การป้องกันควบคุมยุงพาหะโรคไข้เลือดออก แบบบูรณาการในพื้นที่เสี่ยงสูงของจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • สุวรรณดี ทรัพย์เจริญ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ที่ 12/1 ตรัง กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • โชติกา แก่นอินทร์ สำนักงานสาธารณสุขอำเภอเมืองตรัง
  • วารุณี เทพมณีรัตน์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลบ้านโพธิ์ จังหวัดตรัง
  • ขวัญกมล ไกรสุทธิ์ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนาท่ามเหนือ จังหวัดตรัง
  • จริยาภรณ์ ใบกอเด็ม ศูนย์ควบคุมโรคติดต่อนำโดยแมลงที่ 12.3 ตรัง
  • เกรียงศักดิ์ ฤชุศาศวัต สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

กับดักไข่ยุง, ลีโอแทรป, ยุงลาย, ไข้เลือดออก, จังหวัดตรัง

บทคัดย่อ

       โรคไข้เลือดออกยังคงเป็นปัญหาทางสาธารณสุขในภาคใต้ โดยมียุงลายเป็นพาหะ อุบัติการณ์โรคดังกล่าวในจังหวัดตรังยังคงมีแนวโน้มสูงโดยเฉพาะอำเภอเมือง การควบคุมและป้องกันยุงพาหะอย่างมีประสิทธิภาพจะช่วยลดจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออก แต่ปัจจุบันผลการควบคุมยังไม่ดีเท่าที่ควร กับดักลีโอแทรปและซีโอไลท์เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือจะช่วยกำจัดลูกนํ้ายุงลาย การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการควบคุมยุงพาหะไข้เลือดออกโดยใช้กับดักลีโอแทรปและซีโอไลท์ในพื้นที่เสี่ยงของอำเภอเมืองตรัง ได้แก่ ตำบลบ้านโพธิ์และนาท่ามเหนือ ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงสิงหาคม 2563 ดำเนินการวางกับดักในหมู่บ้านทดลองหมู่บ้านละ 100 หลังคาเรือน สำรวจค่าดัชนีลูกนํ้ายุงลาย (CI, HI) และตรวจนับจำนวนไข่ยุงลาย เทียบกับหมู่บ้านเปรียบเทียบซึ่งใช้มาตรการควบคุมเดิม หลังวางกับดักลีโอแทรปนาน 2 เดือน พบค่า CI และ HI ของหมู่บ้านทดลองในตำบลบ้านโพธิ์ลดลงจากร้อยละ 28.29 และ 87 เป็นร้อยละ 12.88 และ 47 ตามลำดับ มีจำนวนไขยุ่งลายในกับดักรวม 64,359 ฟอง และอัตราการพบไข่ยุงลายในกับดักร้อยละ 93.25 ขณะที่ตำบลนาท่ามเหนือ หมู่บ้านทดลองมีค่า CI และ HI เปลี่ยนแปลงจากร้อยละ 6.58 และ 33 เป็นร้อยละ 3.50 และ 41 ตามลำดับ มีจำนวนไข่ยุงลายในกับดักรวม 53,125 ฟอง และอัตราการพบไข่ยุงลายในกับดักร้อยละ 92.79 ทั้งนี้ตำบลบ้านโพธิ์พบค่าเฉลี่ยของจำนวนไข่ยุงลายบริเวณในและนอกบ้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p = 0.03) และไม่พบผู้ป่วยไข้เลือดออกหลังจากวางกับดัก 1 เดือน กับดักลีโอแทรปและซีโอไลท์มีบทบาทสำคัญในการกำจัดลูกนํ้ายุงลาย อาจจะนำไปสู่การใช้เป็นมาตรการเสริมเพื่อช่วยลดประชากรยุงลายและจำนวนผู้ป่วยไข้เลือดออกในอนาคต

References

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. ชีววิทยา นิเวศวิทยา และการควบคุมยุงในประเทศไทย. พิมพ์ครั้งที่ 4. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2553.

ไสว โพธิมล, สุภาภรณ์ โคตรมณี. การสำรวจความชุกชุมของลูกน้ำยุงลายในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี พ.ศ. 2554-2557. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 6 จังหวัดขอนแก่น. 2558; 22(1): 42-8.

