การสำรวจสิ่งแปลกปลอมในพริกแห้ง
คำสำคัญ:
สิ่งแปลกปลอม, สิ่งแปลกปลอมน้ำหนักเบา, พริกแห้งบทคัดย่อ
พริกเป็นเครื่องเทศที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมแปรรูปอาหารและยา และทำเป็นพริกป่นเพื่อเพิ่มรสชาติอาหารซึ่งอาจพบสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนในผลิตภัณฑ์ได้ เพื่อเป็นการวิเคราะห์คุณภาพพริกแห้งที่จำหน่ายในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลทั้งที่ผลิตในประเทศและนำเข้าจากต่างประเทศ จึงได้ตรวจหาสิ่งแปลกปลอมในตัวอย่างพริกแห้งจำนวน 81 ตัวอย่าง แบ่งเป็นตัวอย่างพริกป่นตักแบ่ง พริกป่นซอง และพริกเม็ดจำนวน 31, 30 และ 20 ตัวอย่าง ตามลำดับ จากการตรวจด้วยตาเปล่า พบมอดแป้ง (Tribolium spp.) มีชีวิตในพริกป่นตักแบ่ง จำนวน 1 ตัวอย่าง (ร้อยละ 1.24) และเมื่อตรวจภายใต้กล้องจุลทรรศน์พบตัวอย่างที่ไม่ผ่านเกณฑ์ Defect Action Levels ของ US FDA คือ พบชิ้นส่วนแมลงมากกว่า 50 ชิ้นในพริกป่นตักแบ่งพริกป่นซอง และพริกเม็ดจำนวน 12, 13 และ 10 ตัวอย่าง (ร้อยละ 38.71, 43.33 และ 50.00) ตามลำดับ และขนหนูมากกว่า 6 เส้น ในพริกป่นตักแบ่งและพริกป่นซองจำนวน 5 และ 4 ตัวอย่าง (ร้อยละ 16.13 และ 13.33) ตามลำดับ ข้อมูลจากการสำรวจบ่งชี้ว่าผู้ผลิตควรปรับปรุงกระบวนการผลิต ควบคุมคุณภาพวัตถุดิบ การรักษาความสะอาดบริเวณผลิต และระบบป้องกันแมลงและสัตว์ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น เพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพดี
References
มกษ. 3004 - 2560. มาตรฐานสินค้าเกษตรพริกป่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2560
มอก. 456 - 2526. มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมพริกแห้ง. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม; 2526.
มผช. 492/2547. มาตรฐานผลิตภัณฑ์ชุมชนพริกป่น. กรุงเทพฯ: สำนักงานมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมกระทรวงอุตสาหกรรม; 2547.
Food defect action levels: levels of natural or unavoidable defects in foods that present no health hazards for humans. Washington, DC: Food and Drug Administration, Center for Food Safety and Applied Nutrition; 1995.
รุ่งนภา โบวิเชียร. พื้นที่เก็บเกี่ยวพริกของประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 21 พ.ย. 2560]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.agriman.doae.go.th/home/news/year%202017/022_chilli.pdf.
กมล เลิศรัตน์. การผลิต การปลูก การแปรรูป และการตลาดของพริกและผลิตภัณฑ์พริกในประเทศไทย. ประชาคมวิจัย. [ออนไลน์]. 2550; [สืบค้น 6 มิ.ย. 2563]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://rescom.trf.or.th/display/keydefault.aspx?id_colum=1936.
Chapter V - 8: spices, condiments, flavors, and crude drugs. In: FDA technical bulletin number 5. Macroanalytical procedures manual. Washington, DC: U.S. Food and Drug Administration; 1994. p. 32.
Gentry JW, Harris KL. Microanalytical entomology for food sanitation control. Florida: Litho Graphics Altamonte Springs; 1991.
Whitlock LL, Chapter editior. Chapter 16, Extraneous materials: isolation. In: Latimer GW, editor. Official method of analysis of AOAC International. 20 th ed. Maryland: AOAC International; 2016. p. 1 - 5, 48.
ทัสสนี นุชประยูร, เติมศรี ชำนิจารกิจ, บรรณาธิการ. สถิติในวิจัยทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: โอ เอส พรินติ้ง เฮาส์; 2537. หน้า 85 - 86, 265.
พรทิพย์ วิสารทานนท์, อัจฉรา เพชรโชติ. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง แมลงศัตรูผลิตผลเกษตรและแมลงศัตรูธรรมชาติ. วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.
ใจทิพย์ อุไรชื่น. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง การป้องกันกำจัดแมลงศัตรูผลิตผลเกษตรโดยไม่ใช้สารฆ่าแมลง. วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตรกระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.
พลอยชมพู กรวิภาสเรือง. เอกสารประกอบการฝึกอบรมหลักสูตรการควบคุมศัตรูผลิตผลเกษตร เรื่อง ไรศัตรูผลิตผลเกษตร. วันที่ 9 - 11 กรกฎาคม 2551. กรุงเทพฯ: กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์; 2551.