การพัฒนาแผ่นแปะผิวหนังจากสมุนไพรบัวบก

ผู้แต่ง

  • พรศรี ประเสริฐวารี สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาสตร์การแพทย์
  • จิรานุช มิ่งเมือง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • เสาวณีย์ ทองดี สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ศักดิ์วิชัย อ่อนทอง สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ณุฉัตรา จันทร์สุวานิชย์ สถาบันวิจัยสมุนไพร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Transdermal Patch, Centella asiatica (L.) Urban, Franz’s Diffusion Cell

บทคัดย่อ

       บัวบก เป็นสมุนไพรที่มีการนำมาใช้เป็นยา เครื่องสำอาง อาหารเสริม และผลิตภัณฑ์สุขภาพ สารสกัดบัวบกมีฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา ได้แก่ ฤทธิ์สมานแผล ลดการเกิดคีลอยด์ และฤทธิ์ต้านจุลชีพ การนำส่งยาสู่ผิวหนังเป็นการพัฒนาเภสัชภัณฑ์ในรูปแผ่นแปะที่ออกฤทธิ์ได้นาน เพื่อลดความถี่ในการใช้ สะดวกในการบริบาลทางเภสัชกรรม โดยแผ่นแปะผิวหนังที่เตรียมเพื่อศึกษาในครั้งนี้ประกอบด้วยชั้น backing และชั้น adhesive ที่มีการเติมสารสกัดสมุนไพร ศึกษาความแตกต่างของพอลิเมอร์ เช่น ethyl cellulose (EC), eudragit E 100, eudragit NE 30 D และ hydroxypropyl methyl cellulose ในความเข้มข้นต่างๆ กัน (1.0%, 2.0% และ 3.0% w/v) สำหรับชั้น backing และชั้น adhesive รวมทั้ง plasticizer 2 ชนิด คือ triacetin และ dibutyl phathalate (DBP) จากการศึกษาพบว่า EC 2.0% และ triacetin 30% เป็นพอลิเมอร์ที่เหมาะสมในการเตรียมแผ่นแปะในชั้น backing ซึ่งแผ่นแปะผิวหนังที่ได้มีความใส ยืดหยุ่น และแข็งแรง โดยเครื่องทดสอบแรงดึง (Tensile Tester) และมีความพรุนน้อย เมื่อส่องด้วยกล้อง Scanning Electron Microscope (SEM) แผ่นแปะชั้น adhesive พอลิเมอร์ที่เหมาะสมคือ eudragit NE 30 D 6.0% และ DBP 0.5% เมื่อทดสอบการซึมผ่านของแผ่นแปะสมุนไพรด้วย Franz’s Diffusion Cell การวิเคราะห์ปริมาณสารสำคัญที่ซึมผ่านแผ่นแปะสมุนไพรด้วยวิธี HPLC พบว่ามีปริมาณ madecassoside และ asiaticoside ซึมผ่าน คิดเป็น 41.2% และ 94.7% ตามลำดับ ผลจากการศึกษานี้สามารถใช้เป็นข้อมูลในการนำสมุนไพรมาพัฒนาในรูปแบบนำส่งยาผ่านผิวหนังใหม่ ๆ สำหรับในผู้ป่วยแผลกดทับ

References

ปราณีต โอปณะโสภิต. ระบบนำส่งยา. พิมพ์ครั้งที่ 3. นครปฐม: คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร; 2557.

จิรานุช มิ่งเมือง, จารีย์ บันสิทธิ์, ประไพ วงศ์สินคงมั่น, อัศวชัย ช่วยพรม, ธิดารัตน์ บุญรอด. ข้อกำหนดคุณภาพทางเคมีของสารสกัดด้วยน้ำของบัวบก. วารสารการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก. 2551; 6(2) ฉบับเสริม: 73.

Hong SS, Kim JH, Li H, Shim CK. Advanced formulation and pharmacological activity of hydrogel of the titrated extract of C. asiatica. Arch Pharm Res 2005; 28(4): 502-8.

Shetty BS, Udupa SL, Udupa AL, Somayaji SN. Effect of Centella asiatica L (Umbelliferae) on normal and dexamethasone-suppressed wound healing in Wistar Albino rats. Int J Low Extrem. Wounds 2006; 5(3): 137-43.

Health Concerns. Wound healing: an online reference. [online]. [8 screens]. Available from: URL: http://www.lef.org/protocols/prtcl-111.shtml

Chatterjee TK, Chakraborty A, Pathak M, Sengupta GC. Effects of plant extract Centella asiatica (Linn.) on cold restraint stress ulcer in rats. Indian J Exp Biol 1992; 30(10): 889-91.

Tschesche R, Wulff G. Über die antimikrobielle Wirksamkeit von Saponinen. Z Naturforschg 1965; 20b: 543-546.

Williams AC. Transdermal and topical drug delivery. London: The Royal Pharmaceutical Society of Great Britain; 2003. p. 1-13.

Flynn GL. Cutaneous and transdermal delivery: processes and systems of delivery. In: Banker GS, Rhodes CT, editors. Modern Pharmaceutics. Drugs and the pharmaceutical sciences vol. 72. New York: Marcel Dekker; 1995. p. 239-298.

Hedge IC, Lamond JM. Umbelliferae (apiaceae). In: Flora of Thailand vol. 5 part 4. Bangkok: Chutima Press; 1992. p. 447-448.

Suwannachote K, Rittidej GC. Development of transdermal patch comprising Centella asiatica extract. Adv Mater Res 2010; 93-94: 389-92.

จิตรลดา วรรณอารยันชัย, กุลวรรณ ศรีสุวนันท์, โมเรศ ศรีบ้านไผ่, การพัฒนาสูตรตำรับยา Diclofenac ในรูปแบบแผ่นแปะผิวหนัง. กรุงเทพฯ : ภาควิชาอุตสาหกรรม คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย; 2546.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)