การปนเปื้อนของโลหะหนักในผลิตภัณฑ์อาหารนำเข้าจากต่างประเทศของจังหวัด ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย
คำสำคัญ:
โลหะหนัก, อาหารนำเข้า, ลูกชิด, สาหร่าย, ใบชาบทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ปริมาณโลหะหนัก 4 ชนิด (ตะกั่ว แคดเมียม ปรอท สารหนู) ในอาหารนำเข้าจากต่างประเทศซึ่งเก็บตัวอย่างจากพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนของประเทศไทย ได้แก่ ลูกชิดในนํ้าเชื่อม จำนวน 17 ตัวอย่าง ใบชาแห้ง จำนวน 24 ตัวอย่าง (เก็บในปี พ.ศ. 2556) และสาหร่ายแห้ง จำนวน 21 ตัวอย่าง (เก็บในปี พ.ศ. 2559) โดยเปรียบเทียบกับมาตรฐานตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 พ.ศ. 2529 วิเคราะห์ปริมาณตะกั่วและแคดเมียมโดยวิธี Graphite Furnace Atomic Absorption Spectroscopy วิเคราะห์ปริมาณปรอทด้วยเครื่อง Mercury Analyzer และวิเคราะห์ปริมาณสารหนูโดยวิธี Hydride Generation Atomic Absorption Spectroscopy พบปริมาณตะกั่วและแคดเมียมในลูกชิดในนํ้าเชื่อมอยู่ในช่วง 0.01 - 0.76 และ 0.02 - 0.03 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ส่วนในใบชาแห้งพบตะกั่วและแคดเมียมอยู่ในช่วง 0.01 - 4.27 และ 0.02 - 0.23 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม สำหรับสาหร่ายแห้งพบตะกั่ว แคดเมียม ปรอท และสารหนูในช่วง 0.01 - 1.0, 0.41 - 4.50, 0.012 - 0.03 และ 6.12 - 29.6 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัม ตามลำดับ พบการปนเปื้อนตะกั่วในใบชาแห้งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ร้อยละ 37.5 และพบการปนเปื้อนสารหนูในสาหร่ายแห้งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานร้อยละ 100 ในประเทศไทยยังไม่มีมาตรฐานกำหนดไว้สำหรับปริมาณการปนเปื้อนของแคดเมียมในอาหาร ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรใช้มาตรการทางกฎหมายรวมถึงมาตรการกีดกันทางการค้าอย่างจริงจังสำหรับผู้นำเข้าผลิตภัณฑ์อาหาร และผู้บริโภคควรหลีกเลี่ยงการบริโภคสาหร่ายแห้งและใบชาแห้งในปริมาณมากหรือบริโภคซํ้าเป็นเวลานานเพื่อป้องกันผลกระทบที่เป็นพิษต่อร่างกาย
References
ด่านศุลกากรบึงกาฬ. สินค้านำเข้ามูลค่าสูงสุด 10 อันดับ ด่านศุลกากรบึงกาฬ ตั้งแต่เดือนตุลาคม - กันยายน 2558. [ออนไลน์]. 2558; [สืบค้น 4 ธ.ค. 2563]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://buengkan.customs.go.th/data_files/7ff7f54c82a1905eb0fe6081e62bcbcb.
ภัสรา ทัศนบรรจง, ประเสริฐ หิรัญณรงค์ชัย. โลหะหนักในผลิตภัณฑ์สาหร่ายทะเล. [ออนไลน์]. 2559; [สืบค้น 20 มิ.ย. 2563]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://e-library.dmsc.moph.go.th/ebooks/files/P3-50%20ประเสริฐ.pdf.
สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. “สาหร่าย” อาหารที่ปลอดภัยจริงหรือ? [ออนไลน์]. 2553; [สืบค้น 20 มิ.ย. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www2.cri.or.th/announcement/articles/2010_articles/2010_05_03_seaweed.
ไทยรัฐออนไลน์. โลหะหนักในใบชา. [ออนไลน์]. 2557; [สืบค้น 1 ธ.ค. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: https://www.thairath.co.th/content/417066.
Zhang J, Yang R, Chen R, Peng Y, Wen X, Gao L. Accumulation of heavy metals in tea leaves and potential health risk assessment: a case study from Puan County, Guizhou Province, China. Int J Environ Res Public Health 2018; 15(1): 133. (22 pages).
Chen Q, Pan XD, Huang BF, Han JL. Distribution of metals and metalloids in dried seaweeds and health risk to population in southeastern China. Sci Rep 2018; 8(1): 3578. (7 pages).
International Agency for Research on Cancer. List of classifications by cancer sites with sufficient or limited evidence in humans, IARC Monographs volumes 1–129a. [online]. [cited 2020 Jun 1]; [10 screens]. Available from: URL: https://monographs.iarc.who.int/wp-content/uploads/2019/07/Classifications_by_cancer_site.pdf.
สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม. สารหนู. [ออนไลน์]. [สืบค้น 20 เม.ย. 2563]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้จาก: URL: http://www.nfi.or.th/foodsafety/upload/damage/pdf/arsenic_2.pdf.
Cadmium, Mercury, Arsenic, Lead. In: Evaluation of the joint FAO/WHO expert committee on food additives (JECFA). [online]. 2013; [cited 2020 Jun 1]; [2 screens]. Available from: URL: https://apps.who.int/food-additives-contaminants-jecfa-database/search.aspx?fcc=2.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 98 (พ.ศ. 2529) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 103 ตอนที่ 23 (วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2529). หน้า 16.
AOAC Official Method 999.10. Lead, cadmium, zinc, copper, and iron in foods. atomic absorption spectrophotometry after microwave digestion. In: Latimer GW, editor. Official methods of analysis of AOAC international. 19th ed. Gaithersburg, MD: AOAC International; 2012. p. 16-19.
United States Environmental Protection Agency (EPA). Method 7473 mercury in solid and solutions by thermal decomposition, amalgamation, and atomic absorption spectrophotometry. [online]. 2007; [cited 2020 Jun 12]; [17 screens]. Available from: URL: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-12/documents/7473.pdf.
AOAC Official Method 986.15. Arsenic, cadmium, lead, selenium, and zinc in human and pet foods. In: Latimer GW, editor. Official methods of analysis of AOAC international. 19th ed. Gaithersburg, MD: AOAC International; 2012. p. 1-3.
พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข ฉบับที่ 414 (พ.ศ. 2563) เรื่องมาตรฐานอาหารที่มีสารปนเปื้อน. ราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 137 ตอนพิเศษ 118 ง (วันที่ 20 มีนาคม 2563). หน้า 17.
พนาวัลย์ กลึงกลางดอน, ลัดดาวัลย์ โรจนพรรณทิพย์, กรรณิกา จิตติยศรา, นนทรัตน์ พรทรัพย์มณี, ปิ่นนรี ชินวรรธนวงศ์, เขมิกา เหมโลหะ. การประเมินความเสี่ยงแคดเมียมจากการบริโภคประจำวันของคนไทย. ว กรมวิทย พ 2560; 59(3): 181-98.
European Commission Regulation (EC). Commission regulation No. 1881/2006 of 19 December 2006 setting maximum levels for certain contaminants in foodstuffs. Official Journal of the European Union 2006; L 364: 5-24.