การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะของประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อรพิณ ทนันขัติ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อังคณา กริชพิทักษ์เงิน สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สุเมธ เที่ยงธรรม สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สรัลนันท์ เผ่าพืชพันธุ์ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • รุ่งทิพย์ เจือตี๋ สำนักยาและวัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

narcotics proficiency testing, assessment of narcotics laboratory

บทคัดย่อ

       กระบวนการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะเป็นขั้นตอนสำคัญในการคัดกรองผู้เสพยาเสพติดเพื่อนำไปสู่การบำบัดรักษา เพื่อให้มั่นใจในผลการทดสอบที่มีความถูกต้อง แม่นยำ และเชื่อถือได้ จึงได้ดำเนินการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะขึ้น ซึ่งประกอบด้วยกิจกรรม 4 เรื่อง คือ การจัดการดำเนินแผนทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการจำนวน 2 แผน คือ แผนการทดสอบเบื้องต้นสารเสพติดในปัสสาวะ และแผนการทดสอบยืนยันสารเสพติดในปัสสาวะ การจัดอบรมการตรวจเยี่ยมห้องปฏิบัติการสมาชิก และการจัดทำคู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ สำหรับการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการนั้น ตัวอย่างทดสอบเป็นสารเสพติดที่มีการแพร่ระบาดในประเทศ ได้แก่ เมทแอมเฟตามีน มอร์ฟีน กัญชา การดำเนินแผนระหว่างตุลาคม 2556 ถึงกันยายน 2559 พบว่าจำนวนห้องปฏิบัติการสมาชิกในแผนการทดสอบเบื้องต้น สารเสพติดในปัสสาวะเพิ่มขึ้นจาก 627 เป็น 689 แห่ง ข้อมูลจากผลการทดสอบความชำนาญห้องปฏิบัติการได้ถูกวิเคราะห์เพื่อจัดหลักสูตรสำหรับให้การอบรมห้องปฏิบัติการสมาชิก รวมทั้งใช้วางแผนการตรวจเยี่ยมเพื่อให้คำแนะนำแก่ห้องปฏิบัติการสมาชิก ซึ่งส่งผลให้ห้องปฏิบัติการสมาชิกพัฒนาความสามารถอย่างต่อเนื่อง ทั้งการขยายขอบข่ายชนิดของสารเสพติดและความถูกต้องของผลการทดสอบ นอกจากนี้ข้อมูลจากการดำเนิน การตลอดระยะเวลา 3 ปี ได้ถูกนำมาใช้จัดทำคู่มือที่เกี่ยวข้อง จำนวน 2 เล่ม เพื่อให้ห้องปฏิบัติการสมาชิกมีศักยภาพในการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะได้อย่างถูกต้องเพิ่มขึ้น

References

สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด. แผนยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด พ.ศ.2558-2562. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 1 เม.ย. 2560]; [127 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.opdc.go.th/uploads/files/2558/att1203.2_v19_58_1.pdf.

ศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดแห่งชาติ. แผนปฏิบัติการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปี 2559. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 1 เม.ย. 2560]; [43 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.lampang.go.th/public58/plan_S_59.pdf.

อัครพล คุรุศาสตรา, อัจฉรา วิไลสกุลยง, บรรณาธิการ. ผลการดำเนินงานการปรับระบบบำบัดฟื้นฟูยาเสพติดของกระทรวงสาธารณสุข (1 ตุลาคม 2559 ถึง 31 พฤษภาคม 2560). นนทบุรี : สำนักบริหารการสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข; 2560.

กิ่งเพชร ชุ่มเจริญ. การนำผู้เสพติดเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูตามประกาศฯ 108/2557. เพื่อนวิทยากร ต.ค. 2558 - ม.ค. 2559; 18(1): 17.

ประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 108/2557 เรื่อง การปฏิบัติต่อผู้ต้องสงสัยว่ากระทำผิดตามกฎหมายเกี่ยวกับยาเสพติดเพื่อเข้าสู่การบำบัดฟื้นฟูและการดูแลผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟู. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 131, ตอนพิเศษ 143 ง (วันที่ 30 กรกฎาคม 2557).

กรมคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม. พระราชบัญญัติฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์คุรุสภา; 2556.

สำนักยาและวัตถุเสพติด. คู่มือและแนวทางการจัดซื้อชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.

ISO 15189:2012. Medical laboratories -- requirements for quality and competence. 3rd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2012.

ISO/IEC 17025:2005. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2005.

ประกาศคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการตรวจหรือทดสอบว่าบุคคลหรือกลุ่มบุคคลใดมีสารเสพติดอยู่ในร่างกายหรือไม่. ราชกิจจานุเบกษา เลม่ 117 ตอนพิเศษ 76 ง. (วันที่ 4 สิงหาคม 2543).

สำนักยาและวัตถุเสพติด. วิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะ เล่มที่ 1. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

สำนักยาและวัตถุเสพติด. คู่มือการทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2559.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชุดทดสอบสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ พ.ศ. 2556. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 147 ง (วันที่ 29 ตุลาคม 2556).

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ชุดทดสอบสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2559. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 221 ง (วันที่ 30 กันยายน 2559).

ผู้จัดการ Online. อย. ยก “ชุดตรวจยาบ้า” เป็นเครื่องมือแพทย์ต้องแจ้งรายการละเอียด เริ่ม 27 เมษายน 2557. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 1 เม.ย. 2560]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9560000149116.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องชุดทดสอบสารเสพติดเมทแอมเฟตามีนในปัสสาวะ (ฉบับที่ 2) 2559. [ออนไลน์]. 2559; [สืบค้น 1 เม.ย. 2560]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: https://medicaldevices.oie.go.th/Article.aspx?aid=6563.

ISO/IEC 17043:2010. Conformity assessment -- general requirements for proficiency testing. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2010.

พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522. ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 135 (พ.ศ. 2539) เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 113, ตอนพิเศษ 23 ง (วันที่ 16 สิงหาคม 2539).

กฎกระทรวงกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขการขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่ายหรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 พ.ศ. 2548. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 122 ตอนที่ 122 ก (วันที่ 22 ธันวาคม 2548).

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ระบุชื่อและประเภทยาเสพติดให้โทษ ฉบับที่ 20 (พ.ศ. 2559). ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 239 ง (วันที่ 18 ตุลาคม 2559).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2018

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)