การเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญสำหรับการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • สุดใจ นันตารัตน์ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ดวงใจ จิปิภพ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 1 เชียงใหม่ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Proficiency testing samples, Blood alcohol, Homogeneity, Stability

บทคัดย่อ

       ตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดซึ่งเตรียมจากเลือดวัว เป็นเครื่องมือสำหรับประเมินคุณภาพการดำเนินงานของห้องปฏิบัติการการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่นำผลไปใช้ในทางกฎหมายต้องมีคุณลักษณะคล้ายคลึงกับตัวอย่างที่ตรวจวิเคราะห์ในงานประจำ มีความเป็นเนื้อเดียวกันและความคงตัวตลอดระยะเวลาที่กำหนด จึงได้พัฒนาวิธีการเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดจากเลือดวัวให้เหมาะสม และวิเคราะห์ปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดด้วยเทคนิค Headspace Gas Chromatography ใช้เครื่องตรวจวัดชนิด flame ionization detector จากการศึกษาพบว่าตัวอย่างทดสอบความชำนาญการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือดที่มีความเป็นเนื้อเดียวกัน และมีความคงตัวตามเกณฑ์ยอมรับทางสถิติ (ISO 13528:2015) สามารถเก็บไว้ในอุณหภูมิ 2-8 ซ ได้นาน 30 วัน ตามช่วงเวลาของการทดสอบความชำนาญการตรวจระดับแอลกอฮอล์ในเลือด และการขนส่งตัวอย่างให้สมาชิก ต้องเตรียมจากเลือดวัวตัวเดียวกัน มี sodium fluoride และ potassium oxalate ปริมาณ 5 และ 4 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ เพื่อรักษาสภาพและกันเลือดแข็งตัว ผสมให้เข้ากันเป็นเวลา 12 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิ 20 ± 2 ซ แล้วนำไปเก็บไว้ในอุณหภูมิ 2-8 ซ นาน 7 วัน ก่อนนำไปเตรียมตัวอย่างทดสอบความชำนาญ ซึ่งเติมเอทานอลความเข้มข้นต่าง ๆ ที่ครอบคลุมความเข้มข้น 50 มิลลิกรัมเปอร์เซ็นต์ ตามที่กฎหมายกำหนด

References

National Council on Alcohol and Drug Dependence (NCADD). Alcohol and your health. [online]. [cited 2019 Dec 25]; [2 screens]. Available from: URL: https://www.healthchecksystems.com/alcohol.htm.

กฎกระทรวง ฉบับที่ 21 (พ.ศ. 2560) ออกตามความในพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนที่ 59 ก (วันที่ 31 พฤษภาคม 2560).

SOFT/AAFS forensic toxicology laboratory guidelines. [online]. 2006; [cited 2019 Dec 25]; [24 screens]. Available from: URL: https://www.soft-tox.org/files/Guidelines_2006_Final.pdf.

Cooper GAA, Paterson S, Osselton MD. The United Kingdom and Ireland association of forensic toxicologists forensic toxicology laboratory guidelines (2010). Sci Justice 2010; 50(4): 166-76.

Devleeschouwer N, Libeer JC, Martens FK, Neels H, Van Damme M, Verstraete A, et al. Blood alcohol testing: comparison of the performance obtained with the different methods used in the Belgian external quality assessment schemes. Clin Chem Lab Med 2004; 42(1): 57-61.

ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva: International Organization for Standardization; 2005.

ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment -- general requirements for proficiency testing. Geneva: International Organization for Standardization; 2010.

ISO 13528:2015. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparisons. Geneva: International Organization for Standardization; 2015.

Flores AL, Moulden JV. The national highway traffic dafety administration’s blood alcohol proficiency test program. J Anal Toxicol 1977; 1(3): 139-41.

Zamengo L, Tedeschi G, Frison G, Griffoni C, Ponzin D, Jones AW. Inter-laboratory proficiency results of blood alcohol determinations at clinical and forensic laboratories in Italy. Forensic Sci Int 2019; 295: 213-8.

CLIA '88 proficiency testing limits. [online]. 2003; [cited 2019 Dec 25]; [2 screens]. Available from: URL: https://www.auditmicro.com/media/wysiwyg/CLIA_88_Proficiency_Testing_Limits.pdf.

Cornell University College of Veterinary Medicine. Blood type. [online]. 2013; [cited 2019 Dec 28]; [4 screens]. Available from: URL: https://eclinpath.com/hemostasis/transfusion-medicine/blood-types/.

บุญศรี มหากิตติคุณ. การเจาะเก็บเลือดและการใช้สารกันเลือดแข็ง. [ออนไลน์]. [สืบค้น 29 มิ.ย. 2562]; [8 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.microscopy.ahs.chula.ac.th/newmicros/lecture/bloodcollecting.pdf.

Dubowski KM, Gadsden RH Sr, Poklis A. The Stability of ethanol in human whole blood control: an interlaboratory evaluation. J Anal Toxicol 1997; 21(6): 486-91.

สุดใจ นันตารัตน์. การประเมินผลการทดสอบความชำนาญการตรวจแอลกอฮอล์ในเลือด. วารสารพิษวิทยาไทย 2559; 31(2): 55-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2019

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)