การพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ยาสัตว์ตกค้างกลุ่ม Sulfonamides ในเนื้อสัตว์และตับ โดยเทคนิค HPLC
คำสำคัญ:
Sulfonamides (SAs), animal tissue, liver, HPLC-UVบทคัดย่อ
Sulfonamides (SAs) เป็นกลุ่มยาต้านจุลชีพที่ใช้อย่างกว้างขวางเพื่อยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ก่อโรคทั้งในคนและสัตว์ ทั้งยังมีความจำเป็นในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อเป็นอาหาร การใช้ยาไม่ถูกต้องและไม่เคร่งครัดในการหยุดยาตามระยะเวลาที่กำหนด เป็นสาเหตุของการตกค้างในเนื้อเยื่อของสัตว์ การตกค้างของยาในผลิตภัณฑ์อาหารอาจทำให้ผู้บริโภคเกิดความวิตกกังวลเพราะเป็นภัยต่อระบบภูมิคุ้มกันของคน ทำให้เกิดอาการแพ้ยาหรือเชื้อจุลินทรีย์เกิดการพัฒนานำไปสู่การดื้อยาได้ จึงได้ศึกษาพัฒนาวิธีตรวจวิเคราะห์ยากลุ่ม SAs 9 ชนิด ได้แก่ sulfadiazine (SDZ), sulfathiazole (STZ), sulfapyridine (SPY), sulfamerazine (SMR), sulfadimidine (SMZ), sulfamonomethoxine (SMMX), sulfisoxazole (SFI), sulfamethoxazole (SMX) และ sulfaquinoxaline (SQ) ตกค้างในเนื้อสัตว์และตับสัตว์ โดยใช้เนื้อหมูเป็นตัวแทนในการศึกษา ซึ่ง SAs จะถูกสกัดออกจากตัวอย่างด้วย 80% Ethanol แล้วนำามาผ่าน affinity column ที่มีความจำเพาะต่อ SAs จากนั้นตรวจวัดชนิดและปริมาณโดยเครื่อง HPLC-UV Detector จากการทดสอบความใช้ได้ของวิธี (Method validation) ตามหลักเกณฑ์สากลเพื่อยืนยันวิธีว่าเหมาะสมตรงตามวัตถุประสงค์ ผลทดสอบความถูกต้องของวิธีมีค่า limit of detection เท่ากับ 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และ limit of quantitation เท่ากับ 50 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม มีช่วงการวิเคราะห์ที่ให้ความสัมพันธ์แบบเส้นตรง เท่ากับ 50 - 500 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม โดยมีค่า Pearson correlation of coefficient (r) มากกว่า 0.990 ทำการทดสอบความเที่ยงความแม่นที่ความเข้มข้น 2 ระดับ ระดับละ 10 ซ้ำ พบว่ามีความแม่นอยู่ในช่วง 61 - 106% และค่าความเที่ยง อยู่ในช่วง 2.5 - 15.0% จากการประเมินความชำนาญการตรวจวิเคราะห์ของห้องปฏิบัติการ โดยการเข้าร่วมเปรียบเทียบผลการทดสอบระหว่างห้องปฏิบัติการกับหน่วยงานที่ให้บริการทดสอบความชำนาญที่เชื่อถือได้ทั้งในและต่างประเทศ ผลการทดสอบอยู่ในเกณฑ์ยอมรับ (|z| < 2) แสดงให้เห็นว่าวิธีที่พัฒนาและทดสอบดังกล่าวมีประสิทธิภาพเหมาะสมที่จะนำมาใช้ในการวิเคราะห์ปริมาณยา SAs ทั้ง 9 ชนิด ตกค้างในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์สำหรับการควบคุมคุณภาพอาหารตามกฎหมายได้ เมื่อนำวิธีที่พัฒนามาสำรวจปริมาณการตกค้างของสารกลุ่ม Sulfonamides ในเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาดในกรุงเทพมหานครและภาคเอกชน ในช่วงปี พ.ศ. 2554 - 2558 รวม 386 ตัวอย่าง พบ 25 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 6.5 ชนิด สารที่พบ คือ sulfisoxazole sulfadiazine sulfathiazole sulfamethoxazole sulfadimidine และ sulfaquinoxaline ปริมาณที่ตรวจพบมีค่าระหว่างน้อยกว่า 50 ถึง 1,027 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม
References
Poirier LA, Doerge DR, Gaylor DW, Miller MA, Lorentzen RJ, Casciano DA, et al. An FDA review of sulfamethazine toxicity. Regul Toxicol Pharmacol 1999; 30(3): 217-22.
