การศึกษาปริมาณรังสีของเครื่องเอกซเรย์ฟันในช่องปากแบบเคลื่อนที่ เขตภาคกลางของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อนงค์ สิงกาวงไซย์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศุภวัฒน์ ทัพสุริย์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Radiation output, Scatter radiation, Handheld dental x-ray device

บทคัดย่อ

       ได้ทำการศึกษาเปรียบเทียบปริมาณรังสีและรังสีกระเจิงของเครื่องเอกซเรย์ฟันในช่องปากแบบเคลื่อนที่ และแบบติดตั้งของห้องปฏิบัติการรังสีวินิจฉัย ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี อยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และสระบุรี ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2561 ประกอบด้วยแบบเคลื่อนที่ 150 เครื่อง จำนวน 12 รุ่น และแบบติดตั้ง 150 เครื่อง จำนวน 15 รุ่น จากการวัดปริมาณรังสีด้วยเครื่องวัดโดสมิเตอร์ และวัดปริมาณรังสีกระเจิงด้วยเครื่องตรวจปริมาณรังสีกระเจิง พบว่าปริมาณรังสีเฉลี่ยของเครื่องเอกซเรย์ฟันแบบเคลื่อนที่เท่ากับ 1,135 ไมโครเกรย์ (μGy) และค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีกระเจิงวัดได้ที่บริเวณจับฟิล์ม ที่ระยะห่าง 1, 2, 3 เมตร และบริเวณเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเท่ากับ 1,130, 66, 10, 2 และ 125 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง (μSv/h) ตามลำดับ ขณะที่เครื่องเอกซเรย์ฟันแบบติดตั้งมีค่าปริมาณรังสีเฉลี่ย 2,711 μGy และค่าเฉลี่ยปริมาณรังสีกระเจิงที่บริเวณจับฟิล์ม ที่ระยะห่าง 1, 2, 3 เมตร และบริเวณเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานเท่ากับ 1,885, 149, 19, 4 และ 0 μSv/h ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานได้รับรังสีที่ตำแหน่งปฏิบัติงานด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันแบบเคลื่อนที่มากกว่าแบบติดตั้ง จึงควรมีการป้องกันรังสีขณะใช้งานเพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานรวมทั้งผู้รับบริการได้รับรังสีน้อยที่สุด

References

สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ. การป้องกันอันตรายจากรังสี. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์คุรุสภา; 2546.

European guidelines on radiation protection in dental radiology: the safe use of radiographs in dental practice. Issue No.136. Luxembourg: European Communities; 2004. p. 41-49.

Conference of Radiation Control Program Directors (CRCPD). QA collectible: hand-held dental x-ray units. [online]. 2010. Aug [cited 2019 Mar 30]; [6 screens]. Available from: URL: https://www.crcpd.org/resource/resmgr/docs/QA_Collectibles/Hand-heldDentalX-rayUnitsQAC.pdf.

U.S. Food and Drug Administration. Illegal sale of potentially unsafe hand-held dental x-ray units: FDA safety communication. [online]. 2012; [cited 2019 Mar 30]; Available from: URL: https://www.fda.gov/Radiation-EmittingProducts/RadiationSafety/AlertsandNotices/ucm291214.htm.

Gray JE, Bailey ED, Ludlow JB. Dental staff doses with handheld dental intraoral x-ray units. Health Phys 2012; 102(2): 137-42.

Kim EK. Effect of amount of battery charge on tube voltage in different hand-held dental x-ray systems. Imaging Sci Dent 2012; 42: 1-4.

Lee MJ, Seo JH, Lee MG, Choi YH. Leakage and scattered radiation dosage in portable dental x-rays. Int J Clin Prev Dent 2013; 9(3): 131-8.

Mahdian M, Pakchoian AJ, Dagdeviren D, Alzahrani A, Jalali E, Tadinada A, et al. Using hand-held dental x-ray devices: ensuring safety for patients and operators. JADA 2014; 145(11): 1130-2.

ศิริวรรณ จูเลียง, สายัณห์ เมืองสว่าง. ความปลอดภัยจากการใช้เครื่องเอกซเรย์ฟันในเขตสาธารณสุขที่ 7. ว กรมวิทย พ 2556; 55(4): 236-45.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงจากการถ่ายรังสีวินิจฉัยด้วยเครื่องเอกซเรย์ฟันชนิดถ่ายภายในช่องปาก. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 30 เมษายน 2562]; [10 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://dmscsmartlifeblog.com/userfiles/files/ค่าปริมาณรังสีอ้างอิงDent-final(1).pdf.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พ.ศ. 2558. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2558.

Makdissi J, Pawar RR, Johnson B, Chong BS. The effects of device position on the operator’s radiation dose when using a handheld portable x-ray device. Dentomaxillofac Radiol 2016; 45(3): 20150245. (7 p.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2019

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)