การวัดปริมาณรังสีเฉลี่ยที่ต่อมน้ำนมจากการเอกซเรย์เต้านมในโรงพยาบาลเขตภาคกลางของประเทศไทย
คำสำคัญ:
Entrance Surface Air Kerma, (ESAK), Average Glandular Dose: AGD, mammogramบทคัดย่อ
การวัดปริมาณรังสีที่ผิวผู้ป่วยและปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนมจากการเอกซเรย์เต้านมของโรงพยาบาลภาคกลางของประเทศไทย โดยใช้วิธีของ IAEA ตรวจสอบคุณภาพของเครื่องเอกซเรย์เต้านม ซึ่งประกอบไปด้วย 2 ส่วน คือ ควบคุมคุณภาพของภาพถ่ายรังสี โดยใช้ PMMA Phantom และอุปกรณ์แทนเต้านมมาตรฐาน (ACR mammo Phantom) หนา 4.5 ซม. และอีกส่วนคือการวัดปริมาณรังสีของเครื่องเอกซเรย์เต้านมแต่ละเครื่องหรือ Tube Loading Output ปริมาณรังสีที่ผิว Entrance Skin Air Kerma (ESAK) ในหน่วย mGy/mAs และค่า HVL (half value lever) ความหนาครึ่งค่าของหลอดเอกซเรย์ โดยใช้เครื่องวัดรังสีที่ได้รับการสอบเทียบ ในส่วนของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลบันทึกค่าเทคนิคที่ตั้งถ่ายภาพรังสีเต้านม ระยะจากโฟกัสหลอดเอกซเรย์ถึงฟิล์มหรือตัวรับภาพ และความหนาเต้านมของผู้ป่วย ก็สามารถนำข้อมูลมาคำนวณค่าปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนม Average Glandular Dose (AGD) ผลการดำเนินการการสำรวจปริมาณรังสีค่ากิโลโวลต์ (kVp) ที่ใช้อยู่ในช่วง 25-29 kVp ค่ามิลลิแอมแปร์คูณเวลาในการฉายรังสีอยู่ในช่วง 55-176 mAs และระยะจากโฟกัสของหลอดเอกซเรย์ถึงฟิล์มอยู่ระหว่าง 56-65 เซนติเมตร ในส่วนข้อมูลคนไข้ค่าความหนาเต้านมอยู่ระหว่าง 3.6-6.9 เซนติเมตร อายุระหว่าง 40-60 ปี เมื่อนำข้อมูลมาคำนวณค่าปริมาณรังสีดูดกลืนที่ต่อมน้ำนม หรือ AGD พบว่าเท่ากับ 2.5 mGy ซึ่งไม่เกินค่าที่กำาหนดไว้ของ IAEA ที่ 3 mGy และค่าปริมาณรังสีที่ผิว หรือ ESAK พบว่ามีค่าเท่ากับ 12.9 mGy ซึ่งสูงกว่าค่าที่กำาหนดไว้ของ IAEA ที่ 11 mGy
References
International Atomic Energy Agency. Dosimetry in Diagnostic Radiology: An International Code of Practice. Technical Reports Series No.457. Vienna, Austria: IAEA; 2007.
International Atomic Energy Agency . Quality Assurance Programme for Screen Film Mammagraphy: IAEA Human Health Series No.2. Vienna, Austria: IAEA; 2009.
American Association of Physicists in Medicine. Standardize method for measuring diagnostic x-ray exposures, AAPM Report No.31. New York: American Institute of Physics; 1991.
Dance DR. Monte Carlo calculation of conversion factors for the estimation of mean glandular breast dose. Phys Med Biol 1990; 35: 1211-9.
Kristien Smans, Hilde Bosmans, Ann-Katherine Carton, Mu Xiao, Dose reference values for (digital) mammography Guy Marchal Leuvens Universitair Centrum van Medische Fysica in de Radiologie Universitaire Ziekenhuizen van de KU Leuven