การสำรวจวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้า จากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ผู้แต่ง

  • อริณญา พงศธรพิศุทธิ์ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
  • อภิชนันท์ คงธนะ สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์

คำสำคัญ:

สนามแม่เหล็กไฟฟ้า, สถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่, กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

บทคัดย่อ

       สำนักรังสีและเครื่องมือแพทย์ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ มักจะได้รับเรื่องร้องเรียนจากประชาชนเกี่ยวกับข้อวิตกกังวลเรื่องผลกระทบต่อสุขภาพจากสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ ยิ่งในปัจจุบันมีการใช้เทคโนโลยี 4G ที่ต้องติดตั้งสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อคลายความกังวลจากการสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ของประชาชน ทีมผู้วิจัยจึงได้ทำการสำรวจวัดค่าความเข้มสนามแม่-เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ 1,656 สถานี ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล ในปีงบประมาณ 2562 เพื่อให้ทราบว่าค่าความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานฐานระบบโทร-ศัพท์เคลื่อนที่มีค่าเกินจากค่ามาตรฐานสากลกำหนดหรือไม่ และส่งผลอันตรายเพียงใด โดยการประเมินค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก ไฟฟ้า ใช้การเปรียบเทียบกับค่ามาตรฐานการสัมผัสสนามแม่เหล็กไฟฟ้าของประชาชนทั่วไปตามมาตรฐานสากล (ICNIRP) พบว่าค่าความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าในเขตกรุงเทพมหานคร 50 เขต และอำเภอเมืองปริมณฑล 5 จังหวัด มีค่าตํ่ากว่าค่ามาตรฐานสากลอย่างมาก โดยเขตปทุมวันมีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูงที่สุดประ-มาณ 0.005741 W/m2 รองลงมา ได้แก่ เขตบางนา มีค่าประมาณ 0.004590 W/m2 สำหรับปริมณฑลอำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ มีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กไฟฟ้าสูงสุดประมาณ 0.002723 W/m2 รองลงมา ได้แก่ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรสาคร มีค่าประมาณ 0.001533 W/m2 และค่าดังกล่าวตํ่ากว่าเกณฑ์มาตรฐานเป็นพันเท่า แสดงว่าคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มาจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่มีค่าตํ่ามาก นั่นคือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าจากสถานีฐานระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่ที่ตรวจวัดมีความเสี่ยงหรือผลกระทบต่อประชาชนค่อนข้างตํ่า

References

Gómez-Perretta C, Navarro EA, Segura J, Portolés M. Subjective symptoms related to GSM radiation from mobile phone base stations: a cross-sectional study. BMJ Open 2013; 3(12): e003836. (9 pages).

IARC Monographs on the Evaluation of Carcinogenic Risks to Humans. Non-ionizing radiation, part 2: radiofrequency electromagnetic fields volume 102. [online]. 2013; [cited 2019 Apr 16]. Available from: URL: https://monographs.iarc.fr/iarc-monographs-on-the-evaluationof-carcinogenic-risks-to-humans-14/.

Mild KH, Repacholi M, van Deventer E, Ravazzani P, editors. Electromagnetic hypersensitivity: proceedings, International workshop on EMF hypersensitivity, Prague, Czech Republic, October 25-27, 2004. Geneva: World Health Organization; 2006.

International Commission on Non-Ionizing Radiation Protection: ICNIRP. Guidelines for limiting exposure to time-varying electric, magnetic, and electromagnetic fields (up to 300 GHz). Health Phys 1998; 74(4): 494-522.

Manatarakul N, Thansandote A, Gajda G, Lemay E, Chancunapas P, Mcnamee JP. Measurements of ground-level emissions from mobile phone base stations in Bangkok using a low-cost RF field measurement system. ASEAN J Radiol 2005; XI(III): 181-8.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ และสุขภาพ คำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริชัยการพิมพ์ จำกัด; 2559. หน้า 33.

Institute of Electrical and Electronic Engineers (IEEE). IEEE Std C95.3-2002 (R2008) recommended practice for measurements and computations of radio frequency electromagnetic fields with respect to human exposure to such fields, 100 kHz-300 GHz. New York, USA: IEEE; 2003.

สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.). สนามแม่เหล็กไฟฟ้าความถี่วิทยุ และสุขภาพ คำถามที่พบบ่อย. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: บริษัท ศิริชัยการพิมพ์ จำกัด; 2559. หน้า 3, 4 และ 58.

Zeleke BM, Brzozek C, Bhatt CR, Abramson MJ, Croft RJ, Freudenstein F, et al. Personal exposure to radio frequency electromagnetic fields among Australian adults. Int J Environ Res Public Health 2018; 15: 2234. (10 pages).

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-03-2021

ฉบับ

บท

รายงานจากห้องปฏิบัติการ (Laboratory Findings)