การปลอมปนสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณและยาสมุนไพรในจังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ระหว่าง พ.ศ. 2559-2562
คำสำคัญ:
สเตียรอยด์, ปลอมปน, ยาสมุนไพร, ยาแผนโบราณบทคัดย่อ
สารสเตียรอยด์เป็นยาควบคุมพิเศษตามพระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 การนำสารสเตียรอยด์ไปใช้ในทางที่ไม่เหมาะสมทำให้เกิดผลข้างเคียงร้ายแรง เดกซาเมทาโซน และเพรดนิโซโลนเป็นสเตียรอยด์ปลอมปนที่พบบ่อยในยาแผนโบราณและยาสมุนไพร ในช่วงปี พ.ศ. 2559-2562 ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11/1 ภูเก็ต ได้วิเคราะห์การปลอมปนสารสเตียรอยด์ในตัวอย่างยาแผนโบราณและยาสมุนไพรจำนวน 48 ตัวอย่าง ที่เก็บในเขตพื้นที่จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ด้วยวิธี Thin Layer Chromatography พบการปลอมปนสารสเตียรอยด์ 10 ตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 20.8 โดยพบการปลอมปนเป็นเดกซาเมทาโซน 7 ตัวอย่าง เพรดนิโซโลน 1 ตัวอย่าง ปลอมปนทั้งเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลน 2 ตัวอย่าง ข้อมูลที่ได้นำไปแจ้งเตือนภัยในระบบแจ้งเตือนภัย “กรมวิทย์ with you” ของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เพื่อให้ผู้บริโภคตระหนักถึงอันตรายที่อาจได้รับจากการใช้ยาแผนโบราณและยาสมุนไพร
References
วราวุธ เสริมสินสิริ. เส้นทางพัฒนาสมุนไพรไทยสู่ความยั่งยืน. Med&Herb 2558; 2(5): 6-7.
แผนงานพัฒนากลไกเฝ้าระวังและพัฒนาระบบยา (กพย.). สเตียรอยด์คืออะไร. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 7 มิ.ย. 2562]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://steroidsocial.org/steroid1.html.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. ผลงานบริการด้านห้องปฏิบัติการ: ด้านยา ยาเสพติด และวัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท. ใน: รายงานประจำปี 2558. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2558. หน้า 168.
พระราชบัญญัติยา พ.ศ. 2510 ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง ยาควบคุมพิเศษ. ราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 68 (วันที่ 4 กรกฎาคม 2521). หน้า 2072-2075.
American Pharmacists Association. Drug information handbook with international trade names index. 25th ed. Hudson, Ohio: Lexi-Comp; 2016.
ปรุฬห์ รุจนธำรงค์. เหลียวมองการจัดการปัญหาสเตียรอยด์ในต่างประเทศ. ยาวิพากษ์ 2555; 5(15): 7-10.
อรอนงค์ โสดา, มนตรา ศรีษะแย้ม, อรรถพล รอดแก้ว, จิตศิริน ลายลักษณ์, ศศิภาวรรณ มาชะนา.การสำรวจสเตียรอยด์ในยาชุดและยาสมุนไพรในตำบลบ้านโสก อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์. วารสารเภสัชกรรมไทย 2560; 9(1): 216-24.
นันทนา กลิ่นสุนทร, ตวงพร เข็มทอง, ชมพูนุท นุตสถาปนา. การศึกษาปริมาณสารสเตียรอยด์ที่ปลอมปนในยาจากสมุนไพรเขตพื้นที่สาธารณสุข 4, 5. วารสารอาหารและยา 2555; 19(2): 31-7.
จริยา อัครวรัณธร ศรัณยพร กิจไชยา. โครงการสำรวจการปนเปื้อนสารสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณใน 9 จังหวัด. วารสารอาหารและยา 2557; 21(3): 64-72.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี. ผลการปฏิบัติงาน: กลุ่มงานยา. ใน: รายงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2558. สุราษฎร์ธานี: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 11 สุราษฎร์ธานี; 2558. หน้า 67-69.
ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง. งานบริการ: ห้องปฏิบัติการยาและวัตถุเสพติด. ใน: รายงานประจำปี 2558. ตรัง: ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง; 2558. หน้า 35-37.
สำนักยาและวัตถุเสพติด. หลักการทางโครมาโทกราฟี: โครมาโทกราฟีแบบแผ่นบาง (Thin-layer chromatography; TLC). ใน: วิธีมาตรฐานสำหรับการตรวจพิสูจน์สารเสพติดในปัสสาวะ เล่มที่ 1. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2558. หน้า 10-17.
ดวงทิพย์ อรัญดร, สรียา แซ่ลิ่ม, สิรินทิพย์ วิชญวรนันท์, อภิณัฐ คล้ายสถิต, สุกัญญา เดชอดิศัย. การศึกษาการปนปลอมของสารสเตียรอยด์ เพรดนิโซโลนและเด็กซ่าเมทธาโซนในยาแผนโบราณในอำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา. วารสารมหาวิทยาลัยทักษิณ 2553; 13(1): 20-30.
Zoorob RJ, Cender D. A different look at corticosteroids. Am Fam Physician 1998; 58(2): 443-50.
ธนพัฒน์ ชัยะโสตถิ, วรรณคล เชื้อมงคล, อัษฎางค์ สำเร็จ, จันทร์พิมพ์ ตรุวิทยาคม. การทดสอบเบื้องต้นของการปลอมปนสเตียรอยด์ในยาผง ยาลูกกลอน ยาเม็ด ยานํ้า และยาแคปซูล ในชุมชนกรุงเทพมหานคร. วารสารไทยเภสัชศาสตร์และวิทยาการสุขภาพ 2557; 9(4): 151-6.
มาศวลัย ลิขิตธนเศรษฐ์, โสมขจี หงส์ทอง, สุรัชนี เศวตศิลา. การให้บริการชุดทดสอบสเตียรอยด์ในยาแผนโบราณด้วยเทคนิคอิมมูโนโครมาโทกราฟี โดยสำนักยาและวัตถุเสพติด. ว กรมวิทย พ 2555; 54(3-4): 174-86.
วีระวรรณ เรืองยุทธิการณ์. การตรวจวิเคราะห์สารพิษโดยวิธีโครมาโทกราฟฟี่. วารสารเทคนิคการแพทย์เชียงใหม่ 2538; 28(2): 22-33.
จิรานุช แจ่มทวีกุล, สุเมธ เที่ยงธรรม, วลัยลักษณ์ เมธาภัทร, จิตรา ชัยวัฒน์. การพัฒนาวิธีวิเคราะห์ปริมาณเดกซาเมทาโซนและเพรดนิโซโลนในยาแผนโบราณโดยเทคนิคโครมาโทกราฟีชนิดของเหลวประสิทธิภาพสูง. ว กรมวิทย พ 2558; 57(2): 157-73.
กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. กรมวิทย์ With you. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 30 ก.ย. 2561]. [10 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://alert.dmsc.moph.go.th/.