พาหะนำโรคและอัตราการติดเชื้อโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนจากหนู ณ บริเวณช่องทางเข้าออกประเทศท่าเรือกรุงเทพ

ผู้แต่ง

  • พรชัย เกิดศิริ กรมควบคุมโรค สำนักโรคติดต่อทั่วไป ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ

คำสำคัญ:

flea index, plague, scrub typhus, murine typhus, leptospirosis, Bangkok Port

บทคัดย่อ

       ได้ทำการศึกษาเชิงสำรวจภาคตัดขวาง เพื่อศึกษาชนิด จำนวนของหนูซึ่งเป็นพาหะนำโรค และอัตราการติดเชื้อโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คนจากหนู บริเวณช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ โดยการวางกรงดักหนูที่จุดต่างๆ ในเขตพื้นที่ช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ จำแนกชนิดและเก็บตัวอย่างเลือด ไต ม้าม หัวใจ และปอด เพื่อตรวจหาปรสิตภายในและตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งตรวจหาปรสิตภายนอก พบว่าจากการวางกรงทั้งหมด 130 กรง ได้หนูจำนวน 37 ตัว คิดค่า percent trap success ได้เท่ากับ 28.46 หนูที่ดักได้เป็นหนูท้องขาว (Rattus rattus) ร้อยละ 81.08 และเป็นหนูจี๊ด (Rattus exulans) ร้อยละ 18.92 พบปรสิตภายนอกจำนวน 13 ตัว เป็นหมัดหนูชนิด Xenopsylla cheopis ทุกตัว คิดเป็นค่า Infestation rate เท่ากับ 35.14 ค่าดัชนีหมัดหนูเท่ากับ 1 ไม่พบตัวเต็มวัยของพยาธิปอดหนู (Angiostrongylus sp.) ผลตรวจหาภูมิต้านทานต่อเชื้อริกเกตเซียในตัวอย่างเลือดจากหัวใจของหนูจำนวน 35 ตัวอย่าง ให้ผลบวกร้อยละ 42.86 โดยให้ผลบวกต่อเชื้อ Murine typhus, Scrub typhus และ Tick typhus เป็นร้อยละ 60.0, 40.0 และ 26.67 ตามลำดับ และพบว่าให้ผลบวกต่อเชื้อ 2 ชนิด คือ Murine และ Scrub typhus จำนวน 4 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 26.67 ตัวอย่างเลือดที่ให้ผลบวกและพบว่ามีหมัดหนูจำนวน 7 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.00 ของจำนวนตัวอย่างทั้งหมดที่ส่งตรวจ โดยที่ไม่พบเชื้อเลปโตสไปรา จากค่าดัชนีหมัดหนูดังกล่าวแสดงว่าช่องทางเข้าออกประเทศท่าเรือกรุงเทพไม่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของกาฬโรค แต่การที่พบหนูที่พบเชื้อก่อโรค Murine typhus มีหมัดหนูอาศัยอยู่บนตัวหนูสูงถึงร้อยละ 66.67 นั้นมีโอกาสเสี่ยงสูงในการแพร่กระจายของโรค Murine typhus โดยมีหมัดหนูชนิด Xenopsylla cheopis เป็นพาหะนำโรคได้ ผลการศึกษานี้แนะนำว่าผู้บริหารช่องทางเข้าออกประเทศ ท่าเรือกรุงเทพควรดำเนินมาตรการสำหรับควบคุมหนูและหมัดหนู และติดตามประเมินผลโดยการสำรวจค่าดัชนีหมัดหนูเพื่อประเมินประสิทธิภาพของการดำเนินงาน และควรเฝ้าระวังพาหะนำโรคภายในช่องทางอย่างสม่ำเสมอทุกปี เพื่อให้ได้ข้อมูลสำหรับประเมินความเสี่ยงต่อไป

References

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. กฎอนามัยระหว่างประเทศ พ.ศ. 2548. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2553.

ศูนย์กฎหมาย กรมควบคุมโรค. พระราชบัญญัติโรคติดต่อ พ.ศ. 2558. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2558.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์. แนวทางมาตรฐานการปฏิบัติงานด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศพรมแดน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2554.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์, เสวก นุชจ๋าย. สัตว์รังโรคและแนวทางการสำรวจ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2546.

World Health Organization. Handbook for inspection of ships and issuance of ship sanitation certicificates. France: WHO/HSE/IHR/LYO/2011.3; 2011.

กรมควบคุมโรคติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข. กาฬโรค : โรคติดต่อที่เป็นปัญหาใหม่. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2539.

Gage KL. Chapter 6 plague surveillance. In: World Health Organization. Plague manual epidemiology, distribution, surveillance and control. [Online]. 1999 [cited 2019 Oct 5]; [35 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/csr/resources/publications/plague/whocdscsredc992c.pdf

อัญชนา ประศาสน์วิทย์, ผู้เรียบเรียง. ประกีรณกกาฬโรค. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2553.

ด่านควบคุมโรคติดต่อระหว่างประเทศ ท่าเรือกรุงเทพ. โครงการเฝ้าระวังกาฬโรคในบริเวณท่าเรือกรุงเทพ ประจำปี 2544–2546. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2546.

จิรา แก้วดำ, ปรีชาพล ปึ้งผลพูล, อัญชนา ประศาสน์วิทย์, ภัทร กอมณี. การศึกษาพาหะนำโรคและอัตราการติดเชื้อโรคสัตว์สู่คนที่มีหนูเป็นรังโรค บริเวณพื้นที่ท่าอากาศยานนานาชาติดอนเมือง. วารสารวิชาการสาธารณสุข 2558; 24(1): 132-8.

สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. พาหะนำโรคที่สำคัญและโครงการควบคุมพาหะนำโรคในช่องทางเข้าออกประเทศ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึกในพระบรมราชูปถัมภ์; 2555.

อัญชนา ประศาสน์วิทย์, ดอกรัก ฤทธิ์จีน, สาธิต ศรีธรรมานุสาร, สมหมาย สังข์จะโปะ. การสำรวจทางระบาดวิทยาของโรคพยาธิปอดหนู (Angiostrongyliasis) ในจังหวัดชัยภูมิและจังหวัดมหาสารคาม. นนทบุรี : สำนักโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2541.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-03-2018

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)