การเปรียบเทียบวิธีการเฝ้าระวังยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) ในการควบคุมโรคไข้เลือดออก

ผู้แต่ง

  • จิราภรณ์ เสวะนา กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุษราคัม สินาคม กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค
  • บุญเสริม อ่วมอ่อง กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค

คำสำคัญ:

กับดักไข่ยุง, ยุงลายบ้าน, การเฝ้าระวัง, การสำรวจยุง, โรคไข้เลือดออก

บทคัดย่อ

       โรคไข้เลือดออกเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทยมายาวนานมากกว่าหกทศวรรษ หนึ่งในมาตรการสำคัญที่ใช้ในการป้องกันควบคุมโรคนี้คือการเฝ้าระวังยุงลายซึ่งเป็นพาหะ การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบการเฝ้าระวังยุงลาย 3 วิธี คือ การสำรวจลูกนํ้ายุงลาย การสำรวจยุงตัวเต็มวัย และการสำรวจไข่ยุงลาย ในพื้นที่ชุมชนบ้านท่าแดง หมู่ที่ 7 ตำบลจำปา อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ซึ่งมีลักษณะบ้านที่หลากหลาย ประกอบด้วยบ้านเดี่ยว 1 และ 2 ชั้น, ทาวน์โฮม 2 ชั้น และบ้านสวน ผลการศึกษาพบว่าบ้านทุกลักษณะที่สำรวจพบทั้งไข่ยุงลายในกับดักไข่ยุงลีโอแทรป ลูกนํ้ายุงลายและยุงตัวเต็มวัยภายในบ้าน แสดงว่าลักษณะบ้านไม่มีผลต่อการพบไข่ยุง ลูกนํ้า และตัวยุงลาย เมื่อเปรียบวิธีการเฝ้าระวังยุงลายทั้ง 3 วิธี พบว่าการใช้กับดักไข่ยุงลีโอแทรปซึ่งนำมาใช้ดำเนินการเฝ้าระวังมีประสิทธิภาพดีที่สุด สะดวกต่อการปฏิบัติงาน ประหยัดเวลาและงบประมาณ ลดภาระงานของเจ้าหน้าที่สาธารณสุข สามารถเก็บแผ่นไข่ยุงลายและนำกลับมาตรวจนับที่ห้องปฏิบัติการได้ ซึ่งจะทำให้ทราบจำนวนยุงลายที่แท้จริงที่จะเกิดขึ้นในอนาคต สามารถนำไปวิเคราะห์หาพื้นที่เสี่ยงด้านระบาดวิทยา และกำหนดมาตรการในการควบคุมยุงลายในพื้นที่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

References

อุษาวดี ถาวระ, พายุ ภักดีนวน, อภิวัฏ ธวัชสิน, จักรวาล ชมภูศรี, ชญาดา ขำสวัสดิ์, ยุทธนา ภู่ทรัพย์ และคณะ. ชีววิทยาของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกและซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีในวงจรการเกิดโรคในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2558; 57(2): 186-96.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. แนวทางและมาตรฐานการสำรวจลูกน้ำยุงลาย เพื่อการเฝ้าระวังโรคติดต่อนำโดยยุงลาย. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 2 เม.ย. 2563]; [11 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://drive.google.com/drive/folders/1mV8KoK66a64X8t2kGp7mHCYp0z6WxQSs.

คู่มือวิชาการโรคติดเชื้อเดงกีและโรคไข้เลือดออกเดงกีด้านการแพทย์และสาธารณสุข. นนทบุรี: สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2558.

World Health Organization. A system of world-wide surveillance for vectors = système de surveillance mondiale des vecteurs. Wkly Epidemiol Rec 1972; 47(07): 73-80.

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2562. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 2 เม.ย. 2563]; [53 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/ckeditor/6f4922f45568161a8cdf4ad2299f6d23/files/Dangue/Prophecy/2562.pdf.

บัญชีนวัตกรรมไทย สำนักงบประมาณ. กับดักไข่ยุง (Lethal Ovitrap). [ออนไลน์]. 2559; [สืบค้น 7 ม.ค. 2563]; [4 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://164.115.33.180/innovation/PDF/14000002.pdf.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. รายงานประจำปี 2562. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 24 ก.ย. 2563]; เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/dvb/journal_detail.php?publish=7341.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การป้องกันกำจัดยุงลายสาเหตุโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และไข้ซิกา. [วีดิทัศน์ออนไลน์]. 2563; เข้าถึงได้ที่ URL: https://www.youtube.com/watch?v=yYfQe-AXGHs.

ชูศักดิ์ โมลิโต, สุวิช ธรรมปาโล, โสภาวดี มูลเมฆ, ธาริยา เสาวรัญ, บัลลังก์ อุปพงษ์. การประยุกต์ใช้กับดักไข่ยุง “LeO-Trap” เพื่อลดความหนาแน่นของยุงลายในพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา. ว กรมวิทย พ 2563; 62(1): 6-15.

Tawatsin A, Thavara U, Srivarom N, Siriyasatien P, Wongtitirote A. LeO-Trap®: a novel lethal ovitrap developed from combination of the physically attractive design of the ovitrap with biochemical attractant and larvicide for controlling Aedes aegypti (L.) and Ae. albopictus (Skuse) (Diptera: Culicidae). Biomed J Sci & Tech Res 2019; 21(5): 16183-92.

Wu HH, Wang CY, Teng HJ, Lin C, Lu LC, Jian SW, et al. A dengue vector surveillance by human population-stratified ovitrap survey for Aedes (Diptera: Culicidae) adult and egg collections in high dengue-risk areas of Taiwan. J Med Entomol 2013; 50(2): 261-9.

A NA, AK MA, WA N, HL L. Ovitrap surveillance of Aedes aegypti and Aedes albopictus in dengue endemic areas in Keramat and Shah Alam, Selangor in 2016. IIUM Med J Malaysia 2018; 17(3): 59-64.

Barrera R, Amador M, Acevedo V, Caban B, Felix G, Mackay AJ. Use of the CDC autocidal gravid ovitrap to control and prevent outbreaks of Aedes aegypti (Diptera: Culicidae). J Med Entomol 2014; 51(1): 145-54.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)