การทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพต่อผิวหนังสัตว์ทดลอง
คำสำคัญ:
skin irritation test, laboratory animal, health productบทคัดย่อ
การทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้นต่อผิวหนังสัตว์ทดลอง เป็นวิธีทดสอบทั่วไปตามมาตรฐานทีกำหนดใน OECD guideline; ส่วนมาตรฐาน ISO 10993 เป็นวิธีการทดสอบการระคายเคืองในผลิตภัณฑ์เครื่องมือแพทย์ และ มอก.152-2555 เป็นวิธีทดสอบการระคายเคืองในเครื่องสำอาง โดยทุกมาตรฐานใช้กระต่ายพันธุ์นิวซีแลนด์ไวท์ ในการทดสอบจำนวน 3 ตัว กลุ่มสัตว์ทดลอง สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข จึงนำวิธีทดสอบทั้งสามวิธีมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับการทดสอบการระคายเคืองเบื้องต้นของผลิตภัณฑ์สุขภาพ โดยทำการทดสอบตัวอย่างที่ได้รับมาจาก สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ผู้ผลิตสินค้า และหน่วยงานของมหาวิทยาลัย ผ่านทางศูนย์รวมบริการ (One stop service center) ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระหว่างปีงบประมาณ 2555-2557 รวม 173 ตัวอย่าง ซึ่งจำแนกเป็นกลุ่มเครื่องมือแพทย์ 58 ตัวอย่าง (34%) กลุ่มเครื่องสำอาง 86 ตัวอย่าง (50%) กลุ่มวัตถุอันตราย 29 ตัวอย่าง (16%) พบการระคายเคืองของผลิตภัณฑ์ทั้ง 3 กลุ่ม รวม 26 ตัวอย่าง (15%) ซึ่งเป็นตัวอย่าง กลุ่มเครื่องสำอาง กลุ่มวัตถุอันตรายและกลุ่มเครื่องมือแพทย์ จำนวน 18 ตัวอย่าง (10%), 7 ตัวอย่าง (4.6%) และ 1 ตัวอย่าง (0.04%) ตามลำดับ
References
ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 4462 (พ.ศ. 2555) ออกตามความในพระราชบัญญัติมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม พ.ศ. 2511 เรื่อง ยกเลิกและกำหนดมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมเครื่องสำอาง : ข้อกำหนดทั่วไป. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 129 ตอนพิเศษ 185 ง (ลงวันที่ 7 ธันวาคม 2555).
มาตรา 4 : เครื่องมือแพทย์. ใน : พระราชบัญญัติเครื่องมือแพทย์ พ.ศ. 2551. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 125 ตอนที่ 43 ก (ลงวันที่ 5 มีนาคม 2551). หน้า 26.
รายชื่อวัตถุอันตรายในความรับผิดชอบของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 4 พ.ค. 2558]; [40 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.fda.moph.go.th/psiond/download/ailist/update_haz_list_1_8_FDA.pdf
วันทณี ช่วยหาญ และกนกวรรณ จารุกำจร. การทดสอบความเป็นพิษต่อผิวหนังในสัตว์ทดลอง. ว. เภสัชศาสตร์อีสาน 2556; 9(2): 1-11.
วรัญญา บุญชัย. แพ้เครื่องสำอาง. ภาควิชาตจวิทยา คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 4 พ.ค. 2558]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL : https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1093_1.pdf
Molinari J, Eskes C, Andres E, Remoué N, Sá-Rocha VM, Hurtado SP, et al. Improved procedures for in vitro skin irritation testing of sticky and greasy natural botanicals. Toxicol In Vitro 2013; 27(1): 441-50.
Ishii S, Ishii K, Nakadate M, Yamasaki K. Correlation study in skin and eye irritation between rabbits and humans based on published literatures. Food Chem Toxicol 2013; 55: 596-601.
ISO 10993-10:2010, Biological evaluation of medical devices -- Part 10: Tests for irritation and skin sensitization. Geneva: International Organization for Standardization; 2010.
ISO 10993-12:2007, Biological evaluation of medical devices -- Part 12: Sample preparation and reference materials. Geneva: International Organization for Standardization; 2008.
OECD guideline for the testing of chemicals, Acute dermal irritation/corrosion 404. [online]. 2002; [cited 2015 May 4]; [13 screens]. Available from: URL: https://ntp.niehs.nih.gov/iccvam/suppdocs/feddocs/oecd/oecdtg404.pdf
Jinachai N. An evaluation of Asean harmonized cosmetic regulatory scheme implementation in Thailand. Chulalongkorn University. [online]. 2014; [cited 2016 Feb 8]; [3 screens]. Available from: URL: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/45371
อรัญญา คชชาญ. มาตรฐาน AHEEERR: โอกาสและความท้าทายผู้ประกอบการไทย. สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 8 ก.พ. 2559]; [98 หน้า]. เข้าถึงได้ที่ : URL: https://www.itd.or.th/wpcontent/uploads/2015/08/3-PPT-AHEEERR-K.Arunya-K.Sathaporn.pdf
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.