วิธีลดปริมาณสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผักและผลไม้
คำสำคัญ:
สารกำจัดศัตรูพืชตกค้าง, ผักผลไม้, วิธีลดปริมาณสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างบทคัดย่อ
การตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชในผักและผลไม้เป็นปัจจัยหนึ่งที่อาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของผู้บริโภค งานวิจัยนี้ได้ศึกษาวิธีลดปริมาณการตกค้างของสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช โดยทำการศึกษาการลดปริมาณการตกค้างในส้ม ด้วยการล้างนํ้าและการปอกเปลือก ส่วนการศึกษาในผักใช้ตัวอย่างผัก 8 ชนิด ได้แก่ บรอกโคลี คะน้า บวบเหลี่ยม ถั่วฝักยาว มะเขือเปราะ พริกชี้ฟ้า ผักบุ้ง และเห็ด เพื่อศึกษาการลดปริมาณการตกค้างด้วยการต้ม ทำการตรวจวิเคราะห์ก่อนและหลังกระบวนการ ลดปริมาณสารตกค้างด้วยวิธี AOAC Official Method 2007.01 ขอบข่ายการตรวจวิเคราะห์สารกลุ่มออร์กาโนคลอรีน (OCs) 21 ชนิด กลุ่มออร์กาโนฟอสฟอรัส (OPs) 24 ชนิด และกลุ่มสารสังเคราะห์ไพรีทรอยด์ (SPs) 8 ชนิด รวมทั้งสิ้น 53 ชนิด และตรวจวิเคราะห์ด้วยเทคนิคแก๊สโครมาโทรกราฟแมสสเปกโทรเมตรี วิธีการดังกล่าวมีขีดจำกัดของการตรวจพบเท่ากับ 0.01 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม และมีขีดจำกัดของการตรวจวัดเชิงปริมาณเท่ากับ 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ผลการศึกษาพบว่าการล้างนํ้าและการปอกเปลือกส้มสามารถลดปริมาณสารตกค้างได้ตั้งแต่ 14 - 96% และ 100% ตามลำดับ การต้มผักสามารถลดปริมาณสารตกค้างได้ตั้งแต่ 29 - 100% ดังนั้นวิธีการดังกล่าวสามารถช่วยลดความเสี่ยงของผู้บริโภคที่จะได้รับสารตกค้างเข้าสู่ร่างกายได้
References
กินผักผลไม้อย่างไร ให้ปลอดโรค. นิตยสาร Health & Cuisine 2550; 7(83): 58-9.
ธีรวุฒิ ปัญญา. 20 สูตรล้างพิษจากธรรมชาติ (ไม่ต้องสวน ไม่ต้องเจ็บตัว). กรุงเทพฯ: Happy Book; 2557.
Suntudrob J, Jongmevasna W, Payanan T, Srikote R, Wittayanan W. Monitoring of pesticide residues in domestic vegetables in Thailand during 2015. Asia Pac J Sci Technol (APST) 2018; 23(4): 1-8.
กนกพร อธิสุข, ยุวดี เลิศเรืองเดช, จิตผกา สันทัดรบ, วิชาดา จงมีวาสนา, ทองสุข ปายะนันทน์, เฉลิมพร ควรหา, และคนอื่นๆ. สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชที่คนไทยได้รับจากการบริโภคอาหาร พ.ศ. 2542-2546. ว กรมวิทย พ 2551; 50(3): 151-62.
Liang Y, Wang W, Shen Y, Liu Y, Liu XJ. Effect of home preparation on organophosphorus pesticide residues in raw cucumber. Food Chem 2012; 133(3): 636-40.
ลีณา สุนทรสุข. การลดสารตกค้างในผักผลไม้. คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 3 ก.ย. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://pharmacy.mahidol.ac.th/th/knowledge/article/452/สารตกค้าง-การกำจัด.