Paz-Soldan VA, Yukich J, Soonthorndhada A, Giron M, Apperson CS, Ponnusamy L, et al. Design and testing of novel lethal ovitrap to reduce populations of Aedes mosquitoes: community-based participatory research between industry, academia and communities in Peru and Thailand. PLoS One 2016; 11(8): e0160386. (20 pages).

Kajornkasirat S, Muangprathub J, Boonnam N. Online advanced analytical service: profiles for dengue hemorrhagic fever transmission in Southern Thailand. Iran J Public Health 2019; 48(11): 1979-87.

อุษาวดี ถาวระ, พายุ ภักดีนวน, อภิวัฏ ธวัชสิน, จักรวาล ชมภูศรี, ชญาดา ขำสวัสดิ์, ยุทธนา ภู่ทรัพย์, และคณะ. ชีววิทยาของยุงพาหะโรคไข้เลือดออกและซีโรทัยป์ของเชื้อไวรัสเดงกีในวงจรการเกิดโรคในประเทศไทย. ว กรมวิทย พ 2558; 57(2): 186-96.

สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 12 จังหวัดสงขลา กรมควบคุมโรค. สคร.12 สงขลา เตือน ปชช. ระวังป่วยด้วยโรคไข้เลือดออก แนะยึดหลัก “3 เก็บ ป้องกัน 3 โรค”. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 19 ก.พ. 2564]; [1 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/uploads/files/1297620200521085502.pdf.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. รายงานพยากรณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 28 พ.ย. 2563]; [77 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://direct.disaster.go.th/site9/cms-download_content.php?did=32461.

กองโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค. สถานการณ์โรคไข้เลือดออก ปี 2563. [ออนไลน์]. 2563; [สืบค้น 27 พ.ย. 2563]; [6 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://phanhospital.go.th/phanhospital/images/Disease%20situation/DHF_Wk18%2004282563.pdf.

Tawatsin A, Thavara U, Srivarom N, Siriyasatien P, Wongtitirote A. LeO-Trap®: a novel lethal ovitrap developed from combination of the physically attractive design of the ovitrap with biochemical attractant and larvicide for controlling Aedes aegypti (L.) and A. albopictus (Skuse) (Diptera: Culicidae). Biomed J Sci & Tech Res 2019; 21(5): 16183-92.

Zeichner BC, Debboun M. The lethal ovitrap: a response to the resurgence of dengue and chikungunya. US Army Med Dep J 2011; Jul-Sep: 4-11.

ชูศักดิ์ โมลิโต, สุวิช ธรรมปาโล, โสภาวดี มูลเมฆ, ธาริยา เสาวรัญ, บัลลังก์ อุปพงษ์. การประยุกต์ใช้กับดักไข่ยุง “LeO-Trap” เพื่อลดความหนาแน่นของยุงลายในพื้นที่ระบาดของโรคไข้เลือดออก จังหวัดสงขลา. ว กรมวิทย พ 2563; 62(1): 6-15.

สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข. นวัตกรรมกรมวิทย์พิชิตแมลง: รักษ์สิ่งแวดล้อมพร้อมประชารัฐ. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2561.

กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์. การป้องกันกำจัดยุงลายสาเหตุโรคไข้เลือดออก ชิคุนกุนยา และไข้ซิกา. [วีดิทัศน์ออนไลน์]. 2563. เข้าถึงได้ที่: URL: https://www.youtube.com/watch?v=yYfQe-AXGHs.

ณัฐพัชร์ รัตนเดชานาคินทร์, พรทิพย์ ลัภนะกุล, มลลิกา รัตนเมือง. การใช้กับดักไข่ยุงลีโอแทปควบคุมการระบาดของโรคไข้เลือดออกในอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก. ใน: การประชุมวิชาการวิทยาศาสตร์การแพทย์ ครั้งที่ 28 ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. วันที่ 25-27 มีนาคม 2563. นนทบุรี: กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข; 2563. หน้า 114.

อภิวัฏ ธวัชสิน, อุษาวดี ถาวระ, บรรณาธิการ. แมลงทางการแพทย์: ชีววิทยาและนวัตกรรมในการป้องกันกำจัดแมลง.. นนทบุรี: สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์; 2559.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

29-03-2021

ฉบับ

บท

นิพนธ์ต้นฉบับ (Original Articles)