ชีววิทยาของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกและซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีในวงจรการเกิดโรคในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • อุษาวดี ถาวระ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พายุ ภักดีนวน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อภิวัฏ ธวัชสิน สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จักรวาล ชมภูศรี สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ชญาดา ขำสวัสดิ์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ยุทธนา ภู่ทรัพย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อัจฉรา ภูมี คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • เผด็จ สิริยะเสถียร คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยำลัย
  • สมชาย แสงกิจพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Aedes aegypti, Aedes albopictus, Biology, Dengue infection rate

บทคัดย่อ

       คณะผู้วิจัยได้ออกสำรวจและเก็บตัวอย่างยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Ae. albopictus) จากภาคต่างๆ ของประเทศไทย เพื่อนำมาตรวจวิเคราะห์การติดเชื้อไวรัสเดงกีซีโรทัยป์ต่างๆ รวมถึงศึกษาข้อมูลด้านชีววิทยาที่เกี่ยวข้องกับการเกิดโรคไข้เลือดออกของยุงพาหะทั้งสองชนิดดังกล่าว ผลการสำรวจในพื้นที่ 25 จังหวัดของประเทศไทยพบยุงพาหะทั้งสองชนิดได้ในทุกจังหวัด โดยพบยุงลายบ้านได้จนถึงระดับความสูง 1,509 เมตรเหนือระดับน้ำทะเล ในขณะที่ยุงลายสวนพบได้จนถึงระดับความสูง 1,928 เมตร ทั้งนี้พบว่ายุงทั้งสองชนิดมีนิสัยชอบกัดดูดเลือดคนต่างไปจากเดิมโดยเริ่มกัดตั้งแต่เช้ามืดจนถึงพลบค่ำ นอกจากนี้ยังพบอีกว่ายุงทั้งสองชนิดออกหากินในเวลากลางคืนอีกด้วย ผลการศึกษาอัตราการกัดของยุงทั้งสองชนิดพบว่ายุงลายบ้านมีอัตราการกัดสูงสุดในฤดูร้อน ในขณะที่ยุงลายสวนมีอัตราการกัดสูงสุดในฤดูหนาว และจากการศึกษาอัตราการติดเชื้อของยุงพาหะในธรรมชาติ โดยตรวจหาเชื้อไวรัสเดงกีในยุงทั้งสองชนิดที่จับได้ในพื้นที่วิจัยทั้ง 25 จังหวัดด้วยเทคนิค semi-nested RT-PCR ผลพบเชื้อไวรัสเดงกีทั้ง 4 ซีโรทัยป์ ในยุงทั้งสองชนิดที่จับได้ในพื้นที่วิจัย ได้แก่ DEN-1, DEN-2, DEN-3 และ DEN-4 โดยที่อัตราการพบเชื้อไวรัสเดงกีแต่ละซีโรทัยป์ในยุงลายบ้านและยุงลายสวนแตกต่างกันในแต่ละจังหวัด ทั้งนี้่ยุงลายบ้านมีอัตราการติดเชื้อไวรัสเดงกีสูงกว่ายุงลายสวน ค่าสูงที่สุดพบในภาคใต้เท่ากับร้อยละ 37.75 ในยุงลายบ้าน ขณะที่ค่าสูงสุดในยุงลายสวนพบในภาคใต้เช่นกันเท่ากับร้อยละ 24.2 นอกจากนี้ยังตรวจพบเชื้อไวรัสเดงกีในลูกน้ำยุงและยุงเพศผู้แสดงว่ามีการถ่ายทอดเชื้อจากยุงรุ่นแม่ไปสู่รุ่นลูก ทำให้เกิดวัฏจักรการติดเชื้อของยุงในธรรมชาติ และพบว่ามีเชื้อไวรัสเดงกีสองซีโรทัยป์ ภายในยุงตัวเดียวกันอีกด้วย ซึ่งพบทั้งในยุงลายบ้านและยุงลายสวน ปรากฏการณ์นี้บ่งบอกว่าพื้นที่ที่พบนั้นๆ มีความเสี่ยงต่อการระบาดของโรคไข้เลือดออก เนื่องจากยังคงมีเชื้ออยู่ในยุงพาหะ จำเป็นต้องแนะนำให้ประชาชนป้องกันตนเองจากการถูกยุงกัดและกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุง

References

Gubler DJ. Dengue and dengue hemorrhagic fever. Clin Microbiol Rev 1998; 11(3): 480-96.

