การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีนของคลังวัคซีนโรงพยาบาล ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา และนราธิวาส) ปี พ.ศ. 2563
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการวัคซีน, ระบบลูกโซ่ความเย็น, คลังวัคซีนบทคัดย่อ
วัคซีนเป็นชีววัตถุที่ใช้ในการป้องกันโรคติดต่อหลายโรค ดังนั้นการเก็บรักษาวัคซีนให้เหมาะสมจึงเป็นสิ่งสำคัญในการรักษาประสิทธิภาพ การศึกษาเชิงสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารจัดการคลังวัคซีนในจังหวัดปัตตานี ยะลา และนราธิวาส และเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนมาตรฐานทั้ง 2 ด้าน โดยสำรวจประเมินคลังวัคซีนระดับอำเภอ จำนวน 33 แห่ง ใช้แบบประเมินตามมาตรฐานของกองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค แบ่งเป็น 2 ด้าน ด้านที่ 1 การบริหารจัดการทั่วไปมี 3 ประเด็น คะแนนเต็ม 6 คะแนน และด้านที่ 2 การบริหารจัดการคลังวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็นมี 4 ประเด็น คะแนนเต็ม 41 คะแนน จัดเก็บข้อมูลระหว่างเดือนสิงหาคม_ธันวาคม 2563 จากผู้ตอบแบบประเมินซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบคลังวัคซีนโรงพยาบาล วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนาและสถิติเชิงวิเคราะห์ พบว่าคลังวัคซีนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินมาตรฐานคุณภาพทั้ง 2 ด้าน มีจำนวน 14 แห่ง (ร้อยละ 42.4) คลังวัคซีนที่ผ่านการประเมินด้านที่ 1 มีจำนวน 14 แห่ง (ร้อยละ 42.4) โดยประเด็นการกำหนดผู้รับผิดชอบงานบริหารจัดการวัคซีนและผ่านการอบรม มีคลังวัคซีนผ่านเกณฑ์การประเมินมากที่สุดจำนวน 22 แห่ง (ร้อยละ 66.0) สำหรับด้านที่ 2 คลังวัคซีนที่ผ่านเกณฑ์การประเมินคุณภาพ มีจำนวน 23 แห่ง (ร้อยละ 69.7) โดยประเด็นการเตรียมวัสดุ อุปกรณ์การจัดเก็บวัคซีน มีคลังวัคซีนผ่านการประเมินร้อยละ 100 ผลการประเมินการบริหารจัดการวัคซีนของคลังวัคซีนแม้จะมีคะแนนประเมินผ่านเกณฑ์ในบางด้าน แต่ผู้รับผิดชอบคลังวัคซีนควรต้องพิจารณาในประเด็นที่ยังไม่ผ่านเกณฑ์เพื่อนำมาพัฒนางานบริหารจัดการคลังวัคซีนให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
References
World Health Organization, United Nations International Children’s Emergency Fund, WorldBank. State of the world’s vaccine and immunization. 3rd ed. Geneva; World Health Organization. [online]. 2009; [cited 2015 Dec 8]; [212 screens]. Available from: URL: https://apps.who.int/iris/bitstream/handle/10665/44169/9789241563864_eng.pdf.
อัญชลี ศิริพิทยาคุณกิจ, คณะบรรณาธิการ. หลักสูตรเชิงปฏิบัติการสำหรับเจ้าหน้าที่สร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค ปี 2561. นนทบุรี: สถาบันวัคซีนแห่งชาติ (องค์การมหาชน) กระทรวงสาธารณสุข; 2561.
พอพิศ วรินทร์เสถียร, ขัตติยะ อุตม์อ่าง, เผด็จศักดิ์ ชอบธรรม. การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีน และระบบลูกโซ่ความเย็นของคลังวัคซีนระดับอำเภอในประเทศไทย ปี 2558. ว. ควบคุมโรค 2559; 42(3): 194-207.
ภัทรินทร์ อิสระพิทักษ์กุล. การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการบริหารจำนวนยาคงคลังของคลังยาและ เวชภัณฑ์ที่มิใช่ยาของโรงพยาบาลศูนย์การแพทย์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์. [ออนไลน์]. 2561; [สืบค้น 2 ก.ค. 2564]; [10 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: http://www.ba-abstract.ru.ac.th/AbstractPdf/2561-5-8_1565164040.pdf.
ธัญวรัตม์ อุนทรีจันทร์, สมคิด เพชรชาตรี, อูไซนะห์ โอะจิ. การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีนในเขตภาคใต้ตอนล่าง. ว. องค์การเภสัชกรรม 2556; 39(4): 14-21.
กนิษฐกานต์ สามสุวรรณ. การประเมินคุณภาพการบริหารจัดการวัคซีนของคลังวัคซีนระดับอำเภอ ในจังหวัด สุราษฎร์ธานี [วิทยานิพนธ์]. ภาควิชาบริหารเภสัชกิจ, คณะเภสัชศาสตร์. สงขลา: มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์; 2533.
ปิยนิตย์ ธรรมาภิลาศ, บรรณาธิการ. คู่มือการบริหารจัดการวัคซีนและระบบลูกโซ่ความเย็น พ.ศ. 2547. นนทบุรี: กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข; 2547.
ธัญวรัตม์ อุนทรีจันทร์, สมคิด เพชรชาตรี, อูไซนะห์ โอะจิ. การบริหารจัดการวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ในเขตภาคใต้ตอนล่าง 2554. [เอกสารอัดสำเนา].
กองโรคป้องกันด้วยวัคซีน กรมควบคุมโรค. แผนปฏิบัติงานโรคติดต่อที่ป้องกันได้ด้วยวัคซีน ปีงบประมาณ พ.ศ. 2563. [ออนไลน์]. 2562; [สืบค้น 2 ก.ค. 2564]; [127 หน้า]. เข้าถึงได้ที่: URL: https://ddc.moph.go.th/dvp/news.php?news=10021&deptcode.
World Health Organization (WHO). Safe vaccine handling, cold chain and immunizations: a manual for the newly independent states. Geneva: World Health Organization, 1998.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2021 วารสารกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.