การประเมินศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ไอโอดีนในเกลือเสริมไอโอดีน

ผู้แต่ง

  • กิตติมา โสนะมิตร์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ยุพเรศ เอื้อตรงจิตต์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

วิเคราะห์ไอโอดีน, การทดสอบความชำนาญ, เกลือเสริมไอโอดีน

บทคัดย่อ

       การเสริมไอโอดีนในเกลือเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะทำให้มั่นใจว่าคนไทยจะได้รับปริมาณไอโอดีนที่เหมาะสม การควบคุมคุณภาพการผลิตเกลือเสริมไอโอดีนให้มีปริมาณตามกฎหมายกำหนด จำเป็นต้องใช้ผลการตรวจวิเคราะห์จากห้องปฏิบัติการภาครัฐที่มีหน้าที่กำกับดูแล ห้องปฏิบัติการของโรงงานผู้ผลิต และหน่วยตรวจเคลื่อนที่ ซึ่งมีการใช้เทคนิคการตรวจ 3 วิธี คือ Titration, ชุดตรวจพกพา I-Reader และชุดทดสอบ I-Kit ดังนั้น เพื่อประเมินและพัฒนาศักยภาพการตรวจไอโอดีนของห้องปฏิบัติการดังกล่าว จึงจัดโปรแกรมทดสอบความชำนาญการตรวจวิเคราะห์ปริมาณไอโอดีนในเกลือ ซึ่งในปีงบประมาณ 2559 มีจำนวน 2 รอบ ผลการประเมินรอบที่ 1 และ 2 พบว่าผลการตรวจด้วยวิธี Titration มีผลอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจถึงร้อยละ 94.4 และ 100 ส่วนการใช้ I-Reader มีผลอยู่ในเกณฑ์น่าพอใจเพียงร้อยละ 41.4 และ 58.8 สำหรับชุดทดสอบ I-Kit มีผลผ่านเกณฑ์ ร้อยละ 68.9 และ 85.0 ตามลำดับ และได้จัดอบรมให้ความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการตรวจและความสำคัญของการควบคุมคุณภาพแก่สมาชิก เพื่อผลตรวจมีความถูกต้อง และสามารถใช้ในการควบคุมคุณภาพเกลือได้

References

อัญจิรา อัศวนนท์. กู้วิกฤติไอคิวเด็กไทยด้วยเกลือ...เสริมไอโอดีน. นนทบุรี: สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข; 2555.

กองโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2546. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์; 2546.

นภาพรรณ วิริยะอุตสาหกุล, บรรณาธิการ. การควบคุมและป้องกันโรคขาดสารไอโอดีน: เส้นทางสู่ความยั่งยืน. นนทบุรี: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 333 (พ.ศ. 2554) เรื่อง เกลือบริโภค. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 128 ตอนพิเศษ 41 ง (วันที่ 7 เมษายน 2554).

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์เฝ้าระวังปริมาณไอโอดีนในเกลือบริโภค. ใน: 50 เรื่องวิทยาศาสตร์การแพทย์และสาธารณสุขที่ควรรู้. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2559. หน้า 18-19.

Sullivan KM, Houston R, Gorstein J, Cervinskas J, editors. Monitoring universal salt iodization programmes. Ottawa: Micronutrient Initiative; 1995. p. 86-101.

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. รายการชุดอุปกรณ์ I-Reader. (ออนไลน์). 2561; [สืบค้น 15 ก.ย.2562]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://il.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/2018/08/innovative_learning_I-Reader_th.pdf.

สถาบันนวัตกรรมการเรียนรู้ มหาวิทยาลัยมหิดล. ชุดทดสอบไอโอเดทในเกลือเสริมไอโอดีนภาคสนาม (I-KIT). (ออนไลน์). 2561; [สืบค้น 15 ก.ย. 2562]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL : https://il.mahidol.ac.th/th/wp-content/uploads/2018/08/innovative_learning_I-Kit_brochure.pdf.

ISO 13528:2015. Statistical methods for use in proficiency testing by interlaboratory comparison. 2nd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2015.

ครรชิต จุดประสงค์, วิสิฐ จะวะสิต, ปิยณัฐ ศรีดอนไผ่, จันทิมา โพธิ. วิธีการวิเคราะห์ไอโอดีนในเกลือที่เหมาะสมสำหรับสถานประกอบการเกลือขนาดกลางและเล็ก. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2560; 25(2): 235-47.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2020

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)