การวิเคราะห์ปริมาณรังสีกระเจิงและการป้องกันอันตรายจากรังสีเมื่อถ่ายภาพด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่
คำสำคัญ:
รังสีกระเจิง, การป้องกันอันตรายจากรังสี, เครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่บทคัดย่อ
การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบปริมาณรังสีกระเจิง (Scatter radiation) จากเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ (Portable X-ray) ยี่ห้อ SHIMADZU รุ่น Mobile Art Evolution และ FUJI FILM แบบ Full DR รุ่น FDR GO Plus ของโรงพยาบาลนครปฐม โดยการวิเคราะห์ปริมาณรังสีกระเจิง ทิศทางและระยะที่ปลอดภัยของผู้ปฎิบัติงานด้านรังสีและบุคคลทั่วไปจากการถ่ายภาพรังสีด้วยเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่ ดำเนินการวิเคราะห์ทิศทางที่ 0, 45, 90, 135, 180, 225, 270 และ 315 องศา ที่ระยะห่าง 0.5, 1.5, 3.0 และ 4.0 เมตร โดยวัดจากพื้น 80 เซนติเมตร ซึ่งเทียบได้กับตำแหน่งของ Gonad ของคนสูง 175 เซนติเมตร และใกล้เคียงความสูงของเตียงผู้ป่วย ใช้เทคนิคถ่ายภาพรังสีเอกซเรย์ปอดท่านอนหงาย (Chest AP Supine) ใช้แผ่นรับภาพรังสีขนาด 14 × 17″ ตั้งค่าเทคนิค 85 kVp, 1.6 mAs 70 kVp, 0.63 mAs สำหรับผู้ป่วยเด็ก และใช้เทคนิคถ่ายภาพรังสีกระดูกเชิงกราน (Pelvic AP) ตั้งค่าเทคนิค 85 kVp, 3.2 mAs ที่ระยะ 100 เซนติเมตร โดยการใช้เครื่องสำรวจรังสี (Survey meter) ผลการทดลองพบว่าปริมาณรังสีกระเจิงแปรผันกับระยะห่างจากตัวผู้ป่วย แต่ไม่ขึ้นกับทิศทางผู้ปฎิบัติงานด้านรังสีและประชาชนทั่วไป ที่ได้รับปริมาณรังสีกระเจิงไม่เกินค่าขีดจำกัดการได้รับรังสี ไม่เกิน 20 mSv/yr และไม่เกิน 1 mSv/yr ตามลำดับ เพื่อความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน ผู้ปฏิบัติงานควรอยู่ห่างจากหลอดเอกซเรย์ที่ระยะมากกว่า 4 เมตร และมุมที่ปลอดภัย คือ 0 องศา และควรสวมเสื้อตะกั่วป้องกันรังสี
References
International Commission on Radiological Protection (ICRP). General principles for the radiation protection of workers, ICRP Publication 75. Oxford: Pergamon Press; 1997.
พรนิภา มหาวงษ์, ธารขวัญ ปินตามูล. การศึกษาปริมาณรังสีทุติยภูมิจากการถ่ายภาพเครื่องเอกซเรย์เคลื่อนที่. [ภาคนิพนธ์]. ภาควิชารังสีเทคนิค, คณะเทคนิคการแพทย์. นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหิดล; 2548.
ICRPædia. Dose limits. [online]. 2019; [cited 2021 Jul 17]; [2 screens]. Available from: URL: http://icrpaedia.org/Dose_limits.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. มาตรฐานคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทางการแพทย์. กรุงเทพฯ: บริษัท บียอนด์ พับลิสซิ่ง จำกัด; 2562.
วิศาล บุญประสาร, สิรัณยาพงศ์ สุวรรณโอภาส. อุปกรณ์สำหรับการทดสอบเพื่อการตรวจรับและควบคุมคุณภาพเครื่องเอกซเรย์วินิจฉัยทั่วไป. วารสารรังสีวิทยาศิริราช 2560; 4(2); 115-26.
Exposure technique factors. ใน: จงวัฒน์ ชีวกุล. หลักสูตรรังสีเทคนิค. สงขลา: ภาควิชารังสีวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์. [ออนไลน์]. 2560; [สืบค้น 22 ม.ค. 2564]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://meded.psu.ac.th/binlaApp/radio3/365-302/Exposure_Technique_Factors/index.html.