ระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ของโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ประเทศไทย
คำสำคัญ:
Medical laboratory quality system, The Crown Prince Hospitals, ISO 15189:2012บทคัดย่อ
จากนโยบายยกระดับคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช (รพร.) ทั่วประเทศให้สู่มาตรฐานสากล ISO 15189: 2012 ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2554 ส่งผลให้ห้องปฏิบัติการ รพร. ได้รับการรับรองครบทั้ง 21 แห่งในปี พ.ศ. 2558 และดำเนินการอย่างต่อเนื่องเพื่อการธำรงรักษาระบบคุณภาพห้องปฏิบัติการ และให้ได้รับการรับรองครบทุกรายการทดสอบที่เปิดให้บริการ การศึกษานี้เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาระบบคุณภาพของห้องปฏิบัติการในสองช่วงเวลาโดยวิเคราะห์สิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด จากผลการตรวจประเมินการขอรับรองครั้งแรกเปรียบเทียบกับการต่ออายุการรับรองตามมาตรฐาน ISO 15189:2012 ของห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช จำนวน 21 แห่ง พบว่าจำนวนสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด และข้อบกพร่องไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (t-test, p > 0.05) ขณะที่จำนวนข้อสังเกต มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ (t-test, p < 0.05) และสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่พบมากที่สุด ในการขอรับรองครั้งแรก คือ ข้อ 5.3 เครื่องมือห้องปฏิบัติการ น้ำยาและวัสดุสิ้นเปลือง แตกต่างจากการต่ออายุการรับรองที่ตรวจพบข้อ 5.5 กระบวนการทดสอบ และพบว่าสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดมีจำนวนลดลงขณะที่รายการทดสอบได้รับการรับรองเพิ่มขึ้น นอกจากนี้พบห้องปฏิบัติการมีข้อบกพร่องเกิดซ้ำคิดเป็นร้อยละ 95 (20/21 แห่ง) การศึกษานี้แสดงการพัฒนารูปแบบกลุ่ม เครือข่ายและการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากสิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนด มีส่วนช่วยในการปรับปรุงคุณภาพห้องปฏิบัติการที่ได้รับการรับรองแล้วให้สามารถรักษาระบบคุณภาพอย่างยั่งยืน และพัฒนาสู่เป้าหมายที่กำหนดได้และอาจใช้เป็นต้นแบบการพัฒนาห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลชุมชนของประเทศ
References
ฐิติวัสส์ สุวคนธ์, และคณะ. โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกับการมุ่งสู่ห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ตามมาตรฐานสากล. ว ยุพรัตน์ 2556; 3(1): 110-23.
อมรรัตน์ ทัศนกิจ, และคณะ. เอกสารการประชุมสัมมนาการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช : ความสำเร็จผลการดำเนินงานต่อเนื่อง 4 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554-2557. วันที่ 21-22 กรกฎาคม 2558. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. 4 ปีที่ผ่านมา...ร่วมพัฒนาเพื่อพ่อหลวง. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ; 2558.
อมรรัตน์ ทัศนกิจ. ผลการสำรวจปัญหาและอุปสรรคของการดำเนินงานด้านระบบคุณภาพของเครือข่ายห้องปฏิบัติการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช. นนทบุรี: กลุ่มพัฒนาระบบคุณภาพ สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ; 2559.
สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ. รายงานประจำปี 2560 สำนักมาตรฐานห้องปฏิบัติการ. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2560.
เกณฑ์การแบ่งระดับสถานบริการในสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุขตามระบบ ภูมิศาสตร์สารสนเทศ (Geographic Information System: GIS). [ออนไลน์]. [สืบค้น 1 สิงหาคม 2560]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.thcc.or.th/download/GIS54.pdf.
สุธน วงษ์ชีรี, และคณะบรรณาธิการ. สธ ๑๕๑๘๙:๒๕๕๖ แนวทางการพัฒนาคุณภาพและความสามารถสู่ระดับสากล. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2556.
ISO 15189:2012. Medical laboratories-requirements for quality and competence. 3rd ed. Geneva: International Organization for Standardization; 2012.
ธานินทร์ ศิลป์จารุ. การวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติด้วย SPSS และ AMOS. พิมพ์ครั้งที่ 13. กรุงเทพฯ : บิสซิเนสอาร์แอนด์ดี; 2555.
ฐิติวัฒน์ สุวคนธ์, สุธน วงษ์ชีรี, วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์. สิ่งที่ไม่สอดคล้องกับข้อกำหนดที่พบบ่อยจากการตรวจประเมินครั้งแรกเพื่อขอการรับรองคุณภาพห้องปฏิบัติการทางการแพทย์ ตามมาตรฐาน ISO 15189:2007. ว ยุพรัตน์ 2557; 4(1): 54-67.
Ho B, Ho E. The most common nonconformities encountered during the assessment of medical laboratories in Hong Kong using ISO 15189 as accreditation criteria. Biochem Med 2012; 22(2): 247-57.
CLSI GP29-A. Assessment of laboratory test when proficiency testing is not available. Wayne, PA.: CLSI; 2002.
วสุอนันต์ ทองดี. ผลลัพธ์การพัฒนาระบบคุณภาพ ตามมาตรฐานสากล ISO15189:2012 เครือข่ายห้องปฏิบัติการเทคนิคการแพทย์ โรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ทั้ง 21 แห่ง. ว ยุพรัตน์ 2559; 6(2): 6-33.