ความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของนํ้ามันจระเข้ (Crocodylus siamensis) ผสมกระชายดำ (Kaempferia parviflora Wall. Ex. Baker) ในหนูแรทสายพันธุ์ Wistar
คำสำคัญ:
กระชายดำ, ความเป็นพิษเฉียบพลันทางปาก, นํ้ามันจระเข้บทคัดย่อ
นํ้ามันจระเข้เป็นนํ้ามันจากสัตว์ที่นิยมใช้เพื่อดูแลสุขภาพ ส่วนกระชายดำถูกนำมาใช้เป็นส่วนผสมในยาแผนโบราณของไทย สูตรผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำได้ถูกพัฒนาขึ้นเพื่อใช้ดูแลสุขภาพ แต่ยังไม่มีรายงานการศึกษาพิษวิทยาของสารผสมดังกล่าว จึงได้ทำการประเมินความเป็นพิษเฉียบพลันทางปากของสารผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำในหนูแรทสายพันธุ์ Wistar ในขนาดของสารผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำที่ 300 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของนํ้าหนักตัวสัตว์ทดลอง ตามวิธีการมาตรฐาน OECD Guideline หมายเลข 423 หลังจากได้รับสารผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำที่ 300 และ 2,000 มิลลิกรัมต่อกิโลกรัมของนํ้าหนักตัวสัตว์ทดลอง พบว่าสัตว์ทดลองไม่แสดงอาการพิษ ไม่แสดงความผิดปกติ และไม่ทำให้เกิดการตาย ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่าสารผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำจัดอยู่ในระบบการจัดกลุ่มสารเคมี การติดฉลากและการแสดงรายละเอียดบนเอกสารข้อมูลความปลอดภัยสากลหมวดที่ 5 หรือไม่ถูกจัดหมวด และมี LD50 ที่ 5,000-∞ มิลลิกรัม อกิโลกรัมของนํ้าหนักตัวสัตว์ทดลอง ผลจากการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าสารผสมนํ้ามันจระเข้และกระชายดำมีความปลอดภัยในการบริโภค และอาจพัฒนาเป็นผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร หรือการประยุกต์ใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ได้
References
Praduptong A, Srimangkornkaew P, Intana W, Siruntawineti J, Chaeychomsri S, Thitipramote N, et al. Primary skin irritation test of siamese crocodile (Crocodylus siamensis) oil in New Zealand white rabbit. Biosci Discov 2018; 9(4): 478-84.
Venter T. Characterisation, toxicology and clinical effects of crocodile oil in skin products. [online]. 2012; [cited 2020 May 11]; [248 screens]. Available from: URL: http://citeseerx.ist.psu.edu/viewdoc/download?doi=10.1.1.1030.4409&rep=rep1&type=pdf.
Sutthanut K, Sripanidkulchai B, Yenjai C, Jay M. Simultaneous identification and quantitation of 11 flavonoid constituents in Kaempferia parviflora by gas chromatography. J Chromatogr A 2007; 1143(1-2): 227-33.
Tuntiyasawasdikul S, Limpongsa E, Jaipakdee N, Sripanidkulchai B. Transdermal permeation of Kaempferia parviflora methoxyflavones from isopropyl myristate-based vehicles. AAPS PharmSciTech 2014; 15(4): 947-55.
Pitakpawasutthi Y, Palanuvej C, Ruangrungsi N. Quality evaluation of Kaempferia parviflora rhizome with reference to 5, 7-dimethoxyflavone. J Adv Pharm Technol Res 2018; 9(1): 26-31.
OECD/OCDE. OECD guidelines for the testing of chemicals test no. 423: acute oral toxicity–acute toxic class method. [online]. 2001; [cited 2020 May 11]; [14 screens]. Available from: URL: https://ntp.niehs.nih.gov/iccvam/suppdocs/feddocs/oecd/oecd_gl423.pdf.
National Research Council, Division on Earth and Life Studies, Institute for Laboratory Animal Research. Guide for the care and use of laboratory animals. 8th ed. Washington, DC: National Academies Press; 2011.
Office of Animal Care and Use, NIH. Guidelines for euthanasia of rodent fetuses and neonates. [online]. 2000; [cited 2020 May 16]; [3 screens]. Available from: URL: https://oacu.oir.nih.gov/sites/default/files/uploads/arac-guidelines/b4_rodent_euthanasia_pup.pdf.
Srimangkornkaew P, Praduptong A, Siruntawineti J, Chaeychomsri S, Chaeychomsri W. The evaluation of acute oral toxicity testing of siamese crocodile (Crocodylus siamensis) bile in sprague dawley rats in compliance with OECD guideline 423. Biosci Discov 2018; 9(4): 469-73.
U.S. Environmental Protection Agency. Chemical hazard classification and labeling: comparison of Opp requirements and the GHS. [online]. 2004; [cited 2020 May 16]; [22 screens]. Available from: URL: https://www.epa.gov/sites/production/files/2015-09/documents/ghscriteria-summary.pdf.
Praduptong A, Siruntawineti J, Chaeychomsri S, Srimangkornkaew P, Chaeychomsri W. Acute oral toxicity testing of siamese crocodile (Crocodylus siamensis) oil in wistar rats. Biosci Discov 2018; 9(3): 409-15.
Chivapat S, Chavalittumrog P, Attawish A, Punyamong S, Phadungpat S, Chansuvanich N, et al. Acute and chronic toxicity study of Kaempferia parviflora wall. ex. bak powder. J Thai Tradit Altern Med 2004; 2(2): 3-16.