สายพันธุ์เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ที่ระบาดในศูนย์การฝึกอบรมทหารเรือ จังหวัดชลบุรี โดยสาเหตุจากแหล่งน้ำดื่ม

ผู้แต่ง

  • เกรียงศักดิ์ ฤชุศาศวัต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชลธิชา กาวิดำ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ลัดดาวัลย์ เทียมสิงห์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สมชาย แสงกิจพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • นาโอคัชซึ ทาเคดะ สถาบันวิจัยโรคทางจุลชีพ, มหาวิทยาลัยโอซากา, ซุอิตะ, โอซากา 565-0781, ประเทศญี่ปุ่น
  • มาซาซิ ทัชชึมิ สถาบันวิจัยโรคทางจุลชีพ, มหาวิทยาลัยโอซากา, ซุอิตะ, โอซากา 565-0781, ประเทศญี่ปุ่น
  • โคจิ อิชิ ฝ่ายไวรัสวิทยา II, สถาบันวิจัยโรคติดเชื้อแห่งชาติ, โตเกียว 208-0011, ประเทศญี่ปุ่น
  • ลี แทง ซัง ฝ่ายไวรัสวิทยา II, สถาบันวิจัยโรคติดเชื้อแห่งชาติ, โตเกียว 208-0011, ประเทศญี่ปุ่น
  • จงกลนี วงศ์ปิยะบวร ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

คำสำคัญ:

hepatitis A, HAV, molecular epidemiology, phylogenetic analysis deleted drinking water

บทคัดย่อ

       เชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ สามารถติดต่อได้ทางการกิน การดื่ม จากอาหาร หรือน้ำที่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสซึ่งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะในกลุ่มวัยเริ่มทำงาน ได้ทำการตรวจตัวอย่างซีรั่มของผู้ที่มีอาการป่วยสงสัยว่าอาจเกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ จำนวน 388 ตัวอย่าง หลังจากเข้ารับการฝึกอบรมในปี พ.ศ. 2551 ที่ศูนย์การฝึกอบรมทหารเรือ จังหวัดชลบุรี ผลการตรวจด้วยเทคนิคซีโรโลยี พบว่าให้ผลบวกกับแอนติบอดีชนิดไอจีเอ็มต่อไวรัสตับอักเสบ เอ จำนวน 188 ตัวอย่าง โดยที่ไม่พบการบ่งชี้การติดเชื้อเฉียบพลันจากไวรัสตับอักเสบ ซี บี และอี จากนั้นได้สุ่มตัวอย่างซีรั่มที่ให้ผลบวกต่อไวรัสตับอักเสบ เอ จำนวน 45 ตัวอย่าง พร้อมกับตัวอย่างอุจจาระ 48 ตัวอย่าง และตัวอย่างน้ำจากแหล่งน้ำดื่ม 11 ตัวอย่าง นำมาตรวจสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ โดยวิธี reversed-transcriptase polymerase chain reaction (RT-PCR) ในส่วนเชื่อมต่อ VP1/2A (234 เบส) พบว่า ให้ผลบวก 30, 42 และ 1 ตัวอย่าง ตามลำดับ เมื่อวิเคราะห์ลำดับเบสในส่วนเชื่อมต่อ VP1/2A ของเชื้อไวรัสตับอักเสบ เอ ที่ได้จากตัวอย่างแหล่งน้ำดื่ม และตัวอย่างผู้ป่วย พบว่าลำดับเบสของแต่ละตัวอย่างตรงกันทั้งหมด และจัดอยู่ในกลุ่มจีโนทัยป์ 1 เอ (Genotype 1A, GIA) การศึกษานี้แสดงว่าสาเหตุของการระบาดที่ศูนย์การฝึกอบรมทหารเรือครั้งนี้อาจเกิดจากการปนเปื้อนในแหล่งน้ำดื่ม ดังนั้นมาตรการป้องกัน และการตรวจสอบความสะอาดของแหล่งน้ำจึงเป็นสิ่งจำเป็น

References

Ruddy SJ, Johnson RF, Mosley JW, Atwater JB, Rossetti MA, Hart JC. An epidemic of clam-associated hepatitis. JAMA 1969; 208(4): 649-55.

Schiff ER. Atypical clinical manifestations of hepatitis A. Vaccine 1992; 10(Suppl 1): S18-20.

Arankalle VA, Sarada Devi KL, Lole KS, Shenoy KT, Verma V, Haneephabi M. Molecular characterization of hepatitis A virus from a large outbreak from Kerala, India. Indian J Med Res 2006; 123(6): 760-9.

Lee CS, Lee JH, Kwon KS. Outbreak of hepatitis A in Korean military personnel. Jpn J Infect Dis 2008; 61(3): 239-41.

Schwarz NG, Revillion M, Roque-Afonso AM, Dussaix E, Giraud M, Liberpre C, et al. A food-borne outbreak of hepatitis A virus (HAV) infection in a secondary school in Upper Normandy, France, in November 2006. Euro Surveill 2008; 13(22): [5 p.].

Schmid D, Fretz R, Buchner G, Konig C, Perner H, Sollak R, et al. Foodborne outbreak of hepatitis A, November 2007-January 2008, Austria. Eur J Clin Microbiol Infect Dis 2009; 28(4): 385-91.

Lednar WM, Lemon SM, Kirkpatrick JW, Redfield RR, Fields ML, Kelley PW. Frequency of illness associated with epidemic hepatitis A virus infections in adults. Am J Epidemiol 1985; 122(2): 226-33.

Hadler SC. Global impact of hepatitis A virus infection: changing patterns. In: Hollinger FB LS, Margolis HS, editor. Viral hepatitis and liver disease. Baltimore: Williams and Wilkins Press; 1991. p. 14-20.

Costa-Mattioli M, Di Napoli A, Ferre V, Billaudel S, Perez-Bercoff R, Cristina J. Genetic variability of hepatitis A virus. J Gen Virol 2003; 84(Pt 12): 3191-201.

Robertson BH, Khanna B, Nainan OV, Margolis HS. Epidemiologic patterns of wild-type hepatitis A virus determined by genetic variation. J Infect Dis 1991; 163(2): 286-92.

Robertson BH, Jansen RW, Khanna B, Totsuka A, Nainan OV, Siegl G, et al. Genetic relatedness of hepatitis A virus strains recovered from different geographical regions. J Gen Virol 1992; 73(Pt 6): 1365-77.

Wattanasri N, Ruchusatsawat K, Wattanasri S. Phylogenetic analysis of hepatitis A virus in Thailand. J Med Virol 2005; 75(1): 1-7.

Divizia M, De Filippis P, Di Napoli A, Gabrieli R, Santi AL, Pana A. HAV recovery from tap water: evaluation of different types of membranes. Ann Ig 1989; 1(1-2): 57-64.

Ruchusatsawat K, Thiemsing L, Siripanee J, Sawanpanyalert P. Genotypes of hepatitis A virus in Thailand 2002-2006. J Health Sci 2007; 16(6): 934-42.

Yun H, Kim S, Lee H, Byun KS, Kwon SY, Yim HJ, et al. Genetic analysis of HAV strains isolated from patients with acute hepatitis in Korea, 2005-2006. J Med Virol 2008; 80(5): 777-84.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-09-2017

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)