การตรวจสายพันธุ์ของเชื้อเดงกีด้วยวิธีอณูชีวโมเลกุลที่สถาบันบำราศนราดูร

ผู้แต่ง

  • สุมนมาลย์ อุทยมกุล สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
  • รวี นิธิยานนทกิจ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
  • สุภัทรษา เดชสถิตย์ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
  • ศาริณี เรี่ยวแรง สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
  • ปฐมา สุทธา สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค
  • วิศัลย์ มูลศาสตร์ สถาบันบำราศนราดูร กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

dengue, serotype, molecular testing

บทคัดย่อ

       โรคไข้เลือดออกที่เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus: DENV) เป็นปัญหาสำคัญในประเทศแถบเขตร้อนรวมถึงประเทศไทย สายพันธุ์ไวรัสเดงกีประกอบด้วย 4 serotype (DENV-1 ถึง DENV-4) และมีรายงานพบการแพร่กระจายของ DENV และ Chikungunya virus (CHIKV) ในพื้นที่ที่มีการระบาดของไข้เลือดออก การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจหาสารพันธุกรรมของ DENV และ CHIKV ด้วยวิธี real-time polymerase chain reaction (real-time PCR) ในผู้มารับการรักษาที่สถาบันบำราศนราดูรที่สงสัยไข้เลือดออก ระหว่างปี พ.ศ. 2559-2560 โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่ตรวจพบเกล็ดเลือด ≤100,000 เซลล์/ไมโครลิตร หรือพบผลบวกของ DENV NS1 antigen หรือ anti-DENV IgM จำนวน 100 ราย แบ่งเป็นผู้ใหญ่ 71 ราย และเด็ก 29 ราย ผลตรวจวินิจฉัยการติดเชื้อ DENV และ CHIKV ด้วยวิธี real-time PCR ไม่พบการติดเชื้อ CHIKV แต่พบ DENV 37 ราย ซึ่งเป็นผู้ป่วยที่พักรักษาในโรงพยาบาล 27 ราย (ร้อยละ 73) ผู้ป่วย 18 ราย (ร้อยละ 48.6) มีเกล็ดเลือด <100,000 เซลล์/ไมโครลิตร DENV NS1 antigen ให้ผลบวก 37 ราย (ร้อยละ 100) และพบผลบวก IgM 17 ราย (ร้อยละ 45.9) ผลการตรวจด้วยวิธี real-time PCR พบสายพันธุ์ของ DENV-1 จำนวน 2 ราย (ร้อยละ 5.4) DENV-2 จำนวน 16 ราย (ร้อยละ 43.2) DENV-3 จำนวน 7 ราย (ร้อยละ 18.9) และ DENV-4 จำนวน 12 ราย (ร้อยละ 32.4) จากการศึกษาครั้งนี้พบว่ามีการกระจายของเชื้อไวรัสเดงกีทุกสายพันธุ์และการตรวจหาสายพันธุ์ของเชื้อเดงกีด้วยวิธีอณูชีวโมเลกุลให้ผลวินิจฉัยที่ชัดเจน และสอดคล้องกับผลการตรวจแอนติเจน DENV NS1 การศึกษานี้แสดงว่าการจำแนกสายพันธุ์ด้วยวิธีอณูชีวโมเลกุลมีประโยชน์ต่อการศึกษาความสัมพันธ์ของความหลากหลายของไวรัส และการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันของผู้ติดเชื้อไวรัสเดงกี

References

Gibbons RV, Vaughn DW. Dengue: an escalating problem. BMJ. 2002; 324: 1563–6.

Gubler DJ. Epidemic dengue/dengue hemorrhagic fever as a public health, social and economic problem in the 21st century. Trends Microbiol. 2002; 10: 100–3.

Bhatt S, Gething PW, Brady OJ, Messina JP, Farlow AW, Moyes CL, et al. The global distribution and burden of dengue. Nature 2013; 496: 504-7.

World Health Organization. Dengue: guidelines for diagnosis, treatment, prevention and control. WHO/HTM/NTD/DEN/2009.1. Geneva: World Health Organization; 2009.

Kalayanarooj S, Vangveerawong M, Vatcharasaevee V, editorials. Guidelines for diagnosis and treatment of dengue hemorrhagic fever. Nonthaburi, Thailand: Ministry of Public Health; 2013.

Kauntner I, Robinson MJ, Kuhnle U. Dengue virus infection: epidemiology, pathogenesis, clinical presentation, diagnosis and prevention. J Pediatr 1997; 131: 516-24.

Kim Lien Pham Thi. Epidemiology and dynamic of dengue and chikungunya in several provinces in Vietnam. Microbiology and Parasitology. English: Université Montpellier; 2015.

Sessions OM, Wilm A, Kamaraj US, Choy MM, Chow A, Chong Y, et al. Analysis of dengue virus diversity during human and mosquito infection reveals genetic constraints. PLoS Negl Trop Dis 2015; 9(9): e0004044. (21 p.).

Holmes EC, Twiddy SS. The origin, emergence and evolutionary genetics of dengue virus. Infect Genet Evol 2003; 3: 19-28.

Bureau of Epidemiology, Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual epidemiological surveillance report. Nonthaburi, Thailand: Ministry of Public Health; 1977-1998.

Halstead SB, Yamarat C. Recent epidemics of hemorrhagic fever in Thailand, observations related to pathogenesis of a “new” dengue disease. Am J Public Health Nations Health 1965; 55: 1386-95.

Bureau of Epidermiology, Deparment of Disease Control, Ministry of Public Health. Annual epidemiological surveillance report 2003. Nonthaburi, Thailand: Ministry of Public Health; 2003.

Soo KM, Khalid B, Ching SM, Chee HY. Meta-analysis of dengue severity during infection by different dengue virus serotypes in primary and secondary infections. Plos One 2016; 11(5): e0154760. (16 p.).

Suwanmanee S, Surasombatpattana P, Soonthornworasiri N, Hamel R, Maneekan P, Missé D, et al. Monitoring arbovirus in Thailand: surveillance of dengue, chikungunya and zika virus, with a focus on coinfections. Acta Trop 2018; 188: 244-50.

Liulak W, Saichaer P, Waidab W, Pungjitprapai A, Buranakitsin S, Suntorn-opas B, et al. (2017). Prospective study of dengue in Bangkok during 2015-2016. Southeast Asian J Trop Med Public Health, 2017; 48: 33-38.

Yung CF, Lee KS, Thein TL, Tan LK, Gan VC, Wong JG, et al. Dengue serotype-specific differences in clinical manifestation, laboratory parameters and risk of severe disease in adults, Singapore. Am J Trop Med Hyg 2015; 92(5): 999-1005.

Fried JR, Gibbons RV, Kalayanarooj S, Thomas SJ, Srikiatkhachorn A, Yoon IK, et al. Serotype-specific diffenceces in the risk of dengue hemorrhagic fever: an analysis of data collected in Bangkok, Thailand from 1994 to 2006. PLoS Negl Trop Dis 2010; 4(3): e617. (6 p.).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-01-2022

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)