การประเมินความเสี่ยงโลหะหนักในปลาและกุ้งจากทะเลสาบสงขลาต่อคนไทย

ผู้แต่ง

  • สุดชฎา ศรประสิทธิ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • กิ่งแก้ว กาญจนรัตน์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อรัญญา อัศวอารีย์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 6 (สงขลา) กรมประมง

คำสำคัญ:

Lead, Cadmium, Mercury, Aquatic animals, Songkhla Lake

บทคัดย่อ

       ทะเลสาบสงขลาเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ แต่ปัญหามลพิษทางน้ำของทะเลสาบสงขลา ทำให้ผู้บริโภคมีความวิตกเรื่องความปลอดภัยจากการบริโภคสัตว์น้ำจากแหล่งนี้ ดังนั้นศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12 สงขลา ร่วมกับศูนย์วิจัยและพัฒนาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำชายฝั่งเขต 6 สงขลา สุ่มเก็บตัวอย่างสัตว์น้ำ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม 2558 รวม 179 ตัวอย่าง ประกอบด้วย ปลา 38 ชนิด รวม 141 ตัวอย่าง และกุ้ง 5 ชนิด รวม 38 ตัวอย่าง วิเคราะห์การปนเปื้อนตะกั่ว และแคดเมียม ด้วย Graphite Furnace Atomic Absorption Spectrophotometer และปรอทด้วย Mercury Analyzer พบอัตราการปนเปื้อนตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ร้อยละ 34.1, 5.6 และ 88.8 ตามลำดับ ปริมาณที่พบในปลาอยู่ในช่วง 0.05 - 0.45, 0.03 - 0.05 และ 0.01 - 1.63 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ส่วนกุ้งพบในช่วง 0.05 - 0.13, 0.03 - 0.21 และ 0.01 - 0.57 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ สัตว์น้ำส่วนใหญ่ (ร้อยละ 98) มีโลหะปนเปื้อนต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ยกเว้น ปลาสลาด ปลาหมอไทย และกุ้งหัวมัน ชนิดละ 1 ตัวอย่าง ปริมาณปรอทปนเปื้อน 1.63, 0.84 และ 0.57 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดให้มีปรอทปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.5 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ถึงแม้ว่าการประเมินความปลอดภัยของการบริโภคสัตว์น้ำที่ปนเปื้อนโลหะหนัก ตะกั่ว แคดเมียม และปรอท ยังอยู่ในระดับที่ปลอดภัย แต่ปริมาณได้รับปรอทจากการบริโภคปลาสูงถึงร้อยละ 82 ของค่าความปลอดภัยและระดับการปนเปื้อนปรอทในปลาค่อนข้างสูงด้วยเช่นกัน ดังนั้นการบริโภคปลาจากทะเลสาบสงขลาอย่างต่อเนื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อผู้บริโภคได้

References

จิราภา อุณหเลขกะ, และคณะ. การศึกษาปริมาณตะกั่ว แคดเมียม ดีบุก และปรอท ที่ปนเปื้อนในหอยแครงและหอยแมลงภู่บริเวณอ่าวไทยตอนใน ปี 2552. วารสารอาหารและยา 2552; 18(2): 15-22.

JECFA. Evaluation of certain food additives and contaminants. Seventy-third report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives, Technical report series 960. Geneva: World Health Organization; 2011.

JECFA. Evaluation of certain food additives and contaminants: Sixty-seventh report of the joint FAO/WHO expert committee on food additives, Technical report series 940. Geneva: World Health Organization, 2007.

จงจิตร์ นีรนาทเมธีกุล. บันทึกทะเลสาบ ผลการศึกษาโครงการขุดลอกร่องน้ำทางเรือเดินในทะเลสาบสงขลา (ร่องใน). วารสารเม็ดทราย 2554; 7(1): 6-7.

สำนักสิ่งแวดล้อมภาคที่ 16. คุณภาพน้ำแหล่งน้ำผิวดินในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่างฝั่งตะวันออก ครั้งที่ 1 ประจำาปีงบประมาณ 2556. [ออนไลน์]. 2558;[สืบค้น 9 ม.ค.2558]; [19 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.reo16.mnre.go.th/reo16/doc_announce/list.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การวิเคราะห์สถิติ : สถิติสำหรับการบริหารและวิจัย พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

Ihnat M., Determination of lead, cadmium, zinc, copper and iron in foods. Atomic absorption spectrophotometry after microwave digestion. In: George W.L., editor. Official Methods of Analysis of AOAC International. 19th ed. Gaithersburg: AOAC International; 2012. AOAC Official Method 999.10, p. 16-19.

Ihnat M., Mercury in fish. In: George W.L., editor. Official Methods of Analysis of AOAC International. 19th ed. Gaithersburg: AOAC International; 2012. AOAC Official Method 974.14, p. 37.

กัลยา วานิชย์บัญชา. การใช้ SPSS for Windows ในการวิเคราะห์ข้อมูล. พิมพ์ครั้งที่ 6. กรุงเทพฯ : คณะพาณิชยศาสตร์และการบัญชี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2547.

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529). ราชกิจจานุเบกษา ฉบับพิเศษ เล่มที่ 103 ตอนที่ 23 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2529).

European Commission Regulation (EC) No. 1881/2006 of 19 December 2006 setting maximum levels for certain contaminants in foodstuffs. Official Journal of the European Union 2006; L 364/5-24.

สำนักมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ. ข้อมูลการบริโภคอาหารของประเทศไทย. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การแห่งประเทศไทย; 2549.

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนล่าง กรมทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. ปลาในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา. กรุงเทพฯ : ไอดีไซน์; 2552.

World Health Organization. Evaluations of the joint FAO/WHO expert committee on food additives (JECFA) LEAD. [online]. 2015; [cited 2015 Jun 11]; [1 screen]. Available from: URL: https://apps.who.intfood-additives-contaminants-jecfa-database/chemical.aspx?chemID=3511

Spry D.J., Wiener J.G. Metal bioavailability and toxicity to fish in low-alkalinity lakes: a critical review. Environ Pollut 1991; 71(2-4): 243-304.

UNEP and WHO. Guidance for identifying populations at risk from mercury exposure. Geneva, Switzerland: Department of Food Safety, Zoonoses and Foodborne Diseases; 2008.

สุฑารัตน์ สุขพันธ์. ปริมาณปรอทในเนื้อเยื่อสัตว์น้ำในทะเลสาบสงขลา. [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดล้อม, คณะบัณฑิตวิทยาลัย. สงขลา : มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2549.

Boischio A.A., Henshel D. Fish consumption, fish lore and mercury pollution-risk communication for the Madeira River people. Environ Res Section A 2000; 84(2): 108-26.

Koli A.K., Sandhu S.S., Whitmore R., Disher A., Lagroon H. Comparative study of cadmium levels of shellfish and Finfish species. Environment international 1980; 4(5-6): 439-41.

Sompongchaiyakul P., Sirinawin W. Arsenic, chromium and mercury in surface sediment of Songkhla Lake system, Thailand. Asian J Water Environ Pollution 2007; 4(1): 17-24.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2017

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)