ความชุกของแอนติบอดีที่พบไม่บ่อยในหญิงคลอดบุตรของโรงพยาบาลสงขลานครินทร์

ผู้แต่ง

  • เปรมจิต ทั่งตระกูล ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • ดารินต์ณัฏ บัวทอง คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • ทนงศักดิ์ ยีละ ภาควิชาพยาธิวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา
  • ธีรกมล เพ็งสกุล คณะเทคนิคการแพทย์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สงขลา

คำสำคัญ:

การตรวจกรองแอนติบอดี, เอบีโอ, อาร์เอช ดี, แอนติบอดีที่พบไม่บ่อย

บทคัดย่อ

       การจัดหาเลือดที่ปลอดภัย ต้องจัดหาเลือดที่ไม่มีแอนติเจนต่อแอนติบอดีที่มีในผู้ป่วย การตรวจหมู่เลือดระบบ ABO, Rh D, การตรวจกรองแอนติบอดีและการแยกชนิดแอนติบอดีในผู้ป่วยมีความสำคัญในการเตรียมเลือด จึงได้ทำการศึกษาเพื่อตรวจหาความชุกของแอนติบอดีที่พบไม่บ่อยนอกเหนือจากหมู่เลือดระบบ ABO ในหญิงคลอดบุตรที่โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ ระหว่างเดือนมกราคม 2556 ถึง ตุลาคม 2561 จำนวน 19,450 ราย พบผลการตรวจกรองแอนติบอดีที่พบไม่บ่อยจำนวน 244 ราย (ร้อยละ 1.3) โดยช่วงอายุที่พบมากสุดอยู่ระหว่าง 26-30 ปี ในกลุ่มนี้หมู่เลือดในระบบ ABO ที่พบมาก คือ หมู่เลือด O (ร้อยละ 34.0) และร้อยละ 9.4 เป็น Rh D ลบ สำหรับแอนติบอดีที่พบไม่บ่อยที่พบมากสุด ชนิด IgM คือ anti-Lewis (anti-Lea, anti-Leb และ anti-Lea+b ) ร้อยละ 32.4, และ ชนิด IgG คือ anti-E ร้อยละ 15.2 ผลการศึกษาชี้ให้เห็นว่าการตรวจกรองแอนติบอดีเป็นบวก ซึ่งมีทั้งแอนติบอดีชนิด IgG และ IgM ทำให้แพทย์สามารถเฝ้าระวังภาวะเม็ดเลือดแดงแตกในทารกแรกเกิด ซึ่งจะทำให้มีการวางแผนการรักษาได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

References

Suresh B, Babu KVS, Arun R, Jothibai DS, Bharathi T. Prevalence “unexpected antibodies” in the antenatal women attending the Government Maternity Hospital, Tirupati. J Clin Sci Res 2015; 4(1): 22-30.

ปราณี พิสัยพงศ์, ลัดดา ฟองสถิตกุล, พันธนา ชัยนวล, นวลชื่น คำทอน. ชนิดและความถี่ของการตรวจพบแอนติบอดีต่อเม็ดเลือดแดงในประชากรภาคเหนือ. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2546; 13(3): 254.

ดารินต์ณัฏ บัวทอง, สรัญญา หัสรินทร์. การตรวจหาแอนติเจนหมู่โลหิตย่อยที่มีความสำคัญทางคลินิกของผู้บริจาคโลหิตในโรงพยาบาลสงขลานครินทร์. สงขลานครินทร์เวชสาร 2559; 34(3): 109-118.

Bowman JM. Controversies in Rh prophylaxis. Who needs Rh immune globulin and when should it be given?. Am J Obstet Gynecol 1985; 151(3): 289-94.

Promwong C. Clinical and laboratory experience in Songklanagarind University Hospital. In: The national conference on transfusion medicine 2003. Bangkok: The Thai Red Cross Society; 2003.

ศจิกา ปลั่งกลาง, ยุพา เอื้อวิจิตรอรุณ. แอนติบอดีในผู้บริจาคโลหิตซึ่งตรวจด้วยวิธีหลอดทดลองมาตรฐานและวิธีเจล: การศึกษาเพื่อความปลอดภัยของโลหิตบริจาค. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2557; 24(1): 17-23.

Shanwell A, Sallander S, Bremme K, Westgren M. Clinical evaluation of a solid-phase test for red cell antibody screening of pregnant women. Tranfusion 1999; 39(1): 26-31.

จริยา สายพิณ. เทคนิคการตรวจแอนติบอดีของหมู่โลหิต. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2546; 13(3): 225-31.

อรรถพงษ์ สินกิจจาทรัพย์, วิชา สุระกมลเลิศ, พิตตินันท์ จันตา. การศึกษาความชุกของการตรวจพบแอนติบอดีต่อหมู่เลือดระบบอื่นๆ ที่ไม่ใช่หมู่เลือดในระบบเอบีโอ ในหญิงฝากครรภ์ของโรงพยาบาลตากสิน. วารสารโลหิตวิทยาและเวชศาสตร์บริการโลหิต 2554; 21(3): 153-8.

Lee CK, Ma ESK, Tang M, Lam CCK, Lin CK, Chan LC. Prevalence and specificity of clinically significant red cell alloantibodies in Chinese women during pregnancy-a review of case from 1997 to 2001. Transfus Med 2003; 13(4): 227-31.

Thaktal B, Jain A, Saluja K, Sharma RR, Singh TS, Marwaha N. Acute hemolytic transfusion reaction by Lea alloantibody. Am J Hematol 2006; 81(10): 807-8.

Wu KH, Chu SL, Chang JG, Shih MC, Peng CT. Haemolytic disease of the newborn due to maternal irregular antibodies in the Chinese population in Taiwan. Transfus Med 2003; 13(5): 311-4.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-06-2020

ฉบับ

บท

บทความทั่วไป (General Articles)