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร. รายงานสรุปผลการดำเนินโครงการบูรณาการอาหารปลอดภัย (Food Safety) ประจำปีงบประมาณ 2560. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
สุปราณี แจ้งบำรุง, และคณะบรรณาธิการ. ปริมาณสารอาหารอ้างอิงที่ควรได้รับประจำวันสำหรับคนไทย พ.ศ. 2563. กรุงเทพฯ: สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข; 2563
AOAC Official Method 2007.01: pesticide residues in foods by acetonitrile extraction and partitioning with magnesium sulfate. In: Official methods of analysis. 19th ed. Guithersburg, MD.: AOAC International; 2012.
สำนักคุณภาพและความปลอดภัยอาหาร กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. เอกสารเผยแพร่โครงการ Food Safety: วิธีลดปริมาณสารพิษในผักผลไม้. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 3 ก.ย. 2563]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://bqsf.dmsc.moph.go.th/bqsfWeb/index.php/publish.
มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9045-2559: การจัดกลุ่มสินค้าเกษตร: พืช. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 133 ตอนพิเศษ 264 ง (วันที่ 18 พฤศจิกายน 2559).
ISO/IEC 17025:2017. General requirements for the competence of testing and calibration laboratories. 3rd ed. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2017.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เลขที่ 387 (พ.ศ. 2560) เรื่องอาหารที่มีสารพิษตกค้าง. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 134 ตอนพิเศษ 228 ง (วันที่ 18 กันยายน 2560).
ทองสุข ปายะนันทน์, จิตผกา สันทัดรบ, วิชาดา จงมีวาสนา, รัติยากร ศรีโคตร, วีรวุฒิ วิทยานันท. การศึกษาสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชตกค้างในผลส้ม. ว กรมวิทย พ 2558; 57(4): 391-400.
Profenofos in freshwater and marine water. Toxicant default guideline values for protecting aquatic ecosystems. [online]. 2000; [cited 2020 Sep 3]; [3 screens]. Available from: URL: https://www.waterquality.gov.au/anz-guidelines/guideline-values/default/water-quality-toxicants/toxicants/profenofos-2000.
Roberts TR, Hutson DH, editors. Metabolic pathways of agrochemicals: insecticides and fungicides. Cambridge, UK: Royal Society of Chemistry; 1999.
Nollet LML, Rathore HS, editors. Handbook of pesticides: methods of pesticide residues analysis. New York: Taylor & Francis; 2010.
กองบรรณาธิการนานมีบุ๊คส์. กินผักผลไม้ต้านโรค. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์; 2556.
สุทธิรักษ์ ผลเจริญ. สารเคมีตกค้างทางการเกษตร (ตอนที่ 1). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 3 ก.ค. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.chumphon2.mju.ac.th/km/?p=471.
Hossain MS, Fakhruddin ANM, Chowdhury MAZ, Alan MK. Degradation of chlorpyrifos, an organophosphorus insecticide in aqueous solution with gamma irradiation and natural sunlight. J Environ Chem Eng 2013; 1(3): 270-4.
Agenda Item 6. In: Joint FAO/WHO food standards programme. 48th session of Codex Committee on Pesticide Residues. Chongqing, China. 25-30 April 2016. [online]. 2016; [cited 2020 Sep 3]; [29 screens]. Available from: URL: https://ec.europa.eu/food/sites/food/files/safety/docs/codex_ccpr_48_agenda-item-06.pdf.
Ueyama I, Takase I. Fate of prothiofos (O-2, 4-dichlorophenyl O-ethyl S-propyl phosphorodithioate) in rats. Pestic Biochem Physiol 1980; 14(1): 98-110.
Food Safety Commission of Japan (FSCJ). Risk assessment report - prothiofos (pesticides). [online]. 2018; [cited 2020 Sep 3]; [5 screens]. Available from: URL: https://www.fsc.go.jp/fsciis/attachedFile/download?retrievalId=kya20130612178&fileId=211.