การประยุกต์ใช้กับดักไข่ยุง “LeO-Trap” เพื่อลดความหนาแน่นของยุงลายในพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา
คำสำคัญ:
กับดักไข่ยุงลาย, ยุง, ไข้เลือดออกบทคัดย่อ
ไข้เลือดออกยังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศ มาตรการควบคุมมีหลายวิธีรวมถึงการกำจัดไข่ยุงลายด้วยกับดักแบบดักตาย จึงได้ศึกษาประสิทธิผลของกับดักไข่ยุง “LeO-Trap” ตำแหน่งการวางและจำนวนกับดักที่เหมาะสมในพื้นที่ระบาดโรคไข้เลือดออกของจังหวัดสงขลา โดยศึกษาในชุมชนที่พักอาศัย ชุมชนแออัด และชุมชนพาณิชย์ จำนวน 108 หลังคาเรือน ทำการวางกับดัก 36 หลังคาเรือนต่อชุมชนใน 4 รูปแบบ พบว่า ค่าดัชนีลูกน้ำยุงลาย (House Index : HI) ก่อนวางกับดัก คิดเป็นร้อยละ 58.33 เมื่อวางทิ้งไว้ 4 วัน ยุงลายเข้ามาวางไข่ในกับดักไข่ยุง ร้อยละ 95.33 และ ค่า HI ลดลงเหลือ ร้อยละ 20.37 อัตราการพบไข่ยุงในกับดักร้อยละ 67.43 เฉลี่ย 47.90 ฟอง/กับดัก โดยสามารถดักจับไข่ยุงลายได้ทั้งหมด 16,765 ฟอง ผลการวางกับดักไข่ยุง “LeO-Trap” 4 รูปแบบ ไม่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ และพบว่ารูปแบบที่เหมาะสมกับชุมชนแออัดและชุมชนพาณิชย์ คือ การวางกับดักในห้องนั่งเล่น และบริเวณเก้าอี้ที่นั่งพักผ่อนหน้าบ้าน แห่งละ 1 กับดัก สำหรับชุมชนที่พักอาศัย ควรเพิ่มการวางกับดักไข่ยุงลายนอกบ้านอีก 1 กับดัก คือ บริเวณกระถางต้นไม้ หรือใต้ต้นไม้ ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่ากับดักไข่ยุง “LeO-Trap” มีประสิทธิผลในการลดความหนาแน่นของยุงลาย
References
สำนักงานควบคุมโรคไข้เลือดออก กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. โรคไข้เลือดออก ฉบับประเกียรณก. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2545.
World Health Organization, Regional Office for South-East Asia. Monograph on dengue/dengue haeamorrhagic fever. New Delhi, India: World Health Organization;1993.
อุษาวดี ถาวระ, บรรณาธิการ. ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.
สุดา โลมากิจ. รายงานผลการสำรวจลูกยุงลาย พ.ศ. 2562. สงขลา: กลุ่มปฏิบัติการควบคุมโรคในพื้นที่เฉพาะสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 สงขลา; 2562.
จรวย สุวรรณบำรุง. “ลานสกาโมเดล” โมเดลระบบเฝ้าระวังดัชนีลูกน้ำยุงลายเพื่อแก้ปัญหาโรคไข้เลือดออกอย่างยั่งยืนจากระดับครัวเรือนถึงอำเภอ: กรณีถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชน. นครศรีธรรมราช: สำนักวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์; 2559.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. ลีโอแทรป นวัตกรรมกำจัดไข่ยุงและลูกน้ำยุงลาย. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
Hoel DF, Obenauer PJ, Clark M, Smith R, Hughes TH, Larson RT, et al. Efficacy of ovitrap colors and patterns for attracting Aedes albopictus at suburban field sites in North-Central Florida. J Am Mosq Control Assoc 2011; 27(3): 245-51.
Long SA, Jacups SP, Ritchie SA. Lethal ovitrap deployment for Aedes aegypti control: potential implications for non-target organisms. J Vector Ecol 2015; 40(1): 139-45.
Prasetyo A, Poerwati S, Yulianto M. Penggunaan Lethal Ovitrap Dengan Berbagai Jenis Attractant Untuk Pengendalian Nyamuk Aedes Sp. J Penelit Kesehat 2016; 14(4): 241-6.
Pushpanathan M. Lethal ovitrap: a cost-effective weapon to fight zika virus infection. Virol Res Rev 2017; 1(1): 1-2.
Zeichner BC. The lethal ovitrap: a response to the resurgence of dengue and chikungunya. US Army Med Dep J 2011; Jul-Sep: 4-11.
Tawatsin A, Thavara U, Srivarom N, Siriyasatien P, Wongtitirote A. LeO-Trap®: a novel lethal ovitrap developed from combination of the physically attractive design of the ovitrap with biochemical attractant and larvicide for controlling Aedes aegypti (L.) and Ae. albopictus (Skuse) (Diptera: Culicidae). BJSTR 2019; 21(5): 16183-92.
นภดล สุดสม. การเปลี่ยนแปลงของพารามิเตอร์ประชากรยุงลายบ้านพาหะไข้เลือดออกหลังจากการพ่นฝอยละเอียด ตามแบบมาตรฐานเปรียบเทียบกับวิธีพ่นเคมีตามปกติ เขตเมืองภาคใต้ตอนล่างประเทศไทย [วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต]. สงขลา: คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2559.