การหาปริมาณ Imperatorin ในผลมะตูมด้วยวิธี Ultra Performance Liquid Chromatography (UPLC)

ผู้แต่ง

  • ดวงเพ็ญ ปัทมดิลก สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อภิรักษ์ ศักดิ์เพ็ชร สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พีรธรรม เทียมเทียบรัตน์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • สิริกาญจน์ ธนอริยโรจน์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

บทคัดย่อ

       Imperatorin มีฤทธิ์ทางชีวภาพ เช่น ต้านออกซิเดชัน ต้านเนื้องอก ขยายหลอดเลือด ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด เป็นต้น เป็นสารออกฤทธิ์ชนิดหนึ่งที่พบในผลมะตูม (Aegle marmelos (L.) Corrêa วงศ์ Rutaceae) ซึ่งเป็นสมุนไพรที่มีการใช้ประโยชน์ทั้งทางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ แต่ยังไม่มีวิธีการควบคุมคุณภาพสมุนไพรชนิดนี้ การศึกษานี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณ imperatorin ในผลมะตูมด้วยวิธี Ultra Performance Liquid Chromatography (UPLC) ซึ่งสามารถสรุปวิธีวิเคราะห์ได้ดังนี้ การสกัดตัวอย่างโดยการ relux ผลมะตูม 1 กรัม ใน hexane ปริมาตร 50 มิลลิลิตร เป็นเวลา 30 นาที กรองและนำสารสกัดที่ได้มาระเหยแห้ง จากนั้นละลายกลับและปรับปริมาตรด้วย methanol จนครบ 25 มิลลิลิตร นำสารละลายตัวอย่าง 3 มิลลิลิตร มาวิเคราะห์ด้วยเครื่อง UPLC โดยใช้ BEH C18, 2.1 × 50 มิลลิเมตร, 1.7 ไมโครเมตร และใช้ 60% methanol เป็น mobile phase อัตราการไหล 0.5 มิลลิลิตร/นาที ตรวจวัดด้วย PDA ที่ความยาวคลื่น 302 นาโนเมตร การทดสอบความใช้ได้ของวิธี พบว่า calibration curve มีความเป็นเส้นตรงในช่วงความเข้มข้น 0.0402-0.2414 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร มีค่า coeicient (R2) เท่ากับ 0.999896 ค่า %recovery อยู่ในช่วง 99.43-103.00% ค่า HORRAT ได้เท่ากับ 0.60-0.88 มี LOD และ LOQ เท่ากับ 0.0026 และ 0.0086 มิลลิกรัม/มิลลิลิตร ตามลำดับ ซึ่งแสดงให้เห็นว่า วิธีวิเคราะห์ที่พัฒนาขึ้นนี้มีความเหมาะสม สามารถนำไปใช้เป็นวิธีตรวจวิเคราะห์ปริมาณ imperatorin ในผลมะตูม และสามารถนำไปสู่การกำหนดเกณฑ์ปริมาณสารสำคัญในผลมะตูมต่อไป

References

เต็ม สมิตินันทน์. ชื่อพรรณไม้แห่งประเทศไทย : ชื่อพฤกษศาสตร์-ชื่อพื้นเมือง. กรุงเทพฯ : กรมป่าไม้; 2523. หน้า 8.

นันทวัน บุณยะประภัศร, อรนุช โชคชัยเจริญพร, บรรณาธิการ. สมุนไพรไม้พื้นบ้าน เล่ม 3. กรุงเทพฯ : คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล; 2542. หน้า 570-578.

Piao XL, Park IH, Baek SH, Kim HY, Park MK, Park JH. Antioxidative activity of furanocoumarins isolated from Angelicae dahuricae. J Ethnopharmacol 2004; 93(2-3): 243-6.

Yang LL, Wang MC, Chen LG, Wang CC. Cytotoxic activity of coumarins from the fruits of Cnidium monnieri on leukemia cell lines. Planta Med 2003; 69(12): 1091-5.

He JY, Zhang W, He LC, Cao YX. Imperatorin induces vasodilation possibly via inhibiting voltage dependent calcium channel and receptor-mediated Ca2+ inlux and release. Eur J Pharmacol 2007; 573(1-3): 170-5.

Chen IS, Chang CT, Sheen WS, Teng CM, Tsai IL, Duh CY, et al. Coumarins and antiplatelet aggregation constituents from Formosan Peucedanum japonicum. Phytochemistry 1996; 41(2): 525-30.

Luszczki JJ, Wojda E, Raszewski G, Glowniak K, Czuczwar SJ. Inluence of imperatorin on the anticonvulsant activity and acute adverse efect proile of lamotrigine in maximal electroshock-induced seizures and chimney test in mice. Pharmacol Rep 2008; 60(4): 566-73.

Sancho R, Márquez N, Gómez-Gonzalo M, Calzado MA, Bettoni G, Coiras MT, et al. Imperatorin inhibits HIV-1 replication through an Sp1-dependent pathway. J Biol Chem 2004; 279(36): 37349-59.

Kleiner HE, Reed MJ, DiGiovanni J. Naturally occurring coumarins inhibit human cytochromes P450 and block benzo[a]pyrene and 7, 12-dimethylbenz[a]anthraceae DNA adduct formation in MCF-7 cells. Chem Res Toxicol 2003; 16(3): 415-22.

Polshettiwar SA, Ganjiwale RO, Wadher SJ, Yeol PG. Spectrophotometric estimation of total tannins in some ayurvedic eye drops. Indian J Pharma Sci 2007; 69(4): 574-6.

McDonald S, Prenzler PD, Antolovich M, Robards K. Phenolic content and antioxidant activity of olive extracts. Food Chem 2001; 73: 73-84.

Rajan S, Gokila M, Jency P, Brindha P, Sujatha RK. Antioxidant and phytochemical properties of Aegle marmelos fruit pulp. Int J Curr Pharm Res 2011; 3(2): 65-70.

Chauthe SK, Sharma RJ, Agil F, Gupta RC, Singh IP. Quantitative NMR: an applicable method for quantitative analysis of medicinal plant extracts and herbal products. Phytochem Anal 2012; 23(6): 689-96.

Janarthanan UK, Varadharajan V, Krishnamurthy V. Physicochemical evaluation, phytochemical screening and chromatographic ingerprint proile of Aegle marmelos (L.) leaf extracts. World J Pharm Res 2012;1(3): 813-37.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวปฏิบัติการทดสอบความถูกต้องของวิธีวิเคราะห์ทางเคมีโดยห้องปฏิบัติการเดียว. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2549.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-12-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)