การปนเปื้อนของพยาธิและการลดพยาธิในผักสดโดยการล้าง
คำสำคัญ:
Contamination, parasites, fresh vegetablesบทคัดย่อ
ผักเป็นอาหารที่อุดมไปด้วยโภชนาการ และดีต่อสุขภาพโดยเฉพาะผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก เป็นกระแสของโลกที่สนับสนุนให้ประชาชนบริโภคผักมากขึ้น องค์การอนามัยโลกได้บ่งชี้ว่าผักสดหากบริโภคดิบอาจเป็นแหล่งที่ทำให้ติดเชื้อพยาธิได้ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ จึงทำการสำรวจความเสี่ยงการปนเปื้อนของพยาธิในผักสดที่บริโภคดิบ ได้แก่ สะระแหน่ (peppermint), ผักกาดหอม (lettuce), ผักชี (coriander), ต้นหอม (leek), ผักชีฝรั่ง (parsley), ใบบัวบก (cantella asiatica urban), ใบกุยช่าย (garlic-like vegetable), ใบขึ้นฉ่าย (celery), ผักกาดขาว (white lettuce), และผักคะน้า (kale) ชนิดละ 10 ตัวอย่าง และเสนอวิธีการแช่ผัก 3 วิธี คือ แช่ในน้ำเปล่า ในส่วนผสมน้ำส้มสายชู 15 มิลลิลิตรต่อน้ำ 4 ลิตร และในน้ำเกลือความเข้มข้น 15 กรัมต่อน้ำ 4 ลิตร แล้วล้างออกด้วยน้ำเปล่าเพื่อลดจำนวนพยาธิ โดยดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2556-2557 พบว่าผัก 100 ตัวอย่าง พบพยาธิ 91 ตัวอย่าง แบ่งเป็นพยาธิตัวกลมอิสระ 72 ตัวอย่าง ไรและไข่ 80 ตัวอย่าง ไข่ Ascaris spp. 33 ตัวอย่าง ตัวอ่อน Trichostrongylus spp. 1 ตัวอย่าง ไข่พยาธิปากขอ 1 ตัวอย่าง ไข่ Taenia spp. 2 ตัวอย่าง และไข่พยาธิเข็มหมุด (Enterobius vermicularis) 2 ตัวอย่าง ส่วนการล้างผักด้วยน้ำเปล่า สารละลายน้ำส้มสายชู และน้ำเกลือสามารถลดจำนวนพยาธิลงได้ 3-14, 6-14 และ 3-13 เท่าตามลำดับ การล้างผักให้สะอาดก่อนบริโภคและการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี เป็นมาตรการจัดการความเสี่ยงเพื่อลดจำนวนพยาธิที่ตกค้างในผักให้เหลือน้อยที่สุดจนไม่ก่ออันตรายต่อผู้บริโภค
References
Food Safety Unit, World Health Organization. Surface decontamination of fruits and vegetables eaten raw: a review. Geneva: World Health Organization; 1998.
World Health organization. Chapter 5: Infectious diseases of potential risk for travellers. [online]. 2009; [cited 2014 Apr 30]; [4 screens]. Available from: URL: http://www.who.int/ith/ITH2009Chapter5.pdf?ua=1
กลุ่มพัฒนาการมีส่วนร่วมเครือข่าย กองสนับสนุนสุขภาพภาคประชาชน. การถ่ายทอดชุดความรู้ด้านการคุ้มครองผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์และบริการสุขภาพ : กินให้เป็นเน้นผักผลไม้. นนทบุรี : กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข; 2554.
ภารดี มามีชัย, ดำรงค์ เชี่ยวศิลป์. การสำรวจหนอนพยาธิติดต่อผ่านดินในผักสดในตลาด เขตเทศบาลเมืองจังหวัดนนทบุรี. สารเทคนิคการแพทย์จุฬา 2534; 5(16): 859-67.
Radomyos P, Sirivichayakul C, Waikagul J, Krudsood S, Takeuchi T, Kojima S, et al. Atlas of medical parasitology: with 434 colour illustrations. Bangkok: Faculty of Tropical Medicine, Mahidol University; 2004.
Center for Decease Control and Prevention. Parasites-Soil-transmitted Helminths (STHs). [online]. 2013; [cited 2014 Jul 8]; [1 screen]. Available from: URL: http://www.cdc.gov/parasites/sth/
Decoded science. Parasitic protozoa on fruits and vegetables. [online]. 2014; [cited 2014 Jul 7]; [4 screens]. Available from: URL: http://www.decodedscience.com/parasitic-protozoa-on-fruits-andvegetables/27502
สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9001-2556 การปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับพืชอาหาร. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย; 2556.
Codex Alimentarius Commission. Code of hygienic practice for fresh fruits and vegetables, CAC/RCP 53-2003. Rome/Geneva: FAO/WHO; 2013.
Driessen S. Food Safety, Handling fresh fruits and vegetables safely. University of Minnesota Extension [online]. 2013; [cited 2014 Oct 7]; [3 screens]. Available from: URL: http://www.extension.umn.edu/food/food-safety/preserving/fruits/handling-fresh-fruits-and-vegetables-safely/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.