การทวนสอบความถูกต้องของวิธีทดสอบความแรงผลิตภัณฑ์ Factor VIII ด้วยวิธี Chromogenic Assay

ผู้แต่ง

  • โสมมริสา พวงพรศรี สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ฐิตาภรณ์ ภูติภิณโยวัฒน์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • ไพศาล พังจุนันท์ สถาบันชีววัตถุ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

Factor VIII, วิธีโครโมเจนิก, การทวนสอบวิธี

บทคัดย่อ

         Factor VIII เป็นไกลโคโปรตีนที่สำคัญในกลไกการแข็งตัวของเลือด ทำหน้าที่เป็น cofactor กระตุ้น Factor IX ให้เป็นรูปแอคทีฟซึ่งสามารถกระตุ้นให้ Factor X อยู่ในรูปแอคทีฟแล้วทำให้เริ่มเกิดปฏิกริยาการแข็งตัวของเลือด ผู้วิจัยได้ทำการทวนสอบความถูกต้องของวิธีทดสอบความแรงผลิตภัณฑ์ Factor VIII ด้วยวิธี Chromogenic assay ซึ่งเป็นวิธีตามมาตรฐานของตำรายา European Pharmacopeia 10.0 กำหนด ผลทดสอบความเป็นเส้นตรงได้ช่วงการวิเคราะห์ที่เหมาะสมของวิธี คือ 0.000625 - 0.005 IU/มิลลิลิตร การทดสอบความแม่น มีค่า %recovery Geomean อยู่ระหว่าง 84.48-109.35% ผลวิเคราะห์ความเที่ยงทั้งการทดสอบซํ้าในวันเดียวและต่างวัน รวมทั้งผลการทดสอบโดยผู้วิเคราะห์ 2 คน ให้ผลการทดสอบมีค่าร้อยละความแปรปรวน (%CV) เท่ากับ 11.57, 10.84 และ 7.74 ตามลำดับ และจากการศึกษาความจำเพาะของวิธีโดยทดสอบกับผลิตภัณฑ์พลาสมาชนิดอื่น พบว่าวิธีมีความจำเพาะต่อการทดสอบ Factor VIII นอกจากนี้ได้นำวิธีที่ผ่านการทวนสอบมาทดสอบกับตัวอย่างจริง จำนวน 2 ผลิตภัณฑ์ คือ ผลิตภัณฑ์ A จำนวน 11 ตัวอย่าง และผลิตภัณฑ์ B จำนวน 6 ตัวอย่าง พบว่า 2 ผลิตภัณฑ์ มีค่าความแรงผ่านเกณฑ์มาตรฐานยุโรป โดยผลเปรียบเทียบค่าความแรงระหว่างวิธีที่ทวนสอบโดยผู้วิจัยและบริษัทผู้ผลิตพบว่ามีความแตกต่างจากผลิตภัณฑ์ A อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ซึ่งอาจเกิดจากบริษัทผู้ผลิตใช้วิธีทดสอบและสารอ้างอิงที่แตกต่างจากผู้วิจัย ซึ่งความต่างดังกล่าวไม่พบความแตกต่างกับค่าความแรงของผลิตภัณฑ์ B จากผลการทวนสอบแสดงว่า วิธีทดสอบความแรงผลิตภัณฑ์ Factor VIII โดยหลักการ Chromogenic assay ด้วยวิธี microplate มีความเหมาะสม ใช้ได้จริง สามารถนำมาใช้เป็นวิธีวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการของสถาบันชีววัตถุต่อไป

References

อำไพวรรณ จวนสัมฤทธิ์, บรรณาธิการ. โรคเลือดออกง่ายและลิ่มเลือดอุดตัน: แนวทางการวินิจฉัยและการรักษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล; 2559.

Bhardwaj R, Rath G, Goyal AK. Advancement in the treatment of haemophilia. Int J Biol Macromol 2018; 118(Pt A): 289-95.

Moser KA, Adcock Funk DM. Chromogenic factor VIII activity assay. Am J Hematol 2014; 89(7): 781-4.

2.7.4 Assay of human coagulation factor VIII. In: European Pharmacopoeia 10.0. 10th ed. Strasbourg, France: Council of Europe; 2019. p. 268.

A Werfen Company. HemosIL electrochromeTM factor VIII - 49730503. Bedford, MA: Instrumentation Laboraty Company; 2021.

Pickering W, Hansen M, Kjalke M, Ezban M. Factor VIII chromogenic assays can be used for potency labeling and postadministration monitoring of N8-GP. J Thromb Haemost 2016; 14(8): 1579-87.

Collazo V, Alonso C, Frutos G. Validation of an automated chromogenic assay of potency of factor VIII in commercial concentrates. Int J Lab Hematol 2013; 35(1): 38-45.

Dodt J, Hubbard AR, Wicks SJ, Gray E, Neugebauer B, Charton E, et al. Potency determination of factor VIII and factor IX for new product labelling and postinfusion testing: challenges for caregivers and regulators. Haemophilia 2015; 21(4): 543-9

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2021

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)