การพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการรองรับการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019
คำสำคัญ:
โควิด-19, ศักยภาพห้องปฏิบัติการ, เครือข่ายห้องปฏิบัติการบทคัดย่อ
จากการระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด -19) ห้องปฏิบัติการพยาธิวิทยาคลินิก ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี จึงได้พัฒนาศักยภาพทางห้องปฏิบัติการทั้งภายในหน่วยงานและห้องปฏิบัติการเครือข่ายในเขตภาคใต้ตอนบน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และนำผลการตรวจวินิจฉัยใช้ในการสอบสวนโรค เฝ้าระวังโรค ซึ่งมีปัจจัยที่ต้องพัฒนา 7 ด้าน คือ สถานที่และสภาวะแวดล้อม บุคลากร เครื่องมือ น้ำยาและสารเคมี ระบบความปลอดภัยทางห้องปฏิบัติการ วิธีการตรวจวิเคราะห์ และการรายงานผล ส่วนการพัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการเครือข่ายของโรงพยาบาลในเขตภาคใต้ตอนบนนั้น ดำเนินการโดยให้โรงพยาบาลประเมินความพร้อมด้านทรัพยากร และประเมินความสามารถด้วยตัวอย่างทดสอบความชำนาญทางห้องปฏิบัติการเพื่อตรวจโรคโควิด-19 ผลการดำเนินงานทำให้ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี สามารถให้บริการตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 โดยตั้งแต่วันที่ 28 มกราคม ถึง 30 เมษายน พ.ศ. 2563 มีตัวอย่างส่งตรวจทั้งสิ้น 2,324 ตัวอย่าง พบผลบวก 95 ตัวอย่าง และภายในเดือนเมษายน พ.ศ. 2563 มีห้องปฏิบัติการเครือข่าย 6 แห่ง สามารถตรวจโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ซึ่งทำให้สามารถร่วมมือกันตรวจจับการระบาดของโรคในเขตภาคใต้ตอนบนได้
References
ภาควิชาจุลชีววิทยา คณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (novel coronavirus 2019, 2019-nCoV). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 30 มี.ค. 2563]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/admin/article_files/1410_1.pdf.
กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. คู่มือเจ้าหน้าที่สาธารณสุขในการตอบโต้ภาวะฉุกเฉิน กรณีการระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 30 เม.ย. 2563]; [138 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_other/G42_1.pdf.
World Health Organization. Naming the coronavirus disease (COVID-2019) and the virus that causes it. [online]. 2020; [cited 2020 Apr 30]; [2 screens]. Available from: URL: https://www.who.int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019/technical-guidance/naming-thecoronavirus-disease-(covid-2019)-and-the-virus-that-causes-it.
European Centre for Disease Prevention and Control. Factsheet for health professionals on coronaviruses, last updated 30 Jan 2020. [online]. 2020; [cited 2020 Apr 30]; [3 screens] Available from: URL: https://www.ecdc.europa.eu/en/covid-19/latest-evidence/coronaviruses.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี. SOP 41 02 400 มาตรฐานการปฏิบัติงานเรื่อง การตรวจวินิจฉัยเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (SARS-CoV-2) โดยวิธี Real time RT-PCR. แก้ไขครั้งที่ A 01. สุราษฎร์ธานี: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี; 2563.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. ประกาศห้องปฏิบัติการเครือข่ายตรวจ SARS-CoV-2. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 30 เม.ย. 2563]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www3.dmsc.moph.go.th/images/map_sars_cov_1010863.jpg.
ISO 15190:2003. Medical laboratories -- requirements for safety. Geneva, Switzerland: International Organization for Standardization; 2003.
กองแผนงานและวิชาการ. รายงานการประชุมกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 2/2563. วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563.
คำนวณ อึ้งชูศักดิ์, ศุภมิตร ชุณห์สุทธิวัฒน์. วิกฤติโควิด-19 ในประเทศไทย: การเปลี่ยนผ่านจากมาตรการ “กึ่งล็อคดาวน์” สู่การมี “เสถียรภาพ”. ว วิชาการสาธารณสุข 2563; 29(2): 377-80.
สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. เครือข่ายห้องปฏิบัติการโรคติดเชื้ออุบัติใหม่ (EID-Lab Network). ใน : รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558. หน้า 78-79.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. แนวทางการจัดตั้งห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์โรคโควิด-19 (COVID-19). [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 30 เม.ย. 2563]; [11 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www3.dmsc.moph.go.th/assets/post/RE1TY19QMDZfTEFCLTA3LTA0LTYz.pdf.