พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล บ้านม่าหนิกและศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม พ.ศ. 2563

ผู้แต่ง

  • นันทนา จุลจงกล นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • ดวงกมล คงบำรุงค์ นักศึกษาสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต
  • อารยา ข้อค้า อาจารย์ประจำสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต

คำสำคัญ:

ความรู้, ทัศนคติ, พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์

บทคัดย่อ

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และความสัมพันธ์ระหว่างความรู้ ทัศนคติ การรับรู้ประโยชน์ การได้รับการสนับสนุนจากสามี ญาติ บุคคลในครอบครัว และการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์กับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ กลุ่มตัวอย่างเป็นหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลบ้านม่าหนิก และศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต จำนวน 83 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา และหาความสัมพันธ์โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ผลการศึกษา พบว่าหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มีความรู้ด้านการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับสูง (ร้อยละ 89.16) มีทัศนคติต่อการส่งเสริมสุขภาพอยู่ในระดับดี (ร้อยละ 66.27) พฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพ โดยจำแนกเป็นการบริโภคอาหาร มีคะแนนเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (M = 2.97, S.D. = 0.83) การออกกำลังกายและการพักผ่อนอยู่ในระดับดี (M = 3.01, S.D. = 0.86) อารมณ์อยู่ในระดับดี (M = 3.09, S.D. = 0.79) การดูแลตนเองอยู่ในระดับดี (M = 3.30, S.D. = 0.84) และเพศสัมพันธ์อยู่ในระดับดี (M = 3.02, S.D.= 1.01) การรับรู้ประโยชน์ของการส่งเสริมสุขภาพขณะตั้งครรภ์ การได้รับการสนับสนุนจากสามี ญาติ และบุคคลในครอบครัว และการได้รับคำแนะนำจากบุคลากรทางการแพทย์ มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < 0.01) ส่วนความรู้และทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ ผลการศึกษาสามารถนำมาใช้เป็นแนวทางในการพัฒนารูปแบบการส่งเสริมสุขภาพหญิงตั้งครรภ์ให้มีพฤติกรรมที่เหมาะสมต่อไป

References

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 พ.ค. 2564]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/?year=2019.

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละของทารกแรกเกิดน้ำหนักน้อยกว่า 2,500 กรัม. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 พ.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://bit.ly/3gYqLnL.

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการดูแลก่อนคลอด 5 ครั้งตามเกณฑ์. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 พ.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://bit.ly/3eP5aeG.

กระทรวงสาธารณสุข. ร้อยละหญิงตั้งครรภ์ได้รับการฝากครรภ์ครั้งแรกก่อนหรือเท่ากับ 12 สัปดาห์. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 พ.ค. 2564]; [2 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://bit.ly/3xMYTcg.

ระบบสารสนเทศสนับสนุนด้านการส่งเสริมสุขภาพและอนามัยสิ่งแวดล้อม. อัตราส่วนการตายมารดาไทยต่อการเกิดมีชีพแสนคน ระดับจังหวัด. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 1 พ.ค. 2564]; [3 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://dashboard.anamai.moph.go.th/dashboard/mmr/changwat?year=2019&rg=11.

เรณู ศรีสุข. ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมาฝากครรภ์ครั้งแรกภายใน 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ในสถานบริการเขตอำเภอพนัสนิคม. [วิทยานิพนธ์]. สาขาวิชาการผดุงครรภ์ขั้นสูง, คณะพยาบาลศาสตร์. ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา; 2559.

ธนวัฒน์ รุ่งศิริวัฒนกิจ. การพัฒนารูปแบบการส่งเสริมพฤติกรรมการดูแลสุขภาพตนเองของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น จังหวัดเพชรบุรี. [วิทยานิพนธ์]. สาขาการส่งเสริมสุขภาพ, คณะศิลปศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกริก; 2561.

วิลาสินี บุตรศรี, อัญสุรีย์ ศิริโสภณ. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพในหญิงตั้งครรภ์ที่รับบริการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลชุมชน จังหวัดนครสวรรค์. ว สหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา 2563; 5(1): 60-70.

สายใจ โฆษิตกุลพร. การฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ศูนย์อนามัยที่ 11 จังหวัดนครศรีธรรมราช. ว สุขภาพภาคประชาชนภาคใต้ 2557; 28(3): 14-9.

อังคณา สูงส่งเกียรติ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการฝากครรภ์ล่าช้าในหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการ ณ ศูนย์แพทย์ชุมชนโรงพยาบาลกระบี่. กระบี่เวชสาร 2561; 1(2): 13-23.

ฐิตารีย์ จันทมาลา. พฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับการฝากครรภ์ในโรงพยาบาลศิริราช. [วิทยานิพนธ์]. สาขาสุขศึกษา, คณะวิทยาศาสตร์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์; 2552.

นนทรี สัจจาธรรม. รายงานการวิจัยเรื่อง ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อการฝากครรภ์และพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ อำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยราชพฤกษ์; 2562.

สินี กะราลัย, จารุรัตน์ ศรีรัตนประภาส. ความสัมพันธ์ระหว่างการสนับสนุนทางสังคมและพฤติกรรมการส่งเสริมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่น. ว คณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา 2561; 26(1): 1-10.

สุรีย์ ธรรมิกบวร. ทฤษฎีการส่งเสริมสุขภาพของเพนเดอร์. [ออนไลน์]. 2556; [สืบค้น 28 ม.ค. 2563]; [13 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.nurse.ubu.ac.th/sub/knowledgedetail/PD.pdf.

ช่อทิพย์ ผลกุศล, ศิริวรรณ แสงอินทร์. ปัจจัยทำนายพฤติกรรมสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์แรงงานข้ามชาติในเขตจังหวัดชลบุรี. ว สภาการพยาบาล 2563; 35(4): 128-44.

กวินฑรา ปรีสงค์. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการดูแลตนเองของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์โรงพยาบาลบางนา 5 จังหวัดสมุทรปราการ. ว ร่มพฤกษ์ มหาวิทยาลัยเกริก 2558; 33(3): 116-36.

เกศินี ไชยโม, จันทิมา ขนบดี, ศรีสมร ภูมนสกุล. ผลของโปรแกรมการให้การสนับสนุนอย่างต่อเนื่องในระยะคลอดต่อการรับรู้ประสบการณ์การคลอดในผู้คลอดครรภ์แรก. ว พยาบาลตำรวจ 2561; 10(2): 400-11.

อาทิตยา แก้วน้อย, ศรีสมร ภูมนสกุล, สายลม เกิดประเสริฐ. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมส่งเสริมสุขภาพและอายุครรภ์เมื่อคลอดของสตรีตั้งครรภ์ที่เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด. รามาธิบดีพยาบาลสาร 2561; 24(3): 264-78.

กิ่งดาว แสงจินดา, สุพิศ ศิริอรุณรัตน์, ตติรัตน์ เตชะศักดิ์ศรี. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพัฒนกิจการเป็นมารดาของหญิงตั้งครรภ์วัยรุ่นที่ตั้งครรภ์โดยไม่ตั้งใจ. ว พยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม 2560; 18(34): 6-20.

บุหลัน สุขเกษม. ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการมาฝากครรภ์ครั้งแรกช้ากว่า 12 สัปดาห์ของหญิงตั้งครรภ์ตำบลโพนข่า อำเภอเมือง จังหวัดศรีสะเกษ. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก; 2554.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-06-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)