Strickman D, Kittayapong P. Dengue and its vectors in Thailand: introduction to the study and seasonal distribution of Aedes larvae.Am J Trop Med Hyg 2002; 67(3): 247-59.

Gubler DJ. Epidemic dengue/dengue hemorrhagic fever as a public health, social and economic problem in the 21st century. Trends Microbiol 2002; 10(2): 100-3.

Capeding MR, Tran NH, Hadinegoro SR, Ismail HI, Chotpitayasunondh T, Chua MN, et al. Clinical efficacy and safety of a novel tetravalent dengue vaccine in healthy children in Asia: a phase 3, randomised, observer-masked, placebo-controlled trial. Lancet 2014; 384(9951): 1358-65.

ตวงพร ศรีสวัสดิ์, ชัยวัฒน์ วาสะศิริ, บรรณาธิการ. คู่มือการป้องกันและควบคุมโรคไข้เลือดออกสำหรับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. นนทบุรี : กลุ่มโรคไข้เลือดออก สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กระทรวงสาธารณสุข; 2551.

Arunachalam N, Tana S, Espino F, Kittayapong P, Abeyewickreme W, Wai KT, et al. Eco-bio-social determinants of dengue vector breeding: a multicountry study in urban and periurban Asia. Bull World Health Organ 2010; 88(3): 173-84.

Rueda LM. Pictorial keys for the identification of mosquitoes (Diptera: Culicidae) associated with dengue virus transmission. Zootaxa 2004; 589: 1-60.

Lanciotti RS, Calisher CH, Gubler DJ, Chang GJ, Vorndam AV. Rapid detection and typing of dengue viruses from clinical samples by using reverse transcriptase-polymerase chain reaction. J Clin Microbiol 1992, 30(3): 545-51.

Thavara U, Tawatsin A, Pengsakul T, Bhakdeenuan P, Chanama S, Anantapreecha S, et al. Outbreak of chikungunya fever in Thailand and virus detection in field population of vector mosquitoes, Aedes aegypti (L.) and Aedes albopictus Skuse (Diptera: Culicidae). Southeast Asian J Trop Med Public Health 2009; 40(5): 951-62.

Thavara U, Tawatsin A, Chansang C, Kong-ngamsuk W, Paosriwong S, Boon-Long J, et al. Larval occurrence, oviposition behavior and biting activity of potential mosquito vectors of dengue on Samui Island, Thaland. J Vector Ecol 2001; 26(2): 172-80.

Wongkoon S, Jaroensutasinee M, Jaroensutasinee K. Climatic variability and dengue virus transmission in Chiang Rai, Thailand. Biomedica 2011; 27: 5-13.

Wang WK, Chao DY, Lin SR, King CC, Chang SC. Concurrent infections of two dengue virus serotypes among dengue patients in Taiwan. J Microbiol Immunol Infect 2003; 36(2): 89-95.

Thavara U, Siriyasatien P, Tawatsin A, Asavadachanukorn P, Anantapreecha S, Wongwanich R, et al. Double infection of heteroserotypes of dengue viruses in field populations of Aedes aegypti (L.) and Aedes albopictus (Diptera: Culicidae) and serological features of dengue viruses found in patients in southern Thailand. Southeast Asian J Trop Med Public Health 2006; 37(3): 468-76.

Chompoosri J, Thavara U, Tawatsin A, Anantapreecha S, Siriyasatien P. Seasonal monitoring of dengue infection in Aedes aegypti and serological feature of patients with suspected dengue in 4 central provinces of Thailand. Thai J Vet Med 2012; 42(2): 185-93.

Watts DM, Burke DS, Harrison BA, Whitmire RE, Nisalak A. Effect of temperature on the vector efficiency of Aedes aegypti for dengue 2 virus. Am J Trop Med Hyg 1987; 36(1): 143-52.

Russell RC. Mosquito-borne arboviruses in Australia: the current scene and implications of climate change for human health. Int J Parasitol 1998; 28(6): 955-69.

Karim MN, Munshi SU, Anwar N, Alam MS. Climatic factors influencing dengue cases in Dhaka city: a model for dengue prediction. Indian J Med Res 2012; 136(1): 32-9.

Reiter P. Climate change and mosquito-borne disease. Environ Health Perspect 2001; 109(Suppl 1): 141-61.

Yasuno M, Tonn RJ. A study of biting habits of Aedes aegypti in Bangkok, Thailand. Bull World Health Organ 1970; 43(2): 319-25.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2015

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)