การศึกษาปริมาณโลหะหนักในผักสวนครัวและผักพื้นบ้านของประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2559-2560

ผู้แต่ง

  • โลมไสล วงค์จันตา ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • วิสิฐศักดิ์ วุฒิอดิเรก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • จรรยา บัวบาน ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อวรวรรณ พัฒนกิจจารักษ์ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • พยอม หน่อศิริ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 3 นครสวรรค์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

โลหะหนัก, สารหนู, แคดเมียม, แมงกานีส, ผักสวนครัว

บทคัดย่อ

          โลหะหนักเป็นกลุ่มธาตุที่มีความเป็นพิษ สามารถปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมและห่วงโซ่อาหาร ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพของมนุษย์ การศึกษานี้เพื่อเฝ้าระวังปริมาณสารหนู แคดเมียม และแมงกานีส ในผักสวนครัว 6 ชนิด คือ ผักกินหัว ได้แก่ ข่า และมันเทศ ผักกินใบและลำต้น ได้แก่ ชะอมและผักบุ้งนา ผักกินผล ได้แก่ พริกขี้หนูและมะเขือเปราะ ที่ปลูกในพื้นที่ที่ไม่มีกิจการทำเหมืองแร่ทองคำ ในภาคเหนือ กลาง ใต้ และตะวันออกเฉียงเหนือ โดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงในช่วงน้ำหลากกับช่วงแล้ง วิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักโดยใช้วิธีอ้างอิงตาม AOAC official method of analysis (2012) ด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectrophotometer (AAS) เปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยด้วยสถิติ t-test และแปลผลตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2563) ผลการศึกษาผักสวนครัว 192 ตัวอย่าง แยกเป็นช่วงน้ำหลาก 96 ตัวอย่าง และช่วงแล้ง 96 ตัวอย่าง มีปริมาณเฉลี่ยสารหนูและแคดเมียมของผักทุกชนิดไม่เกินที่กฎหมายกำหนด ปริมาณแมงกานีสในข่าพบในช่วง 1.700-222.490 มันเทศ พบน้อยกว่า 1.000-47.670 ชะอม ไม่พบ-24.700 ผักบุ้งนา ไม่พบ-24.550 พริกขี้หนู 1.130-5.480 มะเขือเปราะ พบน้อยกว่า 1.000-5.910 มก./กก. นอกจากนี้ยังพบว่าปริมาณเฉลี่ยแคดเมียมในชะอมและผักบุ้งนาที่เก็บในช่วงน้ำหลากสูงกว่าในช่วงแล้งอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.025 และ p = 0.004) และปริมาณเฉลี่ยแมงกานีสในชะอม ผักบุ้งนา และพริกขี้หนู ที่เก็บในช่วงน้ำหลากสูงกว่าในช่วงแล้งอย่างมีนัยสำคัญ (p = 0.014, p = 0.013 และ p = 0.008 ตามลำดับ) ทั้งนี้ควรมีการเฝ้าระวังปริมาณโลหะหนักในผักสวนครัวอย่างต่อเนื่อง เพื่อเฝ้าระวังปัญหาการปนเปื้อนโลหะหนักในสิ่งแวดล้อม

References

พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2563) เรื่อง มาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจกิจจานุเบกษา เล่ม 137 ตอนพิเศษ 118 ง (วันที่ 20 พฤษภาคม 2563). หน้า 17.

List of maximum levels for contaminants and toxins in foods, part 1. In: JOINT FAO/WHO food standards programme CODEX committee on contaminants in foods eleventh session (CF/11 INF/1); 2017 Apri 3-7; Rio de Janeiro, Brazil. Rome, Italy: FAO/WHO; 2017. p. 8-13.

สมสุข ไตรศุภกิตติ, มนชวัน วังกุลางกูร, วัชรา เสนาจักร์. การวิเคราะห์หาปริมาณโลหะหนักบางชนิดในผักโดยวิธีอะตอมมิกแอบซอฟชันสเปคโตรโฟโตรเมตรี ในเขตพื้นที่จังหวัดมหาสารคาม. วารสารวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมและชุมชน มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม 2558; 2(4): 127-33.

วีรยาภรณ์ รัตนไพบูลย์, นฤชิต ดำปิน, เกษม จันทร์แก้ว. ปริมาณโลหะหนักที่สะสมในผักบุ้ง (Ipomoca aquatic Forsk) ที่ปลูกในแม่น้ำท่าจีน. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร: วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี 2558; 23(1): 82-93.

พัชราภรณ์ ภู่ไพบูลย์, ศิริวัลย์ สร้อยกล่อม, พินิจ ไพรสนธิ์. การปนเปื้อนโลหะหนักในยาสมุนไพรไทย. ใน: เรื่องเต็มการประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 48: สาขาพืช. กรุงเทพฯ: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย; 2553. หน้า 355-363.

อรุณศรี ปรีเปรม, บังอร ศรีพานิชกุลชัย, จินตนา จุลทรรศน์, ผดุงขวัญ จิตโรภาส. โลหะหนักในสารสกัดสมุนไพรและยาแผนโบราณ. วารสารเภสัชศาสตร์อีสาน 2549; 2(1): 43-52.

ละเอียด ศิลาน้อย. การใช้สูตรทางสถิติ (ที่ถูกต้อง) ในการกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างเพื่อการวิจัยเชิงปริมาณในทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์ 2560; 12(2): 50-61.

Chapter 9; Metals and other elements at trace levels in foods. In: Latimer GW, Editor. Official methods of analysis of AOAC International. 19th ed. Gaithersburg, Maryland: AOAC Internation; 2012. p. 16-37.

การศึกษาปริมาณสารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืช ยาสัตว์ สารปนเปื้อน และโลหะหนักในอาหารที่คนไทยบริโภค พ.ศ. 2553-2554. ใน: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. รายงานประจำปี 2554 กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์; 2554. หน้า 72-73.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)