กำพล ศรีวัฒนกุล และคณะ. คู่มือการใช้ยาฉบับสมบูรณ์. พิมพ์ครั้งที่ 7. ปทุมธานี : บริษัทสกายบุ๊กส์ จำากัด; 2552. หน้า 153-156.
อโนชา อุทัยพัฒน์, นงลักษณ์ สุขวาณิชย์ศิลป์. เภสัชวิทยา เล่ม 2. กรุงเทพฯ : บริษัทไทยมิตรการพิมพ์; 2541. หน้า 1-25, 162-171.
Jawetz E. Sulfonamides & trimethoprim. In: Katzung BG. Basic & clinical pharmacology. 2nd ed. Los Altos, CA: Lange Medical Publications; 1984. p. 554-558.
USP veterinary pharmaceutical information monographs: sulfonamides. [online]. 2003; [cited 2006 Jul 26]. Avaliable from: URL: https://www.usp.org/audiences/veterinary/monographs/main.html.
21 CFR 520.2260a; U.S. national archives and records administration’s. electronic code of federal regulations. [online]. [cited 2006 Jun 21]. Available from: URL: https://www.ecfr.gov.
Huber WG. The impact of antibiotic drugs and their residues. In: Brandly CA, Gornelius C, editors. Advances in veterinary science and comparative medicine. New York: Academic Press; 1971. p. 101-132.
Wilson RC. Antibiotic residues and public health. In: Crawford LM, Franco DA, editors. Animal drugs and human health. USA: Technomic Publishihg; 1994. p. 63-80.
Donoghue DJ. Antibiotic residues in poultry tissue and eggs: human health concerns. Poultry Science. 2003; 82: 618-21.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 303 (พ.ศ. 2550) เรื่องอาหารที่มียาสัตว์ตกค้าง. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 120 ตอนพิเศษ 47ง (ลงวันที่ 23 เมษายน 2546) หน้า 12.
Kao YM, Chang MH, Cheng CC, Chou SS. Chieu-Chen Cheng, Shin-Shou Chou. Multiresidue determination of veterinary drugs in chicken and swine muscles by high-performance liquid chromatography. J Food Drug Anal 2001; 9(2): 84-95.
Li B, Li C, Jiang H, Wang Z, Cao X, Zhao, et al. Purification of nine sulfonamides from chicken tissues by immunoaffinity chromatography using two monoclonal antibodies. J AOAC Int 2008; 91(6): 1488-93.
Eurachem Guide. The fitness for purpose of analytical methods: a laboratory guide to method validation and related topics. United Kingdom: LGC (Teddington) LTd; 1998. p. 61, 5-24.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.
EURACHEM/CITAC Guide. Quantifying uncertainty in analytical measurement. 2nd ed. United Kingdom; 2000.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. แนวปฏิบัติการประมาณค่าความไม่แน่นอนของการวัดทางเคมี. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2550.
Sheth HB, Sporns P. Development of a single ELISA for detection of sulfonamides. J Agric Food Chem 1991; 39(9): 1696-700.
Korsrud GO, Papich MG, Fesser ACE, Salisbury CDC, Macneil JD. Laboratory testing of the charm test II receptor assays and the charm farm test with tissues and fluids form hogs fed sulfamethazine, chlortetracycline, and penicillin G. J Food Prot 1996; 59(2): 161-6.
Ito Y, Oka H, Ikai Y, Matsumoto H, Miyazaki Y, Nagase H. Application of ion-exchange cartridge clean-up in food analysis: V. Simultaneous determination of sulphonamide antibacterials in animal liver and kidney using high-performance liquid chromatography with ultraviolet and mass spectrometric detection. J Chromatogr A 2000; 898(1): 95-102.
Hela W, Brandtner M, Widek R, Schuh R, Determination of sulfonamides in animal tissues using cation exchange reversed phase sorbent for sample cleanup and HPLC-DAD for detection. J Food Chem 2003; 83(4): 601-08.
Salisbury CD, Sweet JC, Munro R. Determination of sulfonamide residues in the tissue of food animals using automated precolumn derivatization and liquid chromatography with fluorescence detection. J AOAC Int 2004; 87(5): 1264-8.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.