข้าวเป็นผลิตผลทางการเกษตรที่ใช้บริโภคภายในประเทศและเป็นสินค้าส่งออกที่ทำรายได้สูงในแต่ละปี ซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกานำเข้าข้าวจากไทยมากที่สุด แต่มีข้อกำหนดด้านสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็ก การศึกษานี้ได้ตรวจวิเคราะห์สิ่งแปลกปลอมในข้าวสาร จำนวน 150 ตัวอย่าง แบ่งเป็นข้าวสารบรรจุถุงปิดสนิทและข้าวสารตักแบ่งประเภทละ 75 ตัวอย่าง ผลการตรวจด้วยตาเปล่าพบแมลงมีชีวิต จำนวน 22 ตัวอย่าง ในข้าวสารบรรจุถุงปิดสนิท จำนวน 3 ตัวอย่าง (ร้อยละ 4.00) และข้าวสารตักแบ่ง 19 ตัวอย่าง (ร้อยละ 25.33) ผลการตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบสิ่งแปลกปลอมในทุกตัวอย่าง โดยเฉพาะพบชิ้นส่วนแมลงมากกว่า 225 ชิ้น ในข้าวสารบรรจุถุงปิดสนิท จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 1.33) และในข้าวสารตักแบ่ง จำนวน 22 ตัวอย่าง (ร้อยละ 29.33) และพบว่าข้าวสารตักแบ่งตรวจพบสิ่งแปลกปลอมทุกชนิดมากกว่าข้าวสารบรรจุถุงปิดสนิทอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติโดยใช้ไคสแควร์ (p<0.05) การตรวจพบสิ่งแปลกปลอมขนาดเล็กและน้ำหนักเบาในข้าวสารบ่งชี้ว่าควรเข้มงวดในเรื่องสุขลักษณะและกรรมวิธีที่ดีในการผลิตอาหาร เพื่อยกระดับคุณภาพของผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพดีสม่ำเสมอ เป็นที่ยอมรับของผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า นอกจากนี้ข้อมูลที่ได้สามารถนำไปใช้ประกอบการพิจารณาของหน่วยงานที่รับผิดชอบ เพื่อกำหนดเกณฑ์คุณภาพข้าวสารต่อไป

References

ประวัติความเป็นมาของข้าว. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 ต.ค. 2562]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.arda.or.th/kasetinfo/rice/rice-histories.html.

สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร. สถิติการส่งออกข้าว (รวม): ปริมาณและมูลค่าการส่งออกรายเดือน. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 19 ต.ค. 2560]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://impexp.oae.go.th/service/export.php.

การค้าข้าว-ข้าวไทย. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 20 พ.ย. 2560]; [5 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://sites.google.com/site/2845goodrices/kar-kha-khaw.

รายงานสถานการณ์สินค้าข้าวไทยในสหรัฐอเมริกา. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 19 ต.ค. 2560]; [8 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.ditp.go.th/contents_attach/138308/138308.pdf.

ความรับผิดชอบของ FDA ต่อการนำเข้าอาหารสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 19 ต.ค. 2560]; [42 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: https://fic.nfi.or.th/law/upload/file3/USRegulation.doc.

Chapter V-3: Grains and grain products. In: FDA Technical Bulletin Number 5. Macroanalytical procedures manual. Washington, DC: U. S. Food and Drug Administration; 1994. p. 15.

Whitlock LL, Chapter Editior. Chapter 16, Extraneous materials: isolation. In: Latimer GW, Editor. Official method of analysis of AOAC International. 20th ed. Maryland: AOAC International; 2016. p. 1-5, 19.

ขันทอง เพ็ชรนอก, ประดิษฐ์ โพธิ์นักขา. การศึกษาสิ่งแปลกปลอมประเภท light filth ในข้าว. ว กรมวิทย พ 2549; 48(3): 156-64.

Gentry JW, Harris KL. Microanalytical entomology for food sanitation control. Florida: LithoGraphics Altamonte Springs; 1991.

U. S. Food and Drug Administration. Food defect action levels. Washington, DC: Center for Food Safety and Applied Nutrition; 1995. p. 11.

ISO 7301: 2011. Rice--specification. Geneva: International Organization for Standardization; 2011.

พรทิพย์ วิสารทานนท์, อัจฉรา เพชรโชติ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรและแมลงศัตรูธรรมชาติ. วันที่ 9-11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.

ใจทิพย์ อุไรชื่น. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตรเรื่อง การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรโดยไม่ใช้สารฆ่าแมลง. วันที่ 9-11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2019

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)