ผลกระทบของการล้างผักซึ่งบริโภคดิบ เพื่อลดสารตกค้างที่มีต่อปริมาณพยาธิปนเปื้อน
คำสำคัญ:
Washing procedures, worm-type parasites, raw vegetablesบทคัดย่อ
ผักสดเป็นอาหารสุขภาพที่อุดมไปด้วยโภชนาการ เป็นแหล่งสำคัญของวิตามิน เส้นใยลดน้ำหนัก และแร่ธาตุต่าง ๆ ผู้ที่ต้องการลดน้ำหนักมักบริโภคผักเป็นอาหารหลัก อย่างไรก็ตามผักสดหากบริโภคดิบอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อพยาธิและเกิดปัญหาต่อสุขภาพเช่นท้องผูก ท้องร่วง ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อและข้อ โลหิตจางได้ ในระหว่างปี พ.ศ. 2556-2557 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โดยสำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร ได้ทำการศึกษาจำนวนพยาธิที่ปนเปื้อนมากับผักสดที่ไม่ได้ล้าง เพื่อเปรียบเทียบกับจำนวนพยาธิในผักที่เก็บตัวอย่างในครั้งเดียวกันที่ผ่านการล้าง 3 วิธี วิธีการล้างที่ศึกษาเป็นวิธีที่แนะนำให้ใช้ในการล้างผักเพื่อลดอันตรายจากสารตกค้าง ได้แก่ การแช่ในน้ำเปล่า การแช่ในส่วนผสมน้ำส้มสายชูเข้มข้นร้อยละ 5 ปริมาตร 15 มิลลิลิตร ต่อ น้ำ 4 ลิตร และการแช่ในน้ำเกลือความเข้มข้น 15 กรัม ต่อ น้ำ 4 ลิตร แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่าอีกครั้ง การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ที่จะแสดงให้เห็นว่าวิธีการล้างผักสดข้างต้นนอกจากจะลดปริมาณสารตกค้างแล้วจะสามารถลดปริมาณพยาธิปนเปื้อนได้ด้วยหรือไม่ โดยได้ทำการศึกษาทดลองในผักสดที่นิยมบริโภคดิบที่ซื้อตัวอย่างจากตลาดสดในกรุงเทพฯ และปริมณฑล จำนวน 8 ชนิดๆ ละ 10 ตัวอย่าง ได้แก่ สะระแหน่ (peppermint), ผักกาดหอม (lettuce), ต้นหอม (spring onion), ใบบัวบก (Centellaasiatica (L.) Urb.) ใบกุยช่าย (garlic-like vegetable), ใบคื่นฉ่าย (celery), ผักชี (coriander) และผักชีฝรั่ง (parsley) การศึกษาจำนวนพยาธิใช้ sedimental technique ผลการศึกษาพบว่าผักที่ไม่ได้ล้างทั้ง 8 ชนิด ตรวจพบพยาธิตัวกลมอิสระ และ 1 จาก 8 ชนิด คือ ใบกุยช่ายที่ตรวจไม่พบไข่พยาธิไส้เดือน (Ascaris spp.) ส่วนผักอีก 7 ชนิดที่ทำการศึกษา พบไข่พยาธิไส้เดือน ผักชีพบไข่พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) และผักชีฝรั่งพบไข่พยาธิตัวตืด (Taenia spp.) เมื่อนำผลการตรวจหาจำนวนพยาธิในผักสดที่ไม่ได้ล้างกับหลังการล้างทั้ง 3 วิธี มาทดสอบด้วยสถิติ The Mann Whitney U ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ได้ค่า P<0.05 และเมื่อทดสอบด้วยสถิติ One – Way ANOVA เพื่อเปรียบเทียบวิธีการล้างผัก 3 วิธี ในผัก 8 ชนิด ที่ศึกษา พบว่า ไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ จึงเป็นการพิสูจน์ด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ว่าการล้างผักเพื่อลดปริมาณสารตกค้างทั้ง 3 วิธี สามารถลดจำนวนพยาธิที่ปนเปื้อนในผักได้จริงและไม่ว่าจะใช้วิธีล้างวิธีใดก็ให้ผลที่ไม่แตกต่างกัน
References
Beuchat LR. Ecological factors influencing survival and growth of human pathogens on raw fruits and vegetables. Microbes Infect 2002; 4(4): 413-23.
Slifko TR, Smith HV, Rose JB. Emerging parasite zoonoses associated with water and food. Int J Parasitol 2000; 30(12-13): 1379-93.
กรมวิชาการเกษตร. ล้างอย่างไรลดสารพิษ. จดหมายข่าวผลิใบ [ออนไลน์]. 2556; [ สืบค้น 28 พฤษภาคม 2558]; [1 หน้า ]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://it.doa.go.th/pibai/pibai/n16/v_9-oct/borkor.html
อเนก หาลี, บุณยกฤต รัตนพันธุ์, วชิระ สิงห์คง. การศึกษาประสิทธิภาพของน้ำยาล้างผักชนิดต่างๆ สำหรับใช้ในท้องถิ่นเพื่อลดปริมาณสารปราบศัตรูพืชในผักคะน้า. วารสารวิจัย มข 2556; 18(4): 577-84.
สมสมัย ปาลกูล. การลดปริมาณสารมีพิษตกค้างใน/บนพุทรา.ข่าวสารวัตถุมีพิษ 2531; 15(4): 156-62.
ภารดี มามีชัย, ดำรงค์ เชี่ยวศิลป์. การสำรวจหนอนพยาธิติดต่อผ่านดินในผักสดในตลาดเขตเทศบาลเมือง จังหวัดนนทบุรี. สารเทคนิคการแพทย์จุฬา 2534; 5(16): 859-67.
ประยงค์ ระดมยศ, อัญชลี ตั้งตรงจิตร, วราห์ มีสมบูรณ์, ชูเกียรติ ศิริวิชยกุล, ฐิติมา วงศาโรจน์, ไพศาล อิ่มพันธ์, และคณะ. ปรสิตวิทยาหนอนพยาธิทางการแพทย์ ทฤษฎีและปฏิบัติการ. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์แห่งประเทศไทย; 2537.
Centers for Disease Control and Prevention. Parasites soil-transmitted helminthes (STHs). [online]. 2013 [cited 2015 May 18]; [1 screen]. Available from: URL: https://www.cdc.gov/parasites/sth/
World Health Organization. Guidelines for drinking-water quality volume 1: recommendations. 3rd ed. [online]. 2008 [cited 2015 June 4]; [668 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/water_sanitation_health/dwq/gdwq3rev/en/
สำนักมาตรฐานสินค้าและระบบคุณภาพ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9001-2513 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีของพืชอาหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
Codex Alimentarius Commission. CAC/RCP 53-2003. Code of hygienic practice for fresh fruits and vegetables. Geneva: FAO/WHO; 2003.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.