ปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันจากสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุในผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์

ผู้แต่ง

  • ธีรพันธ์ บุตรแผ้ว โรงพยาบาลกระบี่

คำสำคัญ:

Acute allergic-like reaction, Non-ionic iodinated contrast material, Computed tomography

บทคัดย่อ

       การศึกษาปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันจากสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุในผู้ป่วยที่ได้รับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ ผู้ศึกษาได้ทำการศึกษาข้อมูลอัตราการเกิดและความรุนแรงของปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันจากสารทึบรังสี ที่เกิดกับผู้ป่วยที่เข้ารับการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ในโรงพยาบาลกระบี่ ในช่วง เดือน มกราคม 2553 ถึง กันยายน 2557 โดยแบ่งผู้ป่วยเป็นสามกลุ่มตามช่วงอายุ พบว่าผู้ป่วยเข้ารับการตรวจทั้งหมด 5,904 ราย เป็นเพศชาย 3,425 ราย เพศหญิง 2,479 ราย มีผู้ป่วยเกิดปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน จำนวน 24 ราย คิดเป็นร้อยละ 0.4 เป็นเพศชาย 8 ราย คิดเป็นร้อยละ 33.3 เพศหญิง 16 ราย คิดเป็นร้อยละ 66.7 ปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันส่วนใหญ่จะเป็นชนิดเล็กน้อย จำนวน 22 ราย คิดเป็นร้อยละ 91.7 ไม่ปรากฏปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันระดับรุนแรงหรือเสียชีวิต พบว่าอัตราการเกิดปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันในวัยผู้ใหญ่ สูงกว่าวัยเด็กและวัยสูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) เพศหญิงมีอัตราการเกิดปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลันสูงกว่าเพศชายอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p< 0.05) โดยสรุปการตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ร่วมกับการฉีดสารทึบรังสีชนิดไม่แตกตัวเป็นประจุเข้าหลอดเลือดดำพบปฏิกิริยาเสมือนภูมิแพ้ชนิดเฉียบพลัน ในอัตราที่น้อยมาก ส่วนใหญ่อาการอยู่ในระดับเล็กน้อย และค่อนข้างมีความปลอดภัย

References

Brasch RC. Allergic reactions to contrast media: accumulated evidence. AJR 1980; 134(4): 797–801

Bush WH, Swanson DP. Acute reactions to intravascular contrast media: types, risk factors, recognition, and specific treatment. AJR 1991; 157(6): 1153–61.

แสงงาม วงษ์อนุชิตเมธา, รุ่งนภา ทรงสิริพันธุ์, สิริวรรณ หวังวโรดม, สุรีรัตน์ ตั้งสง่าศักดิ์ศรี. Intensive ADR monitoring of radio-contrast medium in Hatyai Hospital. ใน : การประชุมวิชาการงานเฝ้าระวังความปลอดภัยจากการใช้ยาเรื่อง Pharmacovigilance: for Patient Safety. วันที่ 2-3 กรกฎาคม 2551. ณ ห้องแกรนด์ บอลรูม โรงแรม ดิ เอมเมอรัลด์ ถนนรัชดาภิเษก กรุงเทพมหานคร. 2551.

Katayama H, Yamaguchi K, Kozuka T, Takashima T, Seez P, Matsuura K. Adverse reactions to ionic and nonionic contrast media. A report from the Japanese Committee on the Safety of Contrast Media. Radiology 1990; 175(3): 621-8.

Lasser EC, Berry CC, Talner LB, Santini LC, Lang EK, Gerber FH, et al. Pretreatment with corticosteroids to alleviate reactions to intravenous contrast material. N Engl J Med 1987; 317(14): 845-9.

Cutroneo P, Polimeni G, Curcuruto R, Calapai G, Caputi AP. Adverse reactions to contrast media: an analysis from spontaneous reporting data. Pharmacol Res 2007; 56: 35-41.

Namasivayam S, Kalra MK, Torres WE, Small WC. Adverse reactions to intravenous iodinated contrast media: an update. Curr Probl Diagn Radiol 2006; 35(4): 164-9.

Bettmann MA, Morris TW. Recent advances in contrast agents. Radiol Clin North Am 1986; 24(3): 347-57.

Cochran ST, Bomyea K, Sayre JW. Trends in adverse events after IV administration of contrast media. AJR 2001; 176(6): 1385-8.

Bettmann MA, Holzer JF, Trombly ST. Risk management issues related to the use of contrast agents. Radiology 1990; 175(3): 629-31.

Dillman JR, Strouse PJ, Ellis JH, Cohan RH, Jan SC. Incidence and severity of acute allergic-like reaction of IV nonionic iodinated contrast material in children. AJR 2007; 188(6): 1643-7.

Almen T. The etiology of contrast medium reactions. Invest Radiol 1994; 29(suppl 1): S37-45.

Gooding CA, Berdon WE, Brodeur AE, Rowen M. Adverse reactions to intravenous pyelography in children. AJR 1975; 123(3): 802-4.

Mortelé KJ, Olivia MR, Ondategui S, Ros PR, Silverman SG. Universal use of nonionic iodinated contrast medium for CT: evaluation of safety in a large urban teaching hospital. AJR 2005; 184: 31-4.

Lang DM, Alpern MD, Visintainer PF, Smith ST. Gender risk for anaphylactoid reaction to radiographic contrast media. J Allergy Clin Immunol 1995; 95(4): 813-7.

Yocum MW, Khan DA. Assessment of patients who have experienced anaphylaxis: a 3-year survey. Mayo Clin Proc 1994; 69: 16-23.

Stark BJ, Sullivan TJ. Biphasic and protracted anaphylaxis. J Allery Clin Immunol 1986; 78: 76-83.

Wong S, Dykewicz MS, Patterson R. Idiopathic anaphylaxis: a clinical summary of 175 patients. Arch Intern Med 1990; 150(6): 1323-8.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)