ความปลอดภัยทางจุลชีววิทยาของอาหารพร้อมบริโภคที่จำหน่าย ณ สถานีขนส่งผู้โดยสาร ในเขตกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • กมลวรรณ กันแต่ง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัจฉรา อยู่คง สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • รัชฎาพร สุวรรณรัตน์ สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

ready to eat foods, microbiological safety, bus terminals

บทคัดย่อ

       เพื่อประเมินความปลอดภัยของอาหารทางจุลชีววิทยา ณ สถานีขนส่งที่มีผู้โดยสารจำนวนมาก สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหารได้จัดทำโครงการ “เฝ้าระวังความปลอดภัยอาหาร ณ สถานีขนส่งผู้โดยสารขนาดใหญ่ในเขตกรุงเทพมหานคร” โดยเก็บตัวอย่างอาหารพร้อมบริโภค จำนวนทั้งหมด 459 ตัวอย่าง ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2555 จากสถานที่จำหน่ายอาหารภายในสถานีขนส่งหมอชิต สถานีขนส่งสายใต้ สถานีขนส่งเอกมัย และสถานีรถไฟหัวลำโพง เพื่อตรวจวิเคราะห์ทางจุลชีววิทยา แบ่งเป็นอาหารพร้อมบริโภคในช่วงปีใหม่ จำนวน 226 ตัวอย่าง และช่วงสงกรานต์ จำนวน 233 ตัวอย่าง ตรวจหา Escherichia coli ซึ่งเป็นจุลินทรีย์บ่งชี้สุขลักษณะการผลิตอาหารและจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค Staphylococcus aureus, Salmonella spp., Vibrio cholerae O1/O139, V. parahaemolyticus ผลการตรวจในช่วงปีใหม่พบ E. coli 96 ตัวอย่าง (42.5%), S. aureus 4 ตัวอย่าง (1.8%) และ Salmonella spp. 19 ตัวอย่าง (8.4%) ส่วนช่วงสงกรานต์ตรวจพบ E. coli 108 ตัวอย่าง (46.4%), S. aureus 21 ตัวอย่าง (9.0%) และ Salmonella spp. 17 ตัวอย่าง (7.3%) โดยทั้งสองเทศกาลตรวจไม่พบ V. cholerae O1/O139 และ V. parahaemolyticus เมื่อนำข้อมูลทั้งสองช่วงเทศกาลมาหาความสัมพันธ์ทางสถิติของการตรวจพบและไม่พบจุลินทรีย์ดังกล่าว พบอาหารพร้อมบริโภคในช่วงเทศกาลสงกรานต์พบ S. aureus มากกว่าช่วงเทศกาลปีใหม่อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ส่วน E. coli และ Salmonella spp. ในช่วงเทศกาลทั้งสองพบไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p>0.05) ผลการศึกษานี้ใช้เป็นข้อมูลให้แก่ผู้ประกอบการเพื่อใช้ปรับปรุงสุขลักษณะการผลิตอาหาร และคุ้มครองผู้บริโภคในการเลือกซื้ออาหารที่ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

References

กรมการขนส่งทางบก. ข่าวกรมการขนส่งทางบก. [ออนไลน์]. 2554; [สืบค้น 18 เม.ย. 2557]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://www.dlt.go.th/th/attachments/plan48-51/2603_86-04-54.pdf.

สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 18 เม.ย. 2557]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://thainews.prd.go.th/centerweb/news/NewsDetail?NT01_NewsID=WNSOC5704110020013.

Jones TF, Chapter editor. Chapter 12, Investigation of foodborne and waterborne disease outbreaks. In: Murray PR, Baron EJ, Jorgensen JH, Landry ML, Pfaller MA, editors. Manual of clinical microbiology, Vol 1. 9th ed. Washington, DC: ASM Press; 2007. p. 152-169.

Weitzman I, Cook OD, Massey JP, Chapter editors. Chapter 28, Investigation of foodborne illness outbreaks. In: Downes FP, Ito K, editors. Compendium of methods for the microbiological examination of foods. 4th ed. New York: American Public Health Association (APHA); 2001. p. 257-266.

โรคอาหารเป็นพิษ (Food poisoning). ใน : สำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค. สรุปรายงานการเฝ้าระวังโรคประจำปี 2552. นนทบุรี : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2553. หน้า 117-124.

CAC/RCP 1-1969, Rev.4-2003. Recommended international code of practice general principles of food hygiene. [online]. 2003; [cited 2014 Apr 22]; [31 screens]. Available from: URL: http://www.mhlw.go.jp/english/topics/importedfoods/guideline/dl/04.pdf.

Andrews WH, Hammack TS, Chapter editors. Chapter 17, AOAC official method 2005.03. In: Latimer GW, editor. Official method of analysis of AOAC international. 19th ed. Gaithersburg: AOAC International; 2012. p. 36-39.

Bennett RW, Lancette GA. Chapter 12 “Staphylococcus aureus”. In: Bacteriological analytical manual. [online]. January 2001; [cited 2014 Apr 22]; [7 screens]. Available from: URL: http://www.fda.gov/Food/FoodScienceResearch/LaboratoryMethods/ucm071429.htm.

ISO 6579:2002/Cor.1:2004. Microbiological of food and animal feeding stuffs-Horizontal method for the detection of Salmonella spp. Geneva: International Organization for Standardization; 2004.

ISO/TS 21872-1:2007. Microbiological of food and animal feeding stuffs-Horizontal method for the detection of potentially enteropathogenic Vibrio spp.-Part 1: Detection of Vibrio parahaemolyticus and Vibrio cholerae. Geneva: International Organization for Standardization; 2007.

ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 364 (พ.ศ. 2556) เรื่องมาตรฐานอาหารด้านจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 130 ตอนพิเศษ 148 ง (วันที่ 31 ตุลาคม 2556).

ประกาศกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เรื่อง เกณฑ์คุณภาพทางจุลชีววิทยาของอาหารและภาชนะสัมผัสอาหาร ฉบับที่ 2. [ออนไลน์]. 28 กันยายน 2553; [6 หน้า]. เข้าถึงได้จาก : URL: http://dmsc2.dmsc.moph.go.th/webroot/BQSF/File/VARITY/dmscguideline.pdf.

ทัศนีย์ นุชประยูร, เติมศรี ชำนิจารกิจ, บรรณาธิการ. สถิติในงานวิจัยทางการแพทย์. กรุงเทพฯ : โอ เอส พรินติ้ง เฮ้าส์; 2537. หน้า 85-86, 265.

Isenberg HD, D’Amato RF, Chapter editors. Chapter 4, Indigenous and pathogenic microorganisms of humans. In: Lennette EH, Balows A, Hausler WJ, Shadomy HJ, editors. Manual of clinical microbiology. 4th ed. Washington, DC: American Society for Microbiology; 1985. p. 24-35.

Chapter 23, Staphylococcus gastroenteritis. In: Jay JM, editor. Modern food microbiology. 6th ed. Gaithersburg, Maryland: Aspen Publishers; 2000. p. 441-459.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานประจำปี 2551. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2552.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. รายงานประจำปี 2552. นนทบุรี : กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)