ความเข้มสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นและความเสี่ยงต่อสุขภาพ

ผู้แต่ง

  • ยุทธนา บางม่วง สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อริณญา พงศธรพิศุทธิ์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศักดิ์ชัย บุพอังกูร สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Magnetic Flux Density, decorative magnet, refrigerator

บทคัดย่อ

       จากข่าวเผยแพร่ทางเครือข่ายสังคมออนไลน์ (social network) ว่า “แม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นสามารถดูดสารกัมมันตรังสีทำให้อาหารที่แช่ในตู้เย็นเป็นอันตรายต่อมนุษย์เมื่อนำมารับประทาน” ทำให้เกิดคำถามจากประชาชนว่าความเข้มสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็น มีค่ามากน้อยเพียงใดและสามารถดูดสารกัมมันตรังสีได้หรือไม่ จึงได้ทำการวัดความเข้มสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นแบบต่างๆ และวัดปริมาณรังสีภายในและภายนอกตู้เย็น พบว่าความเข้มสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นแบบต่างๆ ที่วัดได้ภายในตู้เย็นลดลงประมาณ 600 เท่า เมื่อวัดที่ผนังประตูด้านในตรงตำแหน่งที่มีแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นได้ค่าเฉลี่ย 0.109 มิลลิเทสลา ซึ่งมีค่าประมาณสองเท่าของค่าพื้นหลังซึ่งวัดได้ค่าเฉลี่ย 0.052 มิลลิเทสลา เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความเข้มสนามแม่เหล็กของตู้เย็นที่บริเวณรอบประตูด้านในมีแม่เหล็กประกอบอยู่ ซึ่งวัดค่าเฉลี่ยได้ 42.97 มิลลิเทสลา พบว่าตัวแม่เหล็กของประตูตู้เย็นมีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กสูงกว่าของแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นเกือบ 400 เท่า และผลการวัดปริมาณรังสีด้านในตู้เย็นและรอบตู้เย็น ได้ค่าในช่วง 0.05 - 0.13 ไมโครซีเวิร์ตต่อชั่วโมง ซึ่งมีค่าเท่ากับค่าพื้นหลังของค่าปริมาณรังสีบนพื้นโลก จากการศึกษาแสดงว่าแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นไม่สามารถดูดสารกัมมันตรังสีได้ และสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นไม่มีผลกับอาหารที่แช่ภายในตู้เย็น จึงอาจกล่าวได้ว่าสนามแม่เหล็กจากแม่เหล็กประดับประตูตู้เย็นไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของประชาชน

References

International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection. The Guidelines on Limits of Exposure to Static Magnetic Fields. Published in Health Phys 96(4):504-514; 2009.

Review of Studies Concerning Electromagnetic Field (EMF) Exposure Assessment in Europe: Low Frequency Fields (50 Hz–100 kHz). [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5036708/

Decorative Magnets on Refrigerators-Cancer Warning Hoax. [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.hoax-slayer.com/refrigerator-door-magnet-warning.shtml#

A comparison of the magnetism of cobalt-, manganese-, and nickel-ferrite nanoparticles. [สืบค้นเมื่อ 1 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://iopscience.iop.org/article/10.1088/1361-6463/aa9d79

Fridge magnets 'can be a killer. [สืบค้นเมื่อ 20 ตุลาคม 2558]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://news.bbc.co.uk/2/hi/health/6160731.stm

Background radiation. [สืบค้นเมื่อ 2 มีนาคม 2561]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://radiopaedia.org/articles/background-radiation

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-03-2018

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)