คุณภาพเครื่องวัดความดันโลหิตของโรงพยาบาล ส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 4

ผู้แต่ง

  • สาธิตา ปานขวัญ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชัยยศ อินทร์ติยะ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

non-invasive sphygmomanometers, maximum permissible errors, air leakage

บทคัดย่อ

       ได้ทำการศึกษาคุณภาพของเครื่องวัดความดันโลหิต ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล เขตสุขภาพที่ 4 จากเครื่องวัดความดันโลหิต จำนวน 2,072 เครื่อง ซึ่งเป็นแบบเชิงกล จำนวน 335 เครื่อง และแบบอัตโนมัติ จำนวน 1,737 เครื่อง ในระหว่างปีงบประมาณ พ.ศ. 2556 - 2559 โดยการทดสอบตามคู่มือการทดสอบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ TP-MMD-01: เครื่องวัดความดันโลหิตของกระทรวงสาธารณสุขซึ่งอ้างอิงจากมาตรฐานสากล การทดสอบค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดันเพื่อดูความแม่นของผลการวัดและการทดสอบอัตราการรั่วของความดันในระบบเพื่อตรวจสอบว่าตัวเครื่องสาย และคัฟมีความเหมาะสมต่อการใช้งานหรือไม่ ผลการสำรวจพบว่า เครื่องวัดความดันโลหิตแบบเชิงกลไม่ผ่านเกณฑ์ค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดัน จำนวน 21 เครื่อง (คิดเป็นร้อยละ 6.3) โดยมีสาเหตุจากปรอทที่อยู่ในหลอดสกปรกหรือรั่วออก ทำให้มีปริมาณน้อยลงจึงทำให้เกิดฟองอากาศ ไม่ผ่านเกณฑ์อัตราการรั่วของความดันในระบบจำนวน 62 เครื่อง (คิดเป็นร้อยละ 18.5) โดยมีสาเหตุจากการชำรุดของอุปกรณ์ประกอบ เช่น สายยาง ลูกยาง คัฟชำรุด เสื่อมสภาพ และไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 หัวข้อในเครื่องเดียว จำนวน 5 เครื่อง (คิดเป็นร้อยละ 1.5) เครื่องวัดความดันโลหิตแบบอัตโนมัติ ไม่ผ่านเกณฑ์ค่าความผิดพลาดสูงสุดของการอ่านค่าความดัน จำนวน 28 เครื่อง (คิดเป็นร้อยละ 1.6) โดยอ่านค่าได้แตกต่างจากค่าอ้างอิงเกิน 4 mmHg ไม่ผ่านเกณฑ์อัตราการรั่วของความดันในระบบ จำนวน 242 เครื่อง
(คิดเป็นร้อยละ 13.9) โดยมีสาเหตุจากท่อลมภายในเครื่องหรือคัฟชำรุดเสื่อมสภาพ และไม่ผ่านเกณฑ์ทั้ง 2 หัวข้อ ในเครื่องเดียว จำนวน 5 เครื่อง (คิดเป็นร้อยละ 0.5) เมื่อทราบสาเหตุที่เครื่องวัดความดันโลหิตไม่ผ่านเกณฑ์มาตรฐานก็จะสามารถทำการเปลี่ยนอะไหล่หรือซ่อมแซมเฉพาะส่วนแล้ว ทำให้เครื่องกลับมามีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานได้ให้ผลการวัดที่น่าเชื่อถือช่วยในการวินิจฉัยและติดตามผลการรักษาโรคได้อย่างแม่นยำ

References

สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2559. กรุงเทพฯ : สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก ในพระบรมราชูปถัมภ์; 2559.

กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือการทดสอบเครื่องมือวัดทางการแพทย์ TP-MMD-01: เครื่องวัดความดันโลหิต. กรุงเทพฯ : บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2559.

OIML R 16-1:2002. Non-invasive mechanical sphygmomanometers. France: Organization Internationale de Metrologie Legale; 2002.

ISO 81060-1:2007. Non-invasive sphygmomanometers -- Part 1: requirements and test methods for non-automated measurement type. Geneva: International Organization for Standardization; 2007.

OIML R 16-2:2002. Non-invasive automated sphygmomanometers. France: Organization Internationale de Metrologie Legale; 2002.

IEC 80601-2-30:2009. Medical electrical equipment --Part 2-30: particular requirements for basic safety and essential performance of automated non-invasive sphygmomanometers. Geneva: International Organization for Standardization; 2009.

รุ้งระวี นาวีเจริญ. ความดันโลหิตสูง เทคนิคควบคุมความดันด้วยตัวเองอย่างได้ผล. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์อมรินทร์สุขภาพ; 2552.

เอกสารการประชุมสัมมนาเรื่อง Seminar on the testing of non-invasive sphygmomanometers. วันที่ 2-6 สิงหาคม 2553. กรุงเทพฯ : สถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี; 2553.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. โรคความดันโลหิตสูงและเครื่องวัดความดันโลหิต. กรุงเทพฯ : บริษัท 1241 มิราคูลัส จำกัด; 2555.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-12-2017

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)