ความผิดทางเพศในเขตสุขภาพที่ 10 ปี 2549-2559 : ผลจากห้องปฏิบัติการสุขภาพแม่และเด็ก กลุ่มชันสูตรสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี

ผู้แต่ง

  • จันทร์ฉาย คำแสน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิภาวดี เจียรกุล ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

sexual assault, rape, acid phosphatase test, sperm detection

บทคัดย่อ

       การศึกษาเชิงพรรณนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประมวลลักษณะของผู้เสียหายในคดีความผิดการล่วงละเมิดทางเพศ และความสัมพันธ์ระหว่างผลการวิเคราะห์ทางห้องปฏิบัติการที่จะใช้เป็นหลักฐานในการดำเนินคดีความผิดทางเพศ โดยรวบรวมข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้เสียหาย ระยะเวลาการเก็บตัวอย่าง จากข้อมูลในใบนำส่งตัวอย่างวัตถุพยานในคดีความผิดทางเพศ ระหว่างปี 2549-2559 ของโรงพยาบาลในเขตสุขภาพที่ 10 และผลการตรวจหาเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตส และตัวอสุจิ ณ ห้องปฏิบัติการสุขภาพแม่และเด็ก กลุ่มชันสูตรสาธารณสุข ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 10 อุบลราชธานี ผลการศึกษาในผู้เสียหายทั้งหมดจำนวน 1,577 ราย พบว่าร้อยละ 68.5 มีอายุระหว่าง 10-19 ปี ซึ่งผู้เสียหายมีอายุต่ำสุด 2 ปี และอายุสูงสุด 72 ปี ในจำนวนนี้ร้อยละ 72.16 เป็นโสด และร้อยละ 61.1 ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ผู้เสียหายมีการชำระล้างอวัยวะเพศภายนอกก่อนมาพบแพทย์ร้อยละ 67.4 ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตสในผู้เสียหาย จำนวน 1,180 ราย คิดเป็นร้อยละ 74.82 และพบตัวอสุจิจากการย้อมสี 285 ราย คิดเป็นร้อยละ 18.07 จากการศึกษาสรุปได้ว่าผู้เสียหายในคดีความผิดทางเพศส่วนใหญ่อายุน้อย ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์มาก่อน ผลการตรวจเอนไซม์แอซิดฟอสฟาเตสและการย้อมสีตัวอสุจิมีความสำคัญในการใช้เป็นข้อมูลประกอบการวินิจฉัยคดีความผิดทางเพศของแพทย์

References

ฉัตรสุมน พฤฒิภิญโญ, นิทัศน์ ศิริโชติรัตน์. กระบวนการสอบสวนและหลักฐานคดีความผิดทางเพศ Investigative procedure and evidences in sexual offence cases. ว กระบวนการยุติธรรม 2557; 7(1): 17-33.

กรมสอบสวนคดีพิเศษ. ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ : ระหว่างกรมสอบสวนคดีพิเศษกับสถาบันนิติวิทยาศาสตร์ พ.ศ. 2553. [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 27 ส.ค. 2560]; [7 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.dsi.go.th/Files/Images/img25600419144359-ระเบียบกระทรวงยุติธรรมว่าด้วยการตรวจพิสูจน์พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์.pdf.

Davies A, Wilson E. The persistence of seminal constituents in human vagina. Forensic Sci 1974; 3(1): 45-55.

อัมพร แจ่มสุวรรณ, ณุตตมา ชวาลเวชกุล, จารุวรรณ โชคคณาพิทักษ์. การตรวจหาปฏิกิริยาแอซิดฟอสฟาเตสโดยใช้สารเคมี 2 ชนิด. เวชสารแพทย์ตำรวจ 2534: 17: 105-14.

สถาบันนิติเวชวิทยา. การตรวจทางห้องปฏิบัติการในคดีความผิดทางเพศ. [ออนไลน์]. [สืบค้น 18 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.ifm.go.th/93-articles/dna/131-seminal-fluid.html.

จันทร์ฉาย คำแสน, ขวัญใจ วังคะฮาต, วิภาวดี เจียรกุล. ความผิดทางเพศในเขต 7 ปี 2538-2545 : ผลจากห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ อุบลราชธานี. ว วิชาการสาธารณสุข 2547; 13(2): 333-8.

อัมพร แจ่มสุวรรณ. การล่วงละเมิดทางเพศในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ : ศึกษาจากห้องปฏิบัติการ มหาวิทยาลัยขอนแก่น. สงขลานครินทร์เวชสาร 2544; 19(4): 219-26.

มูลนิธิหญิงชายก้าวไกล. ข่มขืน ไกล่เกลี่ย ยอมความ : เราจะออกจากวังวนนี้ได้อย่างไร? [ออนไลน์]. 2559; [สืบค้น 18 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.ryt9.com/s/tpd/2444109.

ข้อมูลเด็กและสตรีที่ถูกกระทำรุนแรง ปี 2552. [ออนไลน์]. 2552; [สืบค้น 18 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.hiso.or.th/hiso5/questionaire/picture/uploadFile/1389_12_051342_11_49ข้อมูลเด็กและสตรีที่ถูกกระทำ8วามรุนแรงปี2552.xlsx.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดี โดยสถานพินิจฯ พ.ศ. 2556-2558. [ออนไลน์]. [สืบค้น 18 ก.พ. 2560]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://service.nso.go.th/nso/govstat/GR/GR4.html